Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น JPEG Download
หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น JPEG Download
หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น JPEG Download
หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น JPEG Download
หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น JPEG Download
หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น JPEG Download

บางสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความสามารถ ...มาพบกับทักษะคุยเล่นของคนชั้นแนวหน้าในทุกวงการ ใน หนังสือพัฒนาตัวเอง how to อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร ประกอบอาชีพไหน เมื่อถึงจุดหนึ่งจะมี "บางสิ่ง" ที่สำคัญแซงหน้าความรู้ความสามารถ หากขาดมันไป ต่อให้คุณพยายามทุ่มเทมากเพียงใด คุณก็จะประสบความสำเร็จแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไปได้ไม่ไกลอย่างที่คาดหวังไว้ สิ่งนั้นคือ "ทักษะคุยเล่น"

‼️ เรามาเรียนรู้ทริกเล็กๆ น้อยๆ จากหนังสือเล่มนี้กัน😉

1) เล่าเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยของตัวเอง เมื่อเริ่มต้นบทสนทนา

เพื่อเป็นการทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายกับทั้งสองฝ่าย การพูดติดตลกด้วยการเล่าเรื่องขำของตัวเองจึงช่วยลดความเกร็งในการพูดคุยของสองฝ่าย (การละลายพฤติกรรม)

แต่การนำเรื่องข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองมาใช้ก็มีข้อควรระวังคือ ห้ามให้เรื่องนั้นทำให้เราดูเป็นคนไม่เอาไหน และห้ามให้เรื่องนั้นทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเรากำลังโอ้อวดตัวเอง เรื่องข้อผิดพลาดดังกล่าวจึงเหมือนมีเส้นบางๆ ที่จะทำให้เราทลายกำแพงความเคอะเขินกับคู่สนทนาหรืออาจทำให้เกิดความไม่ชอบหน้ากันตั้งแต่แรกเลยก็ได้

ส่วนตัวอย่างที่หนังสือให้ไว้ เช่น การพูดทำนองว่า เมื่อวานดื่มหนักไปหน่อย วันนี้เลยแอบเมาค้างอยู่ ซึ่งทำให้คู่สนทนารู้สึกเป็นกันเอง และแอบขำเบาๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นการบอกว่าเราเป็นคนไม่เอาไหน หรือจะเล่นกับรูปร่างตัวเองเช่นบอกว่า เห็นผอมๆ แบบนี้ แต่ตัวเรากินเก่งนะ เป็นต้น

.

2) พูดด้วยเสียงระดับ ‘ฟา’ กับ ‘ซอล’

การพูดให้เสียงสูงขึ้นจะช่วยทำให้การสนทนาสนุกขึ้น ทำให้ลดอาการหม่นหมอง เพราะเสียงที่ต่ำทุ้มมักจะทำให้การพูดคุยดูเนือยๆ และน่าเบื่อ

แต่เสียงที่สูงเกินไปก็อาจสร้างความรำคาญกับคู่สนทนา หรือทำให้การพูดดูไม่จริงใจ ผู้เขียนจึงแนะนำว่าระดับเสียงที่พอเหมาะคือระดับเสียงที่ตัว ฟา และ ซอล ซึ่งถ้าเราไล่ระดับเสียงตามโน้ตดนตรี ‘โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด’ นั้น ระดับเสียง ฟา และ ซอลจะอยู่ตรงกลางๆ โดยผู้เขียนบอกไว้ว่าระดับเสียงโดยทั่วไปที่คนมักสนทนากันคือ โด เร มี

3) กฎเหล็กของการคุยเล่น คือ ต้องไม่เถียงกันอย่างเด็ดขาด

เพราะเราต้องการสร้างความรู้สึกดีๆ ให้เกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย จะได้บรรลุเป้าหมายของการคุยเล่น เพราะฉะนั้นการคุยเล่นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเป็นเรื่องต้องห้าม และแน่นอนว่า หัวข้อที่มักจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย เช่น การเมือง ศาสนา

ส่วนเรื่องประเภท ความรัก หรือเรื่องใต้สะดือนั้น ผู้เขียนแนะนำว่าต้องดูเป็นกรณีๆ ไปครับ เพราะว่าเรื่องประเภทนี้อาจใช้ได้กับคนกลุ่มหนึ่ง แต่ก็อาจใช้ไม่ได้กับคนอีกประเภทก็เป็นได้

การเตรียมหัวเรื่องที่จะนำมาใช้สนทนาจึงควรมีทั้งความกว้างและความลึก โดยผู้เขียนแนะนำว่าเราควรเตรียมเรื่องที่ไว้ชวนคุยอย่างน้อย 5-6 เรื่อง

4) พูดทวน หรือพูดสรุปเรื่องที่อีกฝ่ายพูดมา

นอกจากเป็นการแสดงว่าเราสนใจในสิ่งที่อีกฝั่งพูดแล้วนั้น การพูดทวนและพูดสรุปยังทำให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเราเข้าใจความหมายที่เขาต้องการจะสื่อ

ผมเพิ่มเติมด้วยว่าการพูดทวนยังเป็นการทบทวนข้อความที่อีกฝ่ายส่งออกมา ทำให้เราเข้าใจแน่ชัดว่าเราไม่ตกหล่นในเนื้อความ หรือมีความผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นระหว่างการสื่อสาร

5) พูดถึงเรื่องที่อีกฝ่าย เคยบอกเมื่อครั้งก่อน

ข้อนี้มักใช้กับการเจอกันเป็นครั้งที่สอง หรือครั้งถัดๆ ไป หลังจากที่เราได้เริ่มความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายไปแล้ว เราก็ควรจะรักษาระดับความสัมพันธ์นั้นไว้ด้วย ซึ่งถ้าเราไม่ทำอะไรเลย การไม่เจอกันเป็นระยะเวลาหนึ่งก็คงทำให้ความสัมพันธ์ขาดช่วงลงไป

ผู้เขียนจึงแนะนำว่า พอมาเจอกับคู่สนทนาอีกครั้งหนึ่ง ให้นำหัวเรื่องที่เคยคุยกันเมื่อครั้งที่แล้วมาพูดคุยกันต่อ เช่น เรื่องที่อีกฝ่ายแนะนำไปเมื่อครั้งก่อน ถ้าอีกฝ่ายแนะนำให้ไปดูหนังเรื่องนั้น ก็ให้นำเรื่องนั้นเข้ามาเปิดประเด็นการสนทนาเมื่อเจอกันอีกครั้ง

วิธีนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเราสนใจสิ่งที่อีกฝ่ายพูดