Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

เครียดเแค่ไหน ถึงเข้าข่ายระดับเครียดรุนแรงที่ต้องพบจิตแพทย์

เครียดเแค่ไหน ถึงเข้าข่ายระดับเครียดรุนแรงที่ต้องพบจิตแพทย์

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
เครียดเแค่ไหน ถึงเข้าข่ายระดับเครียดรุนแรงที่ต้องพบจิตแพทย์ JPEG Download
เครียดเแค่ไหน ถึงเข้าข่ายระดับเครียดรุนแรงที่ต้องพบจิตแพทย์ JPEG Download
เครียดเแค่ไหน ถึงเข้าข่ายระดับเครียดรุนแรงที่ต้องพบจิตแพทย์ JPEG Download
เครียดเแค่ไหน ถึงเข้าข่ายระดับเครียดรุนแรงที่ต้องพบจิตแพทย์ JPEG Download

✨หลายคนคงจะเคยมีคำถามว่า ?

“ความเครียดมันมีระดับไหม”

“แล้วเครียดขนาดไหนถึงจะต้องไปปรึกษาจิตแพทย์”

,

💚วันนี้นำข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) มาฝากกันค่ะ

.

จากบทความก่อนหน้าที่เคยพูดถึงความเครียดกันไปแล้วว่า...

“ความเครียดเป็นสภาวะทางอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อคนเราต้องเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ และเราประเมินว่าปัญหานั้นเป็นสิ่งที่คุกคาม หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของเราได้ ส่งผลให้สมดุลของร่างกายและจิตใจนั้นเปลี่ยนแปลงไปค่ะ”

,

🔥โดยความเครียดแบ่งเป็น 4 ระดับดังนี้

1. ความเครียดระดับต่ำ (Mild Stress)

เป็นความเครียดที่ไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต แต่อาจจะเป็นความรู้สึกเพียงแค่เบื่อ ขาดแรงกระตุ้น มีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง

2. ความเครียดระดับปานกลาง (Moderate Stress)

เป็นความเครียดในระดับปกติที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวกลับสู่สภาวะปกติได้เอง จากการได้ทำกิจกรรมที่ชอบ

3. ความเครียดระดับสูง (High Stress)

เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง หากปรับตัวไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดหัว ปวดท้อง โมโห หงุดหงิดง่าย พฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

4. ความเครียดระดับรุนแรง (Severe Stress)

เป็นความเครียดระดับสูง และเป็นต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ ก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆและเกิดโรคที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น มีความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวัน อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจจะมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี ซึ่งหากใครมีอาการเหล่านี้ก็ควรได้รับการปรึกษาจากจิตแพทย์

,

👀 ใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว ลองประเมินตัวเองว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับไหน ถ้าหากอยู่ในระดับต่ำหรือปานกลาง ที่สามารถทำกิจกรรมที่ชอบได้ กิจวัตรประจำวันยังคงเหมือนเดิม อาการที่เป็นไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิต ก็อาจจะลองหาวิธีการช่วยคลายเครียดอย่างอื่นเพื่อให้ระดับความเครียดลดลงก่อนได้ค่ะ

.

♾️ แต่ถ้าหากเกิดความเครียดในระดับสูง ปรับตัวต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก ความเครียดเริ่มส่งผลต่ออารมณ์ความความคิดและพฤติกรรม มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็ควรหาคนรับฟังเพื่อระบายความรู้สึก และควรเข้ามาปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้เลย ไม่ควรปล่อยไว้จนถึงระดับรุนแรง

.

หากใครยังไม่มั่นใจว่าความเครียดตัวเองอยู่ในระดับไหน ลองเข้าไปทำแบบประเมินความเครียดก่อนได้ เพียง “Search Google ค้นหาแบบประเมินความเครียด” และลองทำดูนะคะ

📚ที่มา :

- 4 ระดับของความเครียด.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.).https://www.thaihealth.or.th/4ระดับของความเครียด-2/

✏️ รวบรวม/เรียบเรียงโดย

ครูอู๋ นักจิตวิทยา

#ความเครียด #เครียด #เครียดสะสม #ติดเทรนด์ #กระทู้ถามตอบ #สุขภาพใจ #จิตใจ #จิตวิทยา