Téléchargeur vidéo Lemon8

Le moyen le plus simple de télécharger des vidéos et des galeries à partir de l'application Lemon8

มาเช็คลิสกันว่าคุณเสี่ยงโรค office syndrome อยู่หรือไม่?

มาเช็คลิสกันว่าคุณเสี่ยงโรค office syndrome อยู่หรือไม่?

Bureau : cliquez avec le bouton droit de la souris et sélectionnez "Enregistrer le lien sous..." pour télécharger.

PHOTOS
มาเช็คลิสกันว่าคุณเสี่ยงโรค office syndrome อยู่หรือไม่? JPEG Télécharger
มาเช็คลิสกันว่าคุณเสี่ยงโรค office syndrome อยู่หรือไม่? JPEG Télécharger
มาเช็คลิสกันว่าคุณเสี่ยงโรค office syndrome อยู่หรือไม่? JPEG Télécharger

เราเป็นคนนึงที่ถ้าได้นั่งทำงานจะนั่งทำงานยาว ไม่ลุกไปไหนจนกว่างานจะเสร็จซึ่งเป็นเวลาค่อนข้างนาน 1 - 2 ชั่วโมง

เราทำแบบนี้เป็นประจำจนเริ่มสังเกตเห็นว่าไหล่ค่อนข้างตึงมาก ถ้ากดลงไปก็จะปวด ทายาคลายกล้ามเนื้อก็ไม่ดีขึ้น

เราจึงไปปรีกษาแพทย์แผนไทยว่าควรจะรักษาแบบไหน คุณหมอให้คำแนะนำดีมาก คุณหมอบอกว่าเรามีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรมสูงมาก ถ้ายังไม่มีการปรับพฤติกรรมในการนั่งทำงาน

เราจึงอยากมาแชร์ว่าออฟฟิศซินโดรมเป็นแล้วทรมานมาก และถ้าเป็นโอกาหายยากมาก

ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องกันนาน ๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่ง หรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ ก้มคอมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบนัยน์ตา ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้วย

อาการของออฟฟิศซินโดรม

มีอาการปวดกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะอาการปวดล้า ๆ เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น บ่า ไหล่ คอ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย หรือมีอาการชาลงมาที่แขน โดยความรุนแรงจะสามารถเป็นได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดรุนแรงและทรมาน

มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชาบริเวณมือและแขน หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปจะมีอาการอ่อนแรงที่อวัยวะนั้นร่วมด้วย

มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น วูบ เย็น เหน็บ ขนลุก

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

ออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรือปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย เป็นต้น

พักการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง

เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ยึดหลัก “10-20-60”

- พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที

- ลุกออกไปเดินเล่นหรือเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบทุก ๆ 20 นาที

- เมื่อครบ 60 นาที ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขนมือ เอวหลัง และขา

#ดูแลสุขภาพตามช่วงวัย #ประสบการณ์เจ็บป่วย #แชร์ความรู้สุขภาพ