Lemon8 Video-Downloader

Der einfachste Weg, Videos und Galerien von der Lemon8-App herunterzuladen

หลานม่า : สังคมปิตา ในครอบครัวคนจีน

หลานม่า : สังคมปิตา ในครอบครัวคนจีน

Desktop: Klicken Sie mit der rechten Maustaste und wählen Sie zum Herunterladen "Link speichern unter...".

PHOTOS
หลานม่า : สังคมปิตา ในครอบครัวคนจีน JPEG Herunterladen

#หลานม่า : สังคมปิตา ในครอบครัวคนจีน

1) ประเด็นนี้บอยยังไม่เคยพูดถึงบนเพจ ในโอกาสที่หนังเรื่องนี้เข้า #NetFlixTH ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมานะครับ ก็เลยอยากมาชวนคุยประเด็นจากตัวละครหลักของเรื่องอีกตัว "ม้าซิว" ที่ผลักดันประเด็นปิตาในสังคมครอบครัวคนจีนออกมาอย่างเด่นชัดมากๆ แต่ทั้งนี้บ้านไหนที่ไม่ได้เป็นเหมือนหนัง ไม่จำเป็นต้องดราม่าไปนะ เราสะท้อนบริบทที่ในภาพยนตร์นำเสนอครับ

2) ในหนัง มันสะท้อนความเจ็บปวดมากๆ ที่ลูกสาวกลายเป็นคนที่ดูแลแม่ทุกอย่าง แต่เวลายกทรัพย์สมบัติ เงินทอง มรดกทุกอย่าง กลับกลายเป็นลูกชายได้ไป ซึ่งหนังมันสะท้อนการทำงานหนักของม้าซิว (แม่ของเอ็ม) ที่มีความเจ็บปวด และถูกกดทับ เช่น ต้องลางานมาดูแลแม่ แต่แม่ก็ยังเชื่อว่า สาเหตุที่ม้าซิวมาดูแลแม่ เพียงเพราะหวังในสมบัติของแม่ ในขณะที่ลูกชายไม่มีใครมีเวลามาดูแลแม่ เพราะคนหนึ่งก็เกเร จะมาหาแค่ตอนเงินหมด ส่วนอีกคนก็ติดภาระครอบครัวและการงาน แต่ด้วยความเป็นลูกสาว ในครอบครัวจีน กลับถูกมองเมินเสมอมา

3) สิ่งที่หนังสะท้อน มันก็เป้นส่วนหนึ่งของครอบครัวคนจีน (และหลายครอบครัวในไทย) ที่ให้คุณค่ากับ "ลูกชาย/เพศชาย" มากกว่า "ลูกสาว/เพศหญิง" โดยปฏิบัติแตกต่างกันในการให้ความสำคัญ การดูแล การให้การศึกษา และการส่งมอบทรัพยากรคุณภาพในครอบครัว การเป็นหญิงในบางครอบครัว กลายเป็นเพียงคนที่ต้องทำงานหนัก โดยที่ลูกชายลอยตัว สุขสบายในบ้าน

4) แม้ในหนังจะมีฉากปลดล็อกทางความรู้สึก ให้เราเห็นว่าอาม่า ก็รักม้าซิว มองเป็นลูกสาวคนสำคัญเสมอในบทบาทหนึ่ง ของการเป็นคนดูแลที่สำคัญต่อชีวิตอาม่าเสมอมา แต่การตอบแทนกลับคืนมา และการให้ความสำคัญ กลับถูกด้อยค่ากว่าลูกชาย จึงไม่แปลกที่ลูกสาวจะมีความรู้สึกน้อยใจ และมองว่าตัวเองดูไร้ค่าเสมอในสายตาของแม่ และเชื่อว่าแม้ไม่รักตัวเอง มันเป็นปมในใจของคนเป็นลูกสาวที่คาอยู่ในใจมาตลอด

5) ทัศนคติการรักลูกไม่เท่ากันของหลายบ้าน เรามองแตกต่างว่ามันมีหลาย cases เช่น

- การลำเอียงโดยอคติทางเพศจริงๆ แบบรักลูกชายออกนอกหน้า ก็มีการกระทำที่เหยียดลูกสาวอยู่เสมอ ไม่เคยได้กินของอร่อย และไม่เคยอยู่ในสายตาของคนในครอบครัว

- การลำเอียงโดยความรู้สึกของลูก แต่จริงๆ แค่เลี้ยงดูแตกต่างกัน ตามธรรมชาติของเด็ก ที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เลี้ยงไปตามความเป็นตัวตนของเด็ก และประสบการณ์ของพ่อแม่ที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ใช่การเกลียดชังลูกสาว

ซึ่งบางทีมันขาดความรู้สึกบวกในทัศนคติของลูกที่แบกรับความรู้สึกที่ไม่เท่ากันแบบนั้นมาตลอด ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากชุดความคิดใดก็ตามของพ่อแม่

6) สิ่งที่จะย้ำกับพ่อแม่คือ "การแสดงออกถึงความรักให้ลูกรับรู้" สิ่งนี้สำคัญนะ บางบ้านไม่เคยคิดสื่อสารต่อกันเลย และอยู่ไปวันๆ โดยไม่สนทนากัน และไม่ทำให้รับรู้ว่าใส่ใจต่อกัน มันกลายเป็นความเฉยชา และเข้าใจผิดว่าตนเองแตกต่าง ไม่เท่ากับคนอื่น และไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่ เพราะมองไม่เห็นความใส่ใจ การแสดงออกและการสื่อสารให้รับรู้จึงไม่ควรถูกละเลยในทุกบ้าน

7) ถามว่า "ยุคสมัยนี้ ยังมีพ่อแม่ที่รักลูกชายมากกว่าลูกสาวอยู่ไหม?" เรามองว่ามีทุกยุคทุกสมัย แค่ degree ของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน และบ้านไหนที่ไม่เป็นเช่นนั้น ก็ถือว่าโชคดีไปที่ไม่บ่มเพาะปมปัญหาในใจลูก และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปแค่ไหน "อคติทางเพศ" ยังคงไม่จางหายไปง่ายๆ ในวัฒนธรรมครอบครัวที่ฝังรากลึกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ทำให้มองว่าเกียรติของลูกชายสูงส่งกว่าลูกสาว ทั้งๆที่คุณค่าความเป็นคนนั้นเท่ากัน ดังนั้น พวกชุดความคิดเก่าๆ ที่ว่า "มีลูกสาว เหมือนมีส้วมไว้หน้าบ้าน" มันจะไม่จริงเลย ถ้าพ่อแม่และครอบครัว ไม่ได้มองพวกเธอเป็นกระโถนของบ้าน ที่มีของเสียอะไรก็โยนใส่พวกเธอ บนความเป็นคนที่เท่ากันเสมอไม่ว่าจะเกิดมาเพศอะไรก็ตาม

ไม่รู้ว่าครอบครัวของคุณ ยังมีอคติทางเพศเหล่านี้อยู่บ้างไหม? มาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ ลูกสาวอย่าน้อยใจไปนะ เติบโตมาได้อย่างสุด strong ก็โคตรเก่งเลยครับ <3

#ตุ๊ดส์review #รีวิวหนัง