Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

ประกันสังคมมาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง✨

ประกันสังคมมาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง✨

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
ประกันสังคมมาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง✨ JPEG Download
ประกันสังคมมาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง✨ JPEG Download
ประกันสังคมมาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง✨ JPEG Download
ประกันสังคมมาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง✨ JPEG Download

ผู้ประกันตนทุกมาตราควรรู้ ! สิทธิประกันสังคมอะไรบ้างที่คุณมีและได้ประโยชน์จากประกัน ทางเซลเฮียร์ได้ทำการรวบรวมสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองทั้ง 3 มาตราให้ทุกคนได้ทบทวนกัน ครบจบที่โพสต์นี้เลย 🤩

.

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ บุคคลที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

.

โดยจะต้องส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน

.

สำหรับความคุ้มครองที่ผู้ประกันตน มาตรา 33 ได้รับ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

.

1.กรณีเจ็บป่วย

เงื่อนไข : ต้องจ่ายสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธฺหรือเครือข่ายของทางโรงพยาบาลได้ฟรี โดยไม่ต้องสำรองจ่ายทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน

.

2.กรณีอุบัติเหตุ

📍สำหรับเข้ารักษาโรงพยาบาลรัฐ

1. ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาลได้ตามที่จ่ายจริง

2. ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)

.

📍สำหรับเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชน

1. ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง ไม่เกิน 1,000 บาท

2. ผู้ป่วยใน กรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 2,000 บาท ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท และสำหรับกรณีรักษาห้อง ICU สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหาร ได้รวมไม่เกินวันละ 4500 บาท

.

3. ทันตกรรม

สามารถใช้สิทธิทางทันตกรรม ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในการเข้ารับบริการ ภายในวงเงิน 900 บาท/ปี

.

4. คลอดบุตร

เงื่อนไข : ต้องจ่ายสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร

- ผู้ประกันตนหญิง ได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท พร้อมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ขอค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน

(สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง)

- ผู้ประกันตนชาย ที่มีภรรยาโดยจดทะเบียนโดยชอบทางกฎหมาย รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท

- สามารถเบิกค่าตรวจและฝากครรภ์ ได้สูงสุด 1,500 บาท

.

(ในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิในการคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร)

.

5.กรณีทุพพลภาพเงื่อนไข : ต้องจ่ายสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ

- ทุพพลภาพระดับไม่เสียหายรุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 30% หรือในส่วนที่ลดลงไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวัน

- ทุพพลภาพระดับเสียหายรุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายวัน

.

6.กรณีเสียชีวิต

เงื่อนไข : ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท

- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปรับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท

.

7.กรณีชราภาพ

📍เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่ทยอยจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต

- จ่ายสมทบครบ 180 เดือน รับเงินบำเหน็จชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5 % จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือน

📍เงินบำเหน็จชราภาพ คือ เงินที่จ่ายเป็นก้อนเดียว

- จ่ายสมทบต่ำกว่า 12 เดือน รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะในส่วนของผู้ประกันตน

- จ่ายสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลตอบแทน

- กรณีเสียชีวิต ภายใน 60 เดือน รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

.

8.กรณีสงเคราะห์บุตร

รับเงินค่าสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ (ครั้งละไม่เกิน 3 คน)

.

9.กรณีว่างงาน

เงื่อนไข : ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน

- กรณีถูกเลิกจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน

- กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

- กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

.

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่ออกจากงานประจำ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันมาตรา 33 แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมของตนเองไว้

.

โดยเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจะต้องนำส่ง เป็นจำนวน 432 บาทต่อเดือน

.

📍โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนต่อเนื่องกัน จึงจะสามารถรักษาสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมไว้ได้อย่างเดิม เหมือนตอนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

.

แต่หากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันมาตรา 39 ในทันที

.

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ

.

โดยการจ่ายเงินสมทบของประกันสังคมมาตรา 40 มีด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้

1. จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

-อุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)

-ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)

-เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)

.

2.จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

-อุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 90 วัน/ปี)

-ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ตลอดชีวิต)

-เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

-ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

-สงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท/คน/เดือน (ครั้งละไม่เกิน 2 คน)

.

3.จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

-อุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)

-ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)

-เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)

-ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

.

#Salehere #เซลเฮียร์ #ประกันสังคม #มาตรา33 #มาตรา39 #มาตรา40