Tải Video Lemon8

Cách dễ nhất để tải video Lemon8 và tải ảnh từ ứng dụng Lemon8

ชวนรู้จัก

ชวนรู้จัก "มะพร้าว" พืชที่ถูกสลักชื่อลงในศิลาจารึก

Máy tính: Nhấp chuột phải và chọn "Save link as..." để tải xuống.

PHOTOS
ชวนรู้จัก JPEG Tải xuống
ชวนรู้จัก JPEG Tải xuống
ชวนรู้จัก JPEG Tải xuống
ชวนรู้จัก JPEG Tải xuống

เคาะกะลาชวนรู้จัก "มะพร้าว" พืชที่ถูกสลักชื่อลงในศิลาจารึก 🥥

.

ถ้าพูดถึงพืชที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมการกิน และวิถีชีวิตของคนไทย คนส่วนมากอาจจะนึกถึงข้าวเป็นอันดับแรก แต่ยังมีพืชอีกชนิดนึงที่มีความผูกพันกับคนไทยมาตั้งแต่สมัยยุคสุโขทัย นั่นก็คือ “มะพร้าว” โดยเจ้าผลไม้ลูกแข็งสีเขียวนี้มีชื่อปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง โดยกล่าวว่า “เมืองสุโขทัยนี้จึงชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าว ก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้” จากบันทึกข้างต้นทำให้ได้รู้ว่าชาวไทยรู้จักปลูกและค้าขายมะพร้าวมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยเมื่อราว ๆ พ.ศ.1835

.

ในแรกเริ่มชาวไทยใช้มะพร้าวในรูปแบบของการบริโภคเนื้อและน้ำ โดยพบหลักฐานในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่เรียบเรียงในช่วงปี พ.ศ.1888 กล่าวถึง “ขนมต้ม” ว่าเป็นขนมที่ทำได้ง่ายโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น อย่าง แป้ง มะพร้าว และน้ำตาล โดยผัดเนื้อมะพร้าวกับน้ำตาล ห่อด้วยแป้งแล้วนำไปต้ม

.

ส่วนวัตถุดิบสำคัญจากมะพร้าวอย่าง “กะทิ” พบหลักฐานว่ามีการเริ่มใช้ในการปรุงอาหารในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ช่วงปีพ.ศ. 2200 พบบันทึกของทูตเปอร์เซียที่อ้างว่า สมเด็จพระนารายณ์ ทรงโปรดอาหารเปอร์เซีย ที่มีนม เนยใส(Ghee) และเครื่องเทศเป็นวัตถุดิบหลัก แต่ในยุคอยุธยานั้นยังไม่ได้มีการบริโภคนมวัว นมควาย จึงทำให้หาวัตถุดิบอย่างนม และเนยใสไม่ได้ พ่อครัวชาวเปอร์เซียจึงเริ่มประยุกต์คั้นเอา “กะทิ” ออกมาจากเนื้อมะพร้าว แล้วเอามาประกอบอาหารกับเครื่องเทศ จนสุดท้ายก็เกิดการประยุกต์ดัดแปลงมาตามยุคสมัยจนกลายมาเป็นเมนูแกงกะทิต่าง ๆ ของไทยในปัจจุบัน

.

โดยมะพร้าวในไทยถ้าจะแบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการบริโภคเป็นหลัก จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ

1.มะพร้าวน้ำหอม : ต้นเตี้ย ผลไม่ใหญ่มาก น้ำมีรสหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อมะพร้าวนุ่ม มัน นิยมใช้ดื่มสด ๆ หรือขูดเนื้อไปทำเป็นของหวาน

2.มะพร้าวแกง : ต้นขนาดใหญ่ สูง ผลขนาดใหญ่ เนื้อมะพร้าวใช้ขูดมาคั้นทำกะทิสำหรับนำไปประกอบอาหารคาว หวาน มีเนื้อแข็ง และน้ำมะพร้าวไม่หวาน

.

ถ้าเจาะลึกลงไปอีกในแง่ของการใช้เนื้อมะพร้าวเพียงอย่างเดียว ยังสามารถแบ่งวิธีการเรียกได้อีก 4 ประเภท จำแนกตามอายุของลูกมะพร้าว

1. มะพร้าวอ่อน สามารถสังเกตง่าย ๆ ตรงรอบวงขั้วผลจะมีสีขาว เขย่าเบา ๆ แล้วไม่ได้ยินเสียงน้ำ (ยังมีน้ำมะพร้าวอยู่เต็มลูก) โดยเนื้อมะพร้าวในช่วงนี้จะมีตั้งแต่เป็นแผ่นวุ้นใส ๆ ไปจนถึงเนื้อใสปนขุ่น เนื้อนุ่มหอมหวาน เหมาะสำหรับขูดไปใส่ขนมน้ำกะทิต่าง ๆ หรือนำไปใส่ในวุ้นมะพร้าว

2.มะพร้าวทึนทึก ในช่วงนี้กะลามะพร้าวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใครที่เคยทำขนมไทยต้องรู้จักมะพร้าวในวัยนี้อย่างแน่นอน เพราะเนื้อมะพร้าวในช่วงนี้จะหนา หอมมัน สามารถนำไปใช้กับขนมไทยได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งขูดเส้นโรยหน้าขนม เช่น ขนมตาล ขนมกล้วย ถั่วแปป ฯลฯ หรือขูดใส่ในเนื้อขนมอย่างขนมบ้าบิ่น ขนมจาก ฯลฯ รวมไปถึงใช้ในการผัดทำไส้กระฉีก ที่ใช้กับขนมไทยอีกหลากหลายชนิด เช่น ขนมใส่ไส้ ข้าวเหนียวมูนหน้ากระฉีก ฯลฯ

3. มะพร้าวห้าว กะลามะพร้าวกลายเป็นสีน้ำตาลล้วน เนื้อหนาแข็ง เหมาะจะนำไปขูดทำกะทิ สำหรับทำอาหารและขนมเพราะมีความมันสูง หรือจะขูดเนื้อไปคั่วจนกรอบไว้สำหรับกินเคียงกับเมี่ยงคำ หรือยำส้มโอก็ได้

4. มะพร้าวกะทิ ชื่อมะพร้าวกะทิ แต่ไม่ได้เอาไปทำกะทิ มะพร้าวแก่ที่มีเนื้อฟูนุ่มเหมือนกินมะพร้าวเนื้อชุ่มกะทิ มีน้ำเหนียวข้น มีรสชาติหวาน หอมมัน นิยมนำเนื้อไปกินกับขนมหวาน เช่น ทับทิมกรอบ หรือลอดช่อง ต้นมะพร้าว 1 ต้นอาจพบมะพร้าวกะทิเพียง 2 – 3 ลูกเท่านั้น ทำให้ราคามะพร้าวกะทิ จึงสูงกว่าราคามะพร้าวทั่วไป 8 - 10 เท่า

นอกจากเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าวแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของต้นมะพร้าวก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำอาหารได้ด้วย

• ใบ : ใช้ห่ออาหาร เช่น ข้าวต้มมัด ขนมใส่ไส้

• ช่อดอก : ใช้ตัดรองเอาน้ำหวานช่อดอกมะพร้าว สามารถดื่มสด ๆ ได้เลย

• ยอด: ใช้ทำอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด

• กะลา : ใช้ทำภาชนะใส่อาหารต่าง ๆ เช่น ถ้วย จาน แก้ว

• ราก : ใช้เป็นยา รสฝาดอมหวาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

• เปลือกต้น : ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ทาแก้หิด

• กาบ : ใช้ผสมดินปลูกผัก หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร

.

ด้วยคุณสมบัติจัดเต็มตั้งแต่ยอดยันราก และมีชื่อปรากฏอยู่เคียงคู่กับประวัติศาสตร์อาหารไทยมาทุกยุคสมัย มะพร้าวจึงเป็นอีกหนึ่งพืชที่มีอิทธิพลในครัวไทยเป็นอย่างมาก แล้วเพื่อน ๆ ชอบเมนูจากมะพร้าวเมนูไหนกันบ้าง ลองคอมเมนต์บอกกันมาได้เลย!

------------

อ้างอิง

กรกิจ ดิษฐาน. (2016). อะไรคืออาหารไทย?. Post Today. https://www.posttoday.com/lifestyle/449805

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. ศิลาจารึก. http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm

เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์. (2017). ความหลากหลายของพันธุ์มะพร้าว. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_24564

สิทธิโชค ศรีโช. (2019). วิธีเลือกมะพร้าว อ่อน แก่แค่ไหน ใช้อย่างไร. A Cuisine. https://cheewajit.com/healthy-food/diy-tips/160100.html/2

Thai Studies CU. (2018). มะพร้าวในวิถีชีวิตไทย. http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/มะพร้าวในวิถีชีวิตไทย/