Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

‘Assertiveness’ ทักษะสำคัญที่โรงเรียนไม่เคยสอน

‘Assertiveness’ ทักษะสำคัญที่โรงเรียนไม่เคยสอน

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
‘Assertiveness’ ทักษะสำคัญที่โรงเรียนไม่เคยสอน JPEG Download

‘Assertiveness’ ทักษะสำคัญของชีวิตที่โรงเรียนไม่เคยสอน

1) Assertiveness หมายถึง การยืนกราน เพื่อปกป้องรักษาสิทธิ์อันชอบธรรมของตนเอง รักษาและหวงแหนความรู้สึก เกียรติของตนเอง และให้ consent ที่จะทำหรือไม่ให้ consent ต่อผู้อื่นที่จะทำอะไรกับตัวเอง โดยไม่ยอมให้ใครละเมิดชีวิตเรา

2) เราอยู่ในสังคมไทย ที่มีลักษณะยอมตามมาตลอด แม้กระทั่งในรั้วโรงเรียน ครูมีสิทธิ์เหนือร่างกายเด็ก ด้วยอำนาจนิยม ใช้การลงโทษ บังคับการแต่งกาย ใช้คำพูดที่รุนแรงควบคุมจิตใจให้เด็กทำตาม สภาพสังคมที่เราเติบโตมา ไม่เอื้อให้เราปกป้องตัวเองเป็น เราจึงอยู่ในสังคมแบบยอมตาม มากกว่ารักษาสิทธิ์ของตนเอง

3) พอเราปกป้องตัวเองไม่ได้จนชิน เมื่อเราไปในสังคมที่ใหญ่ขึ้น เราเลยเข้าใจผิดว่า การจะอยู่รอดในสังคมคือ "ความเงียบ ไม่ปฏิเสธเมื่อรู้สึกไม่โอเค และเลือกที่จะอดทน" เพราะใช้ชีวิตในสังคมแบบที่อดทนต่อการถูกละเมิดได้มาตลอด มันไปสร้างบรรทัดฐานผิดๆให้สังคม และสร้างน่านิยมที่ไม่เหมาะสมต่อการไม่ปกป้องตัวเอง

4) สังคมจะเคยชินกับคนที่โอเคกับทุกอย่าง การปฏิเสธ หรือคนที่ไม่ยอมรับในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หลายครั้งดูเป็นตัวประหลาดในบางสังคม "ทำไมไม่ยอมๆไปก่อน?" "ทำไมไม่เงียบ?" เราถูกสอนให้อยู่ในอำนาจนิยม ผ่านครอบครัวและรั้วโรงเรียน จนลืมว่าสิทธิ์ของเราสำคัญมากแค่ไหน เมื่อเราไม่โอเค เราปกป้องมันได้เสมอ

5) การไม่รักษาสิทธิ์ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตโดยตรง คนไม่ยอมปกป้องตัวเอง เพียงเพราะกลัวไม่รอดในสังคม กลัวคนอื่นไม่โอเคกับตัวเอง กลัวสังคมไม่ยอมรับที่ไม่ตามๆคนอื่นไป กลัวแปลกแยก และกลัวไม่เป็นที่รัก ทั้งๆที่สิทธิ์นั้นมันเป็นสิทธิ์ของตนเองที่ชอบธรรม และถูกต้องด้วยซ้ำ

6) โทษภัยของการไม่แสดงออกอะไรเลย ก็คือ การอดทนอยู่อย่างนั้น จนเกิดปัญหาสุขภาพจิตกับตนเองภายใน อันเกิดความขัดแย้ง ที่ไม่ลงรอยกันระหว่างการกระทำ และความรู้สึกนึกคิด ทำบ่อยๆจะเกิดเป็นโรคทางจิตเภทจริงๆ กลุ่มโรคซึมเศร้า ที่รู้สึกตัวเองไม่มีค่า และไม่รักตัวเอง จากการถูกละเมิดบ่อยครั้ง ก็ทำให้ปัญหาสุขภาพจิตตามมาโดยไม่รู้ตัว

7) การที่เราไม่รักษาสิทธิ์ ก็จึงทำให้เราถูกละเมิดง่ายๆ และบ่อยครั้งไม่มีใครมาเห็นใจ สังคมเห็นช่องโหว่ของการยอมตาม และโอเคกับทุกอย่าง ทำให้คนเห็นแก่ตัวใส่บุคคลเป้าหมาย และพร้อมจะเอาเปรียบได้ทุกเมื่อ เมื่อไม่ปกป้องสิทธิ์นั้น ย่อมมีคนเข้ามาฉวยโอกาส และหาประโยชน์จากการแบกรับของคนยอมตาม

8 ) สิ่งที่ควรส่งเสริมในสังคมไทยคือ "ทักษะการฝึกปฏิเสธคนให้เป็น และไม่ยอม Say Yes ในสิ่งที่ไม่มั่นใจว่าควร Yes" เราสามารถที่จะพูดออกไปตรงๆได้ โดยไม่ต้องกังวล คิดมากใดๆ เพราะมันเป็นสิทธิ์พื้นฐานของเรา เรามีสิทธิ์รับ หรือไม่รับ ในสิ่งที่ได้รับการเสนอมาให้ โดยไม่มีใครมีสิทธิ์บังคับจิตใจเรา

9) คนที่กังวลว่าคนจะเกลียด หรือไม่รัก เมื่อปฏิเสธ ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะโลกได้ให้โอกาสเราคัดคนแล้ว ทำให้เรารู้ว่าคนแบบไหน เป็นภัยกับเรา และถ้าเขาไม่ได้สิ่งที่เขาต้องการ ทำให้เขาปฏิบัติไม่ดีกับเรา นั่นก็แสดงว่า ถ้าเราไม่มีประโยชน์กับเขา เขาก็จะมีท่าทีแบบนี้ เพื่อบีบให้เรายอมเขา ดังนั้น จงสูญเสียคนเหล่านี้ไปเถอะ เพราะเขามองเราแค่เป็นเหยื่อที่ให้ประโยชน์กับเขาเท่านั้น พอเราหมดประโยชน์ก็แสดงออกว่าไม่พอใจ และไม่ต้องการเรา อย่าตกเป็นเหยื่ออีกต่อไป

10) พฤติกรรมแบบนี้ ที่ทำให้เรายอมตาม เกิดขึ้นทุกที่ และอันตรายมาก หากเป็นในคู่รัก ที่คนออกมาจากความสัมพันธ์ไม่ได้ ยิ่งถูกควบคุมจิตใจโดยอีกฝ่าย ให้ยอมตาม ทำตามสั่ง และพยายามโอเคกับทุกอย่าง แม้ถูกละเมิด แต่ใช้ความรักแสดงออกต่ออีกฝ่ายแบบคุมเกม เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ สุดท้ายแล้ว มันคงต้องถามตัวเองว่า "ถึงเวลารักษาสิทธิ์รึยัง?"

การรักษาสิทธิ์ คือการรักตัวเองรูปแบบหนึ่ง กลับมารักตัวเองเยอะๆ ถ้าเราไม่โอเคกับตัวเอง ต่อให้คนทั้งโลกโอเคกับเรา เราก็แหลกสลายอยู่ดีนะ

#ตุ๊ดส์review