Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย TheStructure | Lemon8

หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย TheStructure | Lemon8

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย TheStructure | Lemon8 JPEG Download

หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีต รมช. ศึกษาธิการ กล่าวถึงการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการเลี้ยงช้าง ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ ซึ่งทำให้มีช้างจากปางช้างแห่งหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตว่าตนเองนั้นอยู่ในวงการช้างมานาน และมีความใกล้ชิดกับทุกฝ่าย

ซึ่งรวมไปถึง เล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้างและประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม และเป็นเจ้าของศูนย์บริบาลช้าง Elephant Nature Park อำเภอแม่แตงด้วย อีกทั้งเมื่อ 10 ปีที่แล้วตนเองไปที่ปางช้างของ น.ส. แสงเดือนทุกเดือน เพราะรักและทุ่มเทเพื่อเธอมาก อีกทั้งยังคล้อยตามวิธีการของเธอด้วย ซึ่งรวมไปถึงการมีความไม่พอใจต่อปางช้างอื่นเหมือน น.ส. แสงเดือนด้วย

แต่ในเวลาต่อมา ก็มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นที่ทำให้ตนเองถอยห่างออกมา และเปิดใจยอมรับวิธีการเลี้ยงช้างแบบอื่นด้วย จนทำให้ตนเองตระหนักได้ว่าไม่มีวิธีการเลี้ยงแบบสุดโต่งทางไหนที่ดีที่สุด สิ่งที่เหมาะสมคือความเป็นกลาง

“ทีนี้ประเด็นแรกเนี่ยขอเรียนก่อนแล้วนะคะว่า ที่คุณแสงเดือนบอกว่าเพราะปางอื่นเขาไม่ท่วม เขาท่วมนะคะ แถวนั้นท่วมหมด แต่ว่าเขาขนย้ายช้างออกมาก่อน เห็นว่าแม้วันที่ 3 วันที่ 4 เนี่ยทางปางของคุณแสงเดือนก็ยังขายทัวร์อยู่เลย ยังขายทัวร์ให้นักท่องเที่ยวอยู่เลย ปางอื่นเขาอพยพกันแล้ว อย่างปางเล็ก ๆ เขาก็พาช้างเดินออกมาตั้งแต่วันที่ 3 แล้ว” น.ส. กาญจณากล่าว

น.ส. กาญจณากล่าวถึงการที่ น.ส. แสงเดือนออกมาระบุถึงเรื่องโซ่นั้น ตนเองอยากจะเรียนว่าปางอื่นเขาไม่ได้ล่ามโซ่ตลอดเวลา เขาก็ปล่อยช้างเดินในยามปกติ แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องพัก เขาก็จะล่ามโซ่ยาว ๆ ไม่เช่นนั้นเขาก็จะไม่สามารถคุมช้างได้

นอกจากนี้ ปางอื่นนั้นจะมีควาญช้างอยู่ประจำ เมื่อเกิดเหตุจึงสามารถเข้าถึงได้ตลอด ส่วนตะขอนั้นจะถูกใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเท่านั้น ไม่ได้ใช้จิกตีอยู่ตลอด เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่ จึงยากที่จะทราบถึงอารมณ์ของช้าง อีกทั้งปางอื่นนั้น เขาไม่ล่ามโซ่เอาไว้จนปล่อยให้ช้างตายเมื่อมีน้ำท่วม ขาไปปลอดโซ่ออก

“แล้วก็ปรากฏว่า ทุกทีม ทุกคนที่ไปช่วยเหลือที่ปางของคุณเล็กเนี่ย ก็คือปางที่คุณเล็กไปว่าเขาทุกปางเลย ที่เข้าไปช่วย เพราะว่าควาญของทางปางของคุณเล็กเนี่ย Panic (เสียขวัญ) ไปหมดแล้ว ทำอะไรไม่ได้ คือถ้าตอนนั้นเนี่ยแต่ละเชือกของคุณเล็กมีควาญประจำ เขาก็จะเข้าหาช้างของเขาทันทีเลย แล้วก็พาเดินออกมาแล้ว

แต่ความที่ช้างไม่เคยมีควาญประจำ เขาก็จะแยกย้ายกันไปแบบไม่รู้ทิศไหนๆ ทำให้อย่างน้องฟ้าใส (ช้างจากศูนย์บริบาลช้าง Elephant Nature Park ของ น.ส. แสงเดือน) เนี่ยก็ไหลไปตามท่ออุโมงค์ผันน้ำ ซึ่งอันนี้ดิฉันก็เสียใจมาก” น.ส. กาญจณากล่าว

