Lemon8 视频下载器

从 Lemon8 应用程序下载视频和图库的最简单方法

สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี?

สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี?

桌面:右键单击并选择“将链接另存为...”进行下载。

PHOTOS
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载
สรุป ควรนอนเวลาไหน กี่ชั่วโมงดี? JPEG 下载

“โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมาสูงสุด ตอนประมาณ23.00-01.30“

แต่การหลับลึกใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง

ดังนั้นเราจึงควรเข้านอน22.00 แต่ไม่เกิน 23.00

เพื่อให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาฟื้นฟูร่างกายได้อย่างเต็มที่”

สังเกตตัวเองว่านอนหลับเพียงพอไหม

เมื่อตื่นมาตอนเช้า รู้สึกยังไม่สดชื่น อยากจะนอนต่อไปอีก

ในระหว่างวัน มีอาการง่วงเหงาหาวนอนอยู่เรื่อย ๆ

ถ้ามีโอกาสได้นอนในตอนกลางวันอาจหลับไปภายในเวลา 5 นาทีเท่านั้น

การนอนไม่พอมีผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน ถ้านอนน้อยไปเพียง 1 วันอาจไม่เห็นผลกระทบที่รุนแรงนัก อย่างมากก็แค่ง่วงซึมบ้างในช่วงกลางวัน แต่พอตกกลางคืนเมื่อได้นอนอย่างเต็มอิ่มอีกครั้ง ร่างกายจะฟื้นตัวกลับมาสดชื่นได้อีกในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้ายังคงอดนอนต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้น

📍ผลกระทบการอดนอนต่อร่างกายและอารมณ์

ร่างกายอ่อนเพลีย

เพราะไม่มีการสำรองพลังงานมาใช้ในวันรุ่งขึ้น มีผู้กล่าวว่าถ้าร่างกายมีพลังงานอยู่เท่ากับ 100% จะหมุนเวียนพลังงานใช้จริงอยู่เพียง 70% ที่เหลืออีก 30% จะเป็นพลังงานสำรองของชีวิตเอาไว้ใช้ในยามป่วยไข้ไม่สบายหรือใช้ในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ รวมถึงภาวะอดนอนนี้ด้วย จึงพบว่าถ้าอดนอนสั้น ๆ จะไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้านานไปพลังงานที่เหลือ 30% นี้ก็จะร่อยหรอลงและเมื่อนั้นก็จะมีอาการไม่สบายชัดเจนขึ้น

เกิดโรคอ้วนตามมาได้

เนื่องจากเกิดความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้องรับประทานมากยิ่งขึ้น อาการจะคล้ายกับผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 2 (Diabetes type 2) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก เนื่องจากฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตถูกสร้างน้อยลง รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกรบกวน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการอดนอนเลยก็เกิดขึ้นได้

อดนอนเรื้อรังส่งผลต่อการทำงานของสมอง

ทำให้หลอดเลือดสมองตีบ

ทำให้กระบวนการเรียนรู้ช้าลง

การอดนอนจะมีผลต่อการทำงานของสมองในส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานผิดไป เช่น สมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal Cortex) จะทำให้การเรียนรู้จากคำพูด (Verbal Learning Tasks) แย่ลง ส่วนกลีบสมองบริเวณขมับ (Temporal lobe) จะทำให้การเรียนรู้ด้านภาษา (Language Processing) ช้าลง

ทำให้เกิดอาการงีบหลับสั้น ๆ หรือที่เรียกว่า “หลับกลางอากาศ” หรือ “หลับใน”

เกิดจากการที่สมองส่วนธาลามัส (Thalamus) ของคนที่นอนไม่พอ จะหยุดทำงานช่วงสั้น ๆ แบบชั่วคราว อาจเป็นวินาทีหรือนานถึงครึ่งนาที ทำให้เกิดอาการงีบหลับ ไม่ตื่นตัว ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้ใด ๆ หรือรับรู้ได้ช้า บางคนเรียกภาวะนี้ว่า “หลับใน” ซึ่งเป็นอันตรายมากถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังขับรถหรือระหว่างการทำงานที่ต้องใช้ความเร็วหรือความแม่นยำด้วย

ทำให้เกิดอาการทางจิต

การอดนอนชนิดรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะโรคทางจิต (Psychosis) ได้ เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด ระแวงกลัวคนมาทำร้าย หรือมีอาการคล้ายคนที่เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เช่น อารมณ์ร่าเริงสนุกสนานผิดปกติหรือมีอารมณ์เศร้าผิดปกติได้ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการหงุดหงิดง่า หรืออารมณ์เสียง่ายมากน้อยตามแต่ความรุนแรงของการอดนอนนั้น

#Howtoกินคลีน #สุขภาพผู้หญิง #สุขภาพผู้หญิง #ไม่สวยทำไงดี #สุขภาพดีกับLemon8