Téléchargeur vidéo Lemon8

Le moyen le plus simple de télécharger des vidéos et des galeries à partir de l'application Lemon8

พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

Bureau : cliquez avec le bouton droit de la souris et sélectionnez "Enregistrer le lien sous..." pour télécharger.

PHOTOS
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger
พาลูกไปมู วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร JPEG Télécharger

วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

🗺 ชื่อสถานที่: วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

✨สิ่งน่าสนใจ: เทวราชเนรมิต (เน้นเรื่องการขอความสำเร็จ)

🗣ข้อแนะนำ: ซื้อพวงมาลัย 5 พวง

จะมีใบแนะนำการไหว้วางไว้ที่ร้านขายพวงมาลัย

โดยเรา เริ่มไหว้ตามจุดดังนี้

1.เริ่มจากไหว้พระขอพร พระในโบสถ์

2. ไหว้พระพุทธดาวดึงส์เทวราช (เน้นเรื่องการเงิน)

3. ไหว้พระพุทธจักรพรรดิทองคำ (เน้นเรื่องการงาน)

4. ไหว้เทวราชเนรมิต (เน้นเรื่องการขอความสำเร็จ)

#จุดที่คนนิยมมากที่สุด ขอเพียงขอเดียว แบบปังๆ

#วิธีการไหว้ สวดคาถา (จะมีบทสวดวางไว้) ก่อนที่จะขึ้นด้านบนแท่นขอพรนะคะ เวลาขึ้นไปด้านบนจะได้ตั้งใจขอพรได้อย่างเต็มที่ค่ะ เมื่อขึ้นแท่นขอพรด้านบน นำธนบัตรทั่งสองใบใส่ในมือท่าน นำพวงมาลัยวางไว้ที่พานหรือเท้าท่าน(เราวางไว้ที่เท้า) จากนั้นก็ นำมือทั้งสองข้างจับไปที่มือท่านและนำหน้าผากจรดมือท่าน ขอพรที่ตั้งใจเพียงข้อเดียว บอกชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด (ใครเปลี่ยนชื่อบอกชื่อเก่าให้ครบ) ระบุเน้นย้ำเรื่องที่จะขอไปเลย บอกอาชีพ สถานที่ทำงานให้ชัดเจน เมื่อขอพรเสร็จก็ก้มลง นำมือทั้งสองข้างลูบเท้าเท่ากวักสิ่งดีๆเข้าหาตัว 2 ครั้งค่ะ และ กราบลงพวงมาลัยที่เราวางแบบแบมือ1ครั้ง หลังจากนั้นหยิบแบงค์ที่เราม้วนไหว้ที่มือท่าน ออกมา2ใบ หยิบ1ใบใส่ตู้ทำบุญ และหยิบอีก1ใบ ประทับยันต์ (มีตราประทับวาฃข้างๆตู้)

และเก็บเป็นขวัญกระเป๋า ค่ะ

จุดที่5 พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (เน้นเรื่องสุขภาพ)

เป็นอีกจุดสำคัญของวัด “วัดเทวราชกุญชรฯ” โดยคำว่า “เทวราช” แปลว่า “พระอินทร์” มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งแปลว่า “ช้าง” รวมความแล้วแปลว่า “ช้างพระอินทร์”