น.ส. กาญจณากล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องไม่มีตัวตน เปิดใจซึ่งกันและกัน และกล่าวว่า “คือคุณเล็กเลี้ยง ส่วนมากคุณเล็กก็จะเลี้ยงช้างแก่ ช้างชรา ช้างเพศเมีย เพราะว่าคุณเล็กเค้าก็เล่นกับเรื่องเงินบริจาค อันนี้ก็เข้าใจ แต่ว่าช้างในโลกเนี้ยมันไม่ได้มีแต่ช้างแบบนั้น มันมีช้างเพศผู้ด้วย มีช้างอื่นๆ ด้วย”

น.ส. กาญจณากล่าวว่า เราไม่สามารถปล่อยเลี้ยงช้างแบบเสรีได้ แต่จะต้องฝึกให้ช้างฟังคำสั่งเวลารักษาพยาบาลด้วย และในสมัยนี้มีการฝึกแบบทางบวก (Positive Reinforcement) ซึ่งเป็นการทำถูกก็ให้รางวัล ไม่ได้ใช้วิธีที่ทารุณทุบตีเหมือนอย่างในอดีตแล้ว และวิธีการทารุณนั้นก็ไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว

และสาเหตุที่ต้องฝึกนั้น ก็เพื่อที่เวลารักษาพยาบาลช้าง เช่นเจาะเลือด ตรวจเท้า ก็จะสามารถบอกช้างให้ทำได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฝึกเลย ก็จะไม่สามารถรักษาช้างได้เลย เข้าหาไม่ได้เลย

“ควาญปางอื่นที่เข้าไปช่วยปางคุณเล็กเนี่ยเสี่ยงชีวิตมาก เพราะว่าช้างเหล่านั้นไม่รู้จักกันเลย แล้วไม่เคยถูกฝึกเลย เขาก็ต้องใช้ความสามารถพิเศษของควาญทั้งหลาย แล้วก็เสี่ยงเข้าไปช่วย คือถ้าพวกนี้ไม่เข้าไปช่วย จะตายเยอะกว่านี้

ที่คุณเล็กบอกว่าถ้าล่ามโซ่จะตายเยอะกว่านี้ มันไม่ใช่ ถ้าเขาทำ คนอื่นไม่เข้าไปช่วย จะตายเยอะกว่านี้ เพราะว่าควาญคุณเล็กกระเจิดกระเจิงไปหมดแล้ว” น.ส. กาญจณากล่าว

น.ส. กาญจณากล่าวยอมรับว่าเมื่อก่อนเคยมีการเลี้ยงช้างอย่างทารุณจริง และตนเองได้พยายามผลักดันเรื่องการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ จนมีการออก พรบ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 รวมทั้งมีมาตรฐานปางช้างซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา

อีกทั้งยังมีกฎสวัสดิภาพช้าง (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการจัดสวัสดิภาพช้าง พ.ศ. 2563) ด้วย ซึ่งมีการกำหนดเวลาทำงานของช้างในแต่ละวัน ต้องมีการดูแลเรืองอาหารและน้ำให้บริบูรณ์ และการตรวจสุขภาพช้างอยู่ตลอด

“ก็ต้องยอมรับว่าคนก็ยังต้องใช้ช้างในการทำมาหากิน เพราะว่าชาวอีสานจำนวนมาก เขาก็มีช้างเป็นมรดกสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น เขามีอาชีพอยู่กับช้าง ช้างเลี้ยงคน คนเลี้ยงช้างนั่นแหละ”น.ส. กาญจณากล่าว

น.ส. กาญจณาย้ำว่า ในเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ ปางช้างของ น.ส. แสงเดือนเป็นปางเดียวที่มีปัญหา ในขณะที่ปางอื่นนั้นไม่มีช้างตายเลย ไม่มีปัญหาเลย เพราะเขาฟังทางการ และอพยพช้างออกไปหมดตั้งแต่วันที่ 3 ในขณะที่ปางของ น.ส. แสงเดือนนั้นวันที่ 4 ยังคงขายทัวร์อยู่เลย

#TheStructure

#TheStructureNews

#ช้าง #น้ำท่วม #เชียงใหม่