Téléchargeur vidéo Lemon8

Le moyen le plus simple de télécharger des vidéos et des galeries à partir de l'application Lemon8

เรื่องเล่า

เรื่องเล่า "ขนมจีน"

Bureau : cliquez avec le bouton droit de la souris et sélectionnez "Enregistrer le lien sous..." pour télécharger.

PHOTOS
เรื่องเล่า JPEG Télécharger
เรื่องเล่า JPEG Télécharger
เรื่องเล่า JPEG Télécharger
เรื่องเล่า JPEG Télécharger
เรื่องเล่า JPEG Télécharger
เรื่องเล่า JPEG Télécharger

เชื่อว่าถ้าคุณเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยต้องรู้จักอาหารที่เรียกว่า #ขนมจีน กันอย่างแน่นอน

ไม่ใช่ทั้ง “ขนม” แล้วก็ไม่ได้มาจาก “ประเทศจีน” นักวิชาการเชื่อว่า “ขนมจีน” มีที่มาจากอาหารของชาวมอญที่เรียกว่า “คนอมจิน” คำว่า “คนอม” ในภาษามอญแปลว่า แป้ง หรือการจับให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน ส่วนคำว่า “จิน” แปลว่า สุก รวมกันจึงได้ความหมายว่า “แป้งที่ทำให้สุก” เป็นอาหารประเภทเส้นทำจากแป้งข้าว บีบเป็นเส้นทำให้สุก ทำน้ำแกงราด อร่อยง่าย จบในจานเดียว กินคู่กับผักสดซักกำก็อยู่ท้องพร้อมลุย เห็นมั้ยขนมจีนทำง่ายชะมัด

เดี๋ยวก่อน ๆ อย่าปล่อยให้ความกินง่ายอร่อยง่ายของขนมจีนมาหลอกคุณว่ามันทำง่าย เพราะถ้าเรามองลึกลงไปถึงขั้นตอนการทำจริง ๆ ขอบอกว่าขนมจีนถือเป็นอาหารที่ทำยากมาก! ถึงขนาดที่ว่าจะทำกินกันแต่ละครั้งต้องเกณฑ์คนมาทำทั้งหมู่บ้าน เพราะมีขั้นตอนเยอะ และต้องใช้แรงงานคนในการทำ แต่เดิมแล้วชาวมอญไม่ค่อยทำขนมจีนกินกันในระดับครัวเรือน แต่จะทำขนมจีนก็ต่อเมื่อมีเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น งานบวช งานบุญ หรือ งานแต่งงาน เพราะต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการทำ โดยมักจะรวมตัวกันทำเส้นขนมจีนก่อนวันงาน เนื่องจากตัวแป้งขนมจีนต้องอาศัยเวลาในการหมักให้ได้ที่ และมีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อนถึง 11 ขั้นตอน!

👩🏻‍🍳 เปิด 11 ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน

1. ซาว : นำข้าวสารมาซาวให้สะอาด

2. แช่ : แช่ข้าวสารไว้สามวัน (หมักข้าวจนเริ่มส่งกลิ่นเปรี้ยว)

3. กรอง : กรองเอาน้ำแช่ข้าวออก

4. ทับ : นำก้อนแป้งข้าวห่อด้วยผ้าขาวบาง วางทับด้วยหิน หรือไม้ที่มีน้ำหนัก จนแป้งแห้งหมาด

5. ขยี้ : นำก้อนแป้งแข็งจากการทับมาขยี้ให้แตกออก

6. นวด : นวดกลับให้เป็นก้อน

7. ต้ม : นำก้อนแป้งที่นวดทั้งก้อนลงไปต้มจนสุกเหนียวเรียกแป้งขั้นนี้ว่า “แป้งเหนียว”

8. ตำ : นำแป้งเหนียวไปตำในครกใบใหญ่ โดยขั้นตอนนี้ชาวบ้านจะใช้ไม่ไผ่ช่วยกันรุมตำจนแป้งเหนียวนุ่ม

9. นวดผสมน้ำ : เมื่อตำแป้งจนได้ที่แล้ว นำมานวดผสมนำอีกครั้งจนเนื้อค่อนข้างเหลว

10. บีบเส้นต้ม : ก่อไฟตั้งน้ำให้เดือด นำแป้งใส่ผ้าขาวบางที่ติดกะลาเจาะรูไว้ แล้วบีบแป้งเป็นเส้นลงไปในน้ำเดือด

11. จับ : เมื่อเส้นขนมจีนสุกจะลอยตัวขึ้น ตักขึ้นแช่น้ำเปล่า แล้วจับให้เป็นจับสวนงามเรียงใส่กระด้ง

นี่แค่ทำเส้นขนมจีนก็กินเวลาไปแล้ว 3 วัน ใช้คนไปครึ่งหมู่บ้านแล้ว ยังไม่ได้ทำแกงเลย แต่ในยุคสมัยนี้ที่เริ่มมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุ่นแรง การทำขนมจีนอาจจะสบายมากขึ้น ส่วนขนมจีนกินกับแกงอะไรได้บ้างนั้น ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและวัฒนธรรมการกินในภาคนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น

(เรามีแจกสูตรขนมจีน กดดูแคปชั่นในรูปได้เลย 👉🏻)

🟠 ภาคกลาง นิยมรับประทานขนมจีนกับน้ำพริก น้ำยากะทิ และแกงเผ็ด น้ำยาเน้นกระชายเป็นส่วนผสมหลัก ส่วนน้ำพริกเป็นแบบชาววัง ใส่ถั่วเขียว และถั่วลิสง เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวานรับประทานกับเครื่องเคียงผักสด ผักลวก หรือผักชุบแป้งทอด

🟢ภาคเหนือ บางพื้นที่เรียกว่า "ขนมเส้น" หรือ "ข้าวเส้น" รับประทานกับน้ำเงี้ยว มีเอกลักษณ์ตรงที่ใส่เกสรดอกงิ้วป่า ส่วนใหญ่จะมีรสอ่อน เค็ม เปรี้ยว และไม่หวานมาก รับประทานคู่กับผักดอง ถั่วงอก ผักสด และแคบหมู

🟡 ภาคอีสาน เรียกขนมจีนว่า "ข้าวปุ้น" นิยมรับประทานกับน้ำยาใส่ปลาร้า ใส่กระชายเหมือนน้ำยาภาคกลาง มีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว รับประทานคู่กับผักพื้นบ้าน เช่น กระถิน ชะอม เป็นต้น

🔵 ภาคใต้ นิยมรับประทานกับแกงไตปลา หรือน้ำยาที่เน้นขมิ้น รสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว ทานคู่กับผักต้มกะทิ ผักดอง ลูกเหลียง หรือสะตอ บางพื้นที่เช่น เพชรบุรี กินกับทอดมันปลากราย ราดด้วยน้ำจิ้ม

ซึ่งถ้ามองดูจากวิธีการทำ และอาหารที่กินคู่กันแล้ว “ขนมจีน” ไม่ใช่เมนู “แป้งราดซอสง่าย ๆ” แน่นอน ต้องเรียกว่า “แป้งราดซอสงานใหญ่ระดับตำบล” เพราะเจ้าเส้นแป้งที่ว่านี้ ต้องอาศัยคนร่วมแรงร่วมใจกันทำ อีกทั้งจะกินกับแกงเปล่า ๆ ก็ไม่แซ่บ ต้องมีเครื่องเคียงอีกมากมายตามแต่ละท้องที่ ทั้ง ผักสด ผักลวก ผักทอด ผักต้มกะทิ ผักดอง บางบ้านใส่ไข่ต้ม ทอดมัน หรืออีกสารพัดอย่างแล้วแต่วัฒนธรรมในแต่ละท้องที่ บ้านไหนมีอะไรก็เอามาแบ่งปันกัน ถือว่าเป็นอาหารที่เกิดจากสายสัมพันธ์ในชุมชนโดยแท้

(เรามีแจกสูตรขนมจีน กดดูแคปชั่นในรูปได้เลย 👉🏻)

#ขนมจีน #อาหารไทย #แจกสูตรฟรี #เรื่องเล่ารอบครัว #wongnaicooking