Descargador de videos Lemon8

La forma más fácil de descargar videos y galerías desde la aplicación Lemon8

สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี?

สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี?

Escritorio: haga clic con el botón derecho y seleccione "Guardar enlace como..." para descargar.

PHOTOS
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar
สรุป นมโอ๊ต! กินดีไหม? ยี่ห้อไหนดี? JPEG Descargar

สรุปนมโอ๊ตเป็นตัวเลือกที่ดีไหม หลายคนน่าจะมีคำถามนี้

🌈 ประโยชน์นมพืช

ต้องบอกก่อนว่า เวลาเราดื่ม “นมพืช” ซึ่ง นมโอ๊ตก็เป็นหนึ่งในนั่น ซึ่งประโยชน์ที่คาดหวังหลักๆ คือ

1. ไม่มีคอเลสเตอรอล 2. ไขมันอิ่มตัวต่ำ และ 3. ได้ไฟเบอร์เล็กน้อย (แล้วแต่ยี่ห้อ) อันนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดเด่นของนมพืชอยู่แล้วในเชิงโภชนาการ

⚡️🔥แต่นมโอ๊ตที่ทุกคนเห็นในตอนนี้….. ก็มีเรื่องที่หลายคนถกกันและเกิดคำถามว่าแล้วจริงๆ ควรหรือไม่ควรดื่ม

ก่อนอื่นมาดูส่วนประกอบหลักในนมโอ๊ตแบบกล่องกันค่ะ:

🌟ส่วนประกอบหลักๆ: น้ำ, ข้าวโอ๊ต/น้ำนมข้าวโอ๊ต, น้ำมันพืช (ต่างกันแล้วแต่ยี่ห้อ), (วิตามิน/แร่ธาตุ), เกลือเล็กน้อย

🌟 สรุปข้อแตกต่างของนมโอ๊ต

🥛1) ทำไมนมโอ๊ตถึงมีน้ำตาลมากกว่าทั้งๆที่เป็นรสธรรมดา?

-> ในกรณีของนมโอ๊ต ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า นมโอ๊ต ทำมาจากข้าวโอ๊ตที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของคาร์โบไฮเดรต ที่สุดท้ายจะถูกย่อย -> เป็นน้ำตาลในร่างกายโดยธรรมชาติ เหมือนอาหารกลุ่มข้าวแป้งทั่วไปที่เราทาน 👉 ต่างกับ นมพืชอื่นๆที่ มีส่วนประกอบหลัก คือ โปรตีน หรือ ไขมันดี เป็นหลัก เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ ที่เมื่อถูกย่อย -> จะกลายเป็นกรดอะมิโน (หน่วยย่อยของโปรตีน) ดังนั้น เค้าจะมีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าเป็นธรรมชาติของพืชนั้นๆอยู่แล้ว

***ในฉลากโภชนาการบางแบรนด์ถึงกับต้องมีระบุว่า *น้ำตาลในสินค้ามากจากข้าวโอ๊ตธรรมชาติไม่ใช่น้ำตาลทรายที่เติมเพิ่มเข้าไป

🥛2) ทำไมมีน้ำมันพืชในนมโอ๊ต?

การเติม น้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน (sunflower oil) หรือ คาโนล่า (Canola oil) ที่เติมเพื่อช่วยในเรื่องของ textureของผลิตภัณฑ์ /mouthfeel เวลาดื่ม

ส่วนในแง่โภชนาการที่ทั้งคู่จะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว และเกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า ที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ สมองและสายตา (ดีต่อเมื่อในสัดส่วนโอเมก้า 3 ที่มากกว่า โอเมก้า 6) แต่หลักๆลองดูที่ฉลากเลยค่ะ ว่ามีไขมันอิ่มตัวมากน้อยแค่ไหน

🥛3) ปกติโอ๊ตจะมี เบต้ากลูแคน (Beta glucan) เป็นใยอาหาร ที่พบว่าอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

👍วิธีเลือกนมโอ๊ต

1. ดูว่าไม่มีน้ำตาลทรายเติมเพิ่ม

2. เทียบปริมาณน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน เช่น ต่อนม 150 มล หรือ 200 มล. แบบนี้เราจะทราบว่าอันไหนน้ำตาลน้อยกว่า

3. ดูน้ำมัน ว่าไม่ใช้น้ำมันปาล์ม (เพราะน้ำมันปาล์มจะมีไขมันอิ่มตัวสูงกว่าน้ำมันพืชอื่น) และ เน้นให้มีไขมันอิ่มตัว(saturated fat/ sat fat) น้อยๆไว้ดีกว่า

4. ดูแคลลอรี่รวมๆ หากเรากำลังคุมแคลอรี่หน่อย

5. รสชาติ (อันนี้อาจจะต้องลองซื้อกล่องเล็กมาลองก่อน) เพราะ บางยี่ห้ออาจจะให้รสชาติที่หวานกว่าอีกยี่ห้อ

6. ดูว่าเป็นแบบ บาริสต้า* (barista) หรือไม่ เพราะเวลาที่เป็นนมโอ๊ตรูปแบบบาริสต้า จุดประสงค์หลักคือ เค้าจะไว้ใส่ชงกับพวกกาแฟชาเครื่องดื่มในร้านกาแฟต่างๆ จึงจะเน้นความนัว มัน เข้มข้น (=ไขมัน น้ำตาลและแคลลอรี่ อาจจะสูงกว่า) กว่านมโอ๊ตแบบปกติ

💁‍♀️เหมาะกับใคร

1. สายอยากเริ่มกินเฮลตี้หน่อย เพราะส่วนตัวและจากประสบการณ์คนรอบตัว ~ นมโอ๊ตเป็นนมพืชที่ทานค่อนข้างง่ายสุด ไม่มีกลิ่นถั่ว จะอร่อยนัวกว่านมพืชอื่นๆ

2. คนแพ้แลกโตสในนมวัว นมจากสัตว์อื่นๆ

3. สาย flexitarian, plant-based, vegan

4. สายที่อยากสุขภาพด้วย และกินอร่อยด้วย เน้นสายกลาง ;)

5. คนแพ้ถั่วเหลือง แพ้ถั่วเปลือกแข็ง (อัลมอนด์, เม็ดมะม่วงหิมพานต์) ดื่มได้ แต่ต้องดูข้อมูลผู้แพ้อาหารที่ระบุข้างกล่องอีกทีนะคะ แล้วแต่ยี่ห้อ

❌ ข้อควรระวัง?:

1. ผู้ป่วยเบาหวาน ต้องการคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ อาจต้องจำกัดปริมาณการดื่ม

2. คนที่แพ้ถั่วเปลือกแข็ง (nuts) และ ถั่วเหลือง (soy) รุนแรง อาจต้องอ่านฉลากดีดีนะคะ เพราะ บางยี่ห้อ อาจมีปนเปื้อนในนมโอ๊ตได้เช่นกันแม้ไม่ใช่ส่วนผสมหลัก เพราะ อาจมาจากโรงงานเดียวกันที่มีผลิตผลิตภัณฑ์พวกถั่วนั้นๆค่ะ

3. คนที่แพ้กลูเตน ลองเลือกยี่ห้อที่ระบุว่า gluten free นะคะ

💕เทคนิคการดื่ม👍

1. เราจะใช้นมโอ๊ต เฉพาะเวลากินกับกาแฟ ชาเขียว และสมูทตี้บางสูตร ให้รสชาติดี เนื้อสัมผัสแน่นข้นหน่อย

2. เราจะใช้นมพืชอื่นๆ แทน เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ เวลา ทานกับกราโนล่า ทำ Oatmeal, Overnightoat, หรือ chia pudding ที่เน้นต้องกินเป็นประจำและใช้ปริมาณนมค่อนข้างเยอะหน่อย (แต่บางครั้งก็ผสมกับนมโอ๊ตครึ่งๆบ้าง ไม่ได้ซีเรียสมาก)

3. ดื่มสลับๆกันหลายๆชนิดไป ให้ได้สารอาหารหลากหลาย และถ้าใครอยากคุมแคลลอรี่ แนะนำให้ไปที่-> 🌟 นมอัลมอนด์แบบไม่หวานแทนได้เลยค่ะ

4. ถ้าอยากได้โปรตีนสูงๆ ให้เติมโปรตีนผงเพิ่มได้เวลาทาน หรือ ไปที่นมถั่วเหลือง ที่มีโปรตีนสูงสุดในบรรดานมพืชสูตรปกติค่ะ

🌈 อ่านเทคนิคการเลือกนมพืชอื่นๆ ย้อนได้ที่โพสนี้ได้เลยค่า: https://s.lemon8-app.com/s/GRFTZeQFrQR

Note:

ส่วนที่ต้อง คำนึงถึงในนมพืช คือ โปรตีน แคลเซียมและวิตามินดี ที่เป็นสารอาหารสำคัญที่เราอยากได้จากการดื่มนม ดังนั้นการเลือกยี่ห้อที่เสริมแคลเซียมเข้าไปด้วยก็จะสารอาหารครบถ้วนเหมือนที่ได้จากนม

🩷สุดท้าย Key สำคัญคือ เลือกทานหลากหลาย และทำได้ต่อเนื่อง 😊 เลือกที่ชอบ ทำได้จริง

เชื่อว่าหลายคนที่หันมาเลือกนมพืช เพราะต้องการดูแลสุขภาพ คีย์ที่สำคัญที่สุด คือ ทำอย่างไรให้รักษาสุขภาพดีได้จริง ทั้งการทานอาหารที่ได้เติมของดีเข้าร่างกาย ได้ออกกำลัง ผ่อนคลาย และสนุกกับมัน น่าจะทำได้อย่างยั่งยืนกว่าแบบเคร่งจนเครียดเกินไป จริงไหมคะ 😁

#ป้ายยากับlemon8 #สุขภาพดีกับlemon8 #สุขภาพผู้หญิง #นมพืช #นมข้าวโอ๊ต #โภชนาการ