Lemon8 视频下载器

从 Lemon8 应用程序下载视频和图库的最简单方法

ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้)

ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก (ลาวใต้)

桌面:右键单击并选择“将链接另存为...”进行下载。

PHOTOS
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载
ปราสาทหินวัดพูจำปาสัก สปป.ลาว เมืองจำปาสัก  (ลาวใต้) JPEG 下载

👉 แอดมินมีโอกาสไปปราสาทหินวัดพู สปป.ลาว เมืองมรดกโลกแห่งที่ 2 ก่อนอื่นแอดมินต้องบอกก่อนว่าก่อนไป ได้ฝันว่าได้เดินทางไปเมืองโบราณที่อยู่บนเขาแห่งหนึ่ง มีพระพุทธรูป มีบ่อน้ำ มีรูปปั้นเทวรูป มีปราสาท รอบๆเป็นพื้นนา พื้นสวนของชาวบ้าน แต่ก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน จนได้เดินทางไป ลาวใต้ และก็พบกับวัดนี้ เลยถึงบางอ้อ อ่อที่นี่เอง เหมือนที่ฝันเห็นเลย #ความเชื่อและความบังเอิญของส่วนบุคล นะครับ แอดก็ดึใจเลยรีบเดินขึ้นไปไหว้ตามจุดต่างๆ จะบอกว่าที่นี่มีพลังและมนต์ขลังมากๆ โดยเฉพาะที่พระพุทธรูปสามองค์ บนปราสาทบนเขา และรูปปั้นเทวรูปทางขึ้นไปยังปราสาทบนเขา

👉 ประวัติปราสาทหินวัดพูจําปาสักของสปปลาว.ปราสาทหินวัดพูจําปาสักเป็นที่รู้และกล่าวขาน.และเปันที่เคารพนับถือของชาวพี่น้องสปปลาว.เป็นสถานที่ที่ได้ลงขึ้นทะเบียนจัดให้เป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของประเทศลาวโดยองค์กรองUNESCO วันที่ 25 ปีพศ 2544

👉 ปราสาทหินวัดพูแห่งนี้มีหลักฐานจากศิลาจารึกในศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่าเเป็นเคหะสถานที่มีความรุ่งเรืองของชาวโขงเป็นโครงสร้างสถาปนิกของชาวอินดูและยังได้มีการบูรณะซ่อมแปลงดูแลในศตวรรษที่11และได้มีการแต่งเติมบางส่วน.มาที่ศตวรรษที่ 12 -13ปราสาทหินเริ่มมีการเก่าแก่.มาถึงปัจจุบันนี้มีอายุประมาณหลายกว่า 1,500 ปีลักษณะของปราสาทเป็นเคหะของชาวโขงและดูเหมือนคล้ายกับเขาพระวิหารของประเทศกัมพูชาหรือวัดปราสาทอังกอร์นั้นเอง.จำปาสักมีเมืองโบราณหรือปราสาทหินวัดพู.มีขอบเขตถึงประมาน3.6 กม. มณฑลออม.ออมรอบด้วยหินกำแพง 2 ชั้น.และปราสาทแห่งนี้ได้ปริ้นหน้าเข้าหาลำแม่น้ำโขงออมรอบไปด้วยบริเวณเขตสมบูรณ์ของชาวจำปาสัก(เขตธงเพียงกูเข้าอู่ป่า).วัดพูจําปาสักตามวิทยาศาสตร์ได้ถูกออกแบบแผนผังยึดเส้นแกนของทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นหลัก .และยังมีความเชื่ออีกว่าเนื่องจากว่าวัตพูตั้งอยู่เขตเทือกเขาสูงก็เปรียบเสมือนตัวแทนของสวรรค์ธงเพียงที่ออมรอบปราสาทวัดพูก็เปรียบเหมือนความอุดมสมบูรณ์ของโลกมนุษย์โป่งเปรียบเหมือนมาก.ส่วนแม่น้ำโขงก็เปรียบเหมือนมหาสมุทรใหญ่ซึ่งใน 3 ส่วนรวมกันนี้ก็เปรียบเสมือนจักรวาลของมนุษย์.ลักษณะศิลปะการแกะสลักของปราสาทหินวัดพูจำปาสักมันได้บ่งบอกถึงพื้นที่วัฒนธรรมของจำปาสักซาวโบราณในชนเผ่าลาวตอนใต้ของริมแม่น้ำโขง.และในทางทิศตะวันออกของปราสาทหินวัดพูสังเกตได้ว่าจะมีบ่อน้ำ2 บ่.ซึ่งในสมัยก่อนได้สันนิษฐานว่าเป็นบ่อที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อชำระสิ่งชั่วร้ายออกจากตัวและสิ่งไม่ดีไม่งามออกจากร่างกายของคนที่จะไปแสวงหาบุญ.แต่ต่อมาก็ตกในอิทธิพลของศาสนาพุทธบ่แห่งนี้ก็ได้ถูกนำใช้เป็นประโยคตัวอย่างเช่นเป็นที่กักเก็บน้ำและเป็นสถานที่ชลประทานแหล่งน้ำเข้าในกสิกรรม.ก่อนหน้าที่จะเป็นมรดกโลกประชาชนได้อาศัยอยู่ที่เขตนี้.และก็ได้มีการนำใช้น้ำในบ่อแห่งนี้เช่นเดียวกัน

👉 ถัดจากบันไดนี้ขึ้นไป เป็นทางเดินยาวที่ปูด้วยแผ่นหินทราย ที่มีความชันตามแนวลาดของภูเขา นำไปสู่ บันไดชั้นถัดไปได้เชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงตระพักบนชั้นสุด ที่หน้าบันไดนี้จะมีร่องรอยของ “สะพานนาคราช” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สะพานสายรุ้งหรือทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ตามคติเขมร เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจนถึงชั้นบนสุดก็จะเป็นที่ตั้งของปราสาทหลังประธาน .หัวใจสำคัญของเทวสถานปราสาทวัดพูแห่งนี้

ตัวปราสาทประธานของปราสาทวัดพู แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คืออาคารหินทรายส่วนหน้าเรียกว่า “มณฑป” สร้างขึ้นราวๆช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 มณฑปนี้จะมีจุดเด่นตรงที่ มีการสลักภาพเล่าเรื่องและภาพบุคคลต่างๆตามความนิยมในศิลปะเขมรมากมายทั้งที่ตัวผนังปราสาท หน้าบันและทับหลัง ตังอย่างภาพสลักที่อยู่ที่มณฑปนี้ ได้แก่ ทวารบาล และนางอัปสรา พระศิวะท่ามกลางฤๅษี มหากาพย์รามายณะ พระกฤษณะปราบนาคกาลียะ พระกฤษณะปราบพระยากงส์ การกวนน้ำอมฤต ณ เกษียรสมุทร พระนารายณ์ทรงสุบรรณ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

👉ด้านในสุดของมณฑปเป็นห้องที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชาวลาวสร้างขึ้นในสมัยหลัง ช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนตัวปราสาทวัดพูจากเทวสถานของศาสนาฮินดูของเขมร มาเป็นวัดพุทธศาสนาแบบลาว

👉ด้านหลังมณฑปเป็นอาคารก่ออิฐแบบโบราณ ซึ่งก็คือ “ปราสาทประธาน” นั่นเอง ใรอดีตปราสาทอิฐหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ “ภัทเรศวร” ที่กษัตริยืกัมพูชาเคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจนละ แต่ปัจจุบันไม่มีศิวลึงค์อยู่ในห้องนี้แล้ว

👉หน้าผาเพิงหินด้านหลังปราสาทประธานของวัดพู จะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดทั้งปี ชาวลาวเรียกว่า “น้ำเที่ยง” ซึ่งถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากยอดภูเกล้า “ลิงคบรรพต” เปรียบประดุจไหลมาจากศิวลึงค์แห่งพระศิวะบนเขาไกรลาส จึงถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่หากได้ปะพรมหรือดื่มกินแล้วจะเกิดสวัสดิมงคลด้วยพรแห่งพระเป็นเจ้า

👉หากเดินออกจากปราสาทประธานไปยังโขดหินด้านหลังทางทิศเหนือ จะพบรูปแกะสลักนูนสูงของ “ตรีมูรติ” หรือรูปเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 3 องค์แห่งศาสนาฮินดู มีพระศิวะ 5 เศียรอยู่กลาง (เรียกว่า พระสทาศิวะ) พระพรหมอยู่ด้านขวา ส่วนพระนารายณ์อยู่ด้านซ้าย การที่สลักรูปพระศิวะไว้ตรงกลางสำคัญที่สุด บ่งบอกว่าปราสาทวัดพูเป็นเทวสถานใน “ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย” คือศาสนาอินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพเจ้าทั้งปวงนั่นเอง

👉หากเดินเลยต่อไปอีกไม่ไกล ก็จะพบกับกลุ่มหินแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ ทั้งรูปช้าง รูปงู และรูปจระเข้ ซึ่งเป็นร่องรอยคติความเชื่อท้องถิ่นก่อนจะนับถือพุทธศาสนา สัตว์เหล่านี้ได้รับการตีความว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ที่น่าสนใจคือรูปสลักจระเข้ที่แกะเป็นร่องลึกคล้ายมนุษย์ ซึ่งนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า นี่อาจเป็นร่องรอยของการ “บูชายัญ” มนุษย์ตามที่ระบุไว้ในจดหมายเหตุจีนก็เป็นได้

#ข้อมูลประวัติความเป็นมา : อ้างอิงจากประวัติศาสตร์และตำนานประเทศลาว

#เที่ยว สปป.ลาวใต้ ห้ามพลาดต้องมาที่ปราสาทหินวัดภูจำปาสัก

#ค่าเข้าชมคนละ 100 บาท