Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

การปิดตัวลงของ Robinhood สะท้อนว่า...

การปิดตัวลงของ Robinhood สะท้อนว่า...

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
การปิดตัวลงของ Robinhood สะท้อนว่า... JPEG Download

การปิดตัวลงของ Robinhood คือ การยืนยันความล้มเหลวของรัฐบาล ที่ไม่เคยสนับสนุน Start up ไทย ให้ยืนระยะได้มากพอ จนแข่งขันกับชาวต่างชาติได้

- ปิ๊ก ธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์

นักออกแบบธุรกิจ และนักเขียนหนังสือด้านธุรกิจ

1) การจากไปของ #Robinhood คือความน่าเสียดายทางธุรกิจที่ผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการ และ Rider บ่นถึง เพราะมันเป็น app ที่ดีจริงๆ แต่ดีแล้วทำไมอยู่ไม่ได้ และทำยังไงให้อยู่ได้ เรามาคุยประเด็นนี้กันให้ลึกขึ้นครับ

2) เมื่อปี 2563 ไทยพาณิชย์ออกมาประกาศกำลังลงทุนในแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ใหม่ในชื่อ Robinhood ภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures) บริษัทน้องใหม่ในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) ที่ตั้งขึ้น โดยมีงบการลงทุนประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งประกาศปณิธานชัดเจนว่าจะดำเนินธุรกิจบน 4 จุดแข็ง คือ

1.ไม่เก็บค่าธรรมเนียม GP (Gross Profit)

2.ไม่เก็บค่าสมัคร

3.จ่ายเงินสู่บัญชีร้านค้าภายใน 1 ชั่วโมง

4.เพิ่มโอกาสร้านค้าเข้าถึงสินเชื่อธนาคาร

3) หากเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะตั้งใจช่วยคนตัวเล็กๆ สะท้อนถึงความตั้งใจแก้ปัญหา pain point ของ Delivery Platform ร้านค้าขนาดเล็กหลายรายเลือกที่จะไม่อยู่บนแพลตฟอร์มใด ๆ เพราะแบกรับค่าธรรมไม่ไหว บางร้านต้องขึ้นราคาหรือลดปริมาณอาหาร ซึ่งมันดีทั้งต่อคู่ค้า และผู้บริโภค ที่ไม่ผลักภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายให้คนในวงจรธุรกิจ

4) การเปิดตัวในวันนั้น ผ่านไป 1 ปี Robinhood เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยยอดลูกค้าที่ลงทะเบียนใช้งานกว่า 2.3 ล้านคน จำนวนร้านอาหารบนแพลตฟอร์มกว่า 164,000 ร้าน และมีไรเดอร์ให้บริการรับ-ส่งอาหารกว่า 26,000 คน ยอดสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มมูลค่ารวม 3,300 ล้านบาท แต่ธุรกิจของ Robinhood ขาดทุน 87 ล้านบาท ขณะที่ Robinhood มีรายได้เพียง 81,549 บาท

5) หลังประสบกับภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จึงออกกลยุทธ์หนีขาดทุน ด้วยการเปิดตัว “บริการเรียกรถ” ในเดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน ของลูกค้ากว่า 3.7 ล้านคนบนแพลตฟอร์ม และตั้งเป้าการเติบโต ยืนยันที่จะสู้ต่อไป บนเส้นทางของการขาดทุนนี้

6) แต่ในที่สุดก็ไปไม่รอด 25 มิถุนายน 2567 บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX แจ้งยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป หลังจากบรรลุภารกิจช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิดได้ตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ หลังได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของร้านอาหารและธุรกิจต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองท่องเที่ยวมาตลอด 4 ปี แต่กลับขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยขาดทุนสะสมสูงกว่า 5,563 ล้านบาท

7) พอมาดูข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ น่าสงสารมาก พบการขาดทุนสะสม ที่พยายามสู้เต็มที่แล้ว แต่มันไปไม่ไหวจริงๆ

ปี 2563 มีรายได้รวม 81,549.00 บาท กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -87,829,231.00 บาท

ปี 2564 มีรายได้รวม 15,788,999.00 บาท กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -1,335,375,337.00 บาท

ปี 2565 มีรายได้รวม 538,245,295.00 บาท กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -1,986,837,776.00 บาท

ปี 2566 มีรายได้รวม 724,446,267.00 บาท กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -2,155,727,184.00 บาท

8 ) เรามาดูภาพรวมของข้อมูลรายได้, กำไร, ขาดทุน แอป Delivery ปี 2566

- Robinhood รายได้ 724 ล้าน (ขาดทุน -2,155 ล้านบาท)

- Foodpanda รายได้ 3,842 ล้าน (ขาดทุน -522 ล้านบาท)

- LINEMAN รายได้ 11,634 ล้าน (ขาดทุน -253 ล้านบาท)

- Grab รายได้ 15,622 ล้าน (กำไร +1,308 ล้านบาท)

มันสะท้อนว่า ธุรกิจ Delivery app ส่วนใหญ่ในประเทศเรา ต่างขาดทุนสะสม และยังไม่มีกำไรเลย มันบ่งบอกความจริงว่า เป็นธุรกิจที่ต้องการเงินทุนสนับสนุนในการต่อยอด และต้องมีสายป่านยาวพอ จึงจะผ่านช่วงขาดทุนสะสมไปสู่วันที่ทำกำไรได้ (Grab เคยอยู่จุดขาดทุนสะสมนั้นมาก่อนเช่นกัน แต่ต่างกันที่มีเงินทุนหนากว่า สายป่านทำาธุรกิจยาวกว่า และมีนโยบายการทำธุรกิจ ในเรื่องของ GP และส่วนแบ่งรายได้กับ Rider ไม่ได้มุ่งช่วยคนตัวเล็กๆ ในแนวคิดแบบที่ Robinhood ทำ)

9) ส่วนตัว บอยเห็นด้วยกับคุณปิ๊ก นักเขียนด้านธุรกิจ และนักออกแบบธุรกิจ ว่าจริงๆแล้ว app คนไทยจะอยู่ได้ ให้โอกาสพวกเขาได้ล้มลุกคลุกคลานได้ มันต้องการ Angel Investor ที่มาระดมทุนให้ความช่วยเหลือให้นักลงทุนไทย ได้เติบโต ซึ่มันต้องอาศัยการ support จากรัฐ ในช่วง 3-5 ปีแรก ที่จะต้องมีเงินอัดฉีดสำหรับการทำงาน Marketing & Operation เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ซึ่ง SMEs ตัวเล็กๆ ที่ตายไปในประเทศเรา ไม่ใช่แค่ Robinhood ต่างกายไปในช่วงโควิด และหลังโควิดที่ตลาดซบเซาต่อเนื่อง ไม่ใช่พวกเขาไม่สู้ ไม่ดิ้น ไม่พยายาม แต่มันสู้สุดทางจดหมดลมหายใจสุดท้าย แต่ก็ยังไม่มีแรงพอ สายป่านทางธุรกิจไม่ยาวมากพอครับ

10) เราลองสังเกตได้เลยว่า ตั้งแต่ Robinhood ประกาศปิดตัวลง มีแต่คนออกมาชื่นชมและเสียดาย Application นี้แสดงว่า Idea ของการทำธุรกิจ App ที่คิดดี ทำดี ตั้งใจทำเพื่อคนตัวเล็กมันควรมีพื้นที่อยู่ต่อไป และเป็น Core Value ที่คนเชื่อมั่น ทั้งคนสร้าง ร้านค้า ผู้ร่วมงาน รวมไปถึง User บอกตรงกันว่า App นี้เป็น App ที่ตั้งใจดีเพื่อผู้คน แต่ทำไมทำดี กลับอยู่ไม่ได้ นี่แหละคือคำตอบว่า รัฐบาลต้องสนับสนุน SMEs ดีๆที่ทำเพื่อคนไทยให้พวกเขาอยู่ได้ ไม่ใช่รอวันเจ๊ง

ถ้าทำดี ช่วยประชาชน ช่วยคนตัวเล็กๆ ก็ควรมีที่อยู่ ถ้าทำดีแล้วไม่มีที่อยู่ ใครจะอยากทำดีล่ะ?!?

ไม่งั้นสุดท้ายแล้ว คนที่อยู่ได้ คือคนที่เอาเปรียบสังคม จึงจะอยู่รอด อย่าปลูกฝังความคิดนี้สู่สังคม

เราควรสร้างธุรกิจที่ยังยืนให้เติบโตไปด้วยกัน เพื่อจะไปได้ไกล

#ตุ๊ดส์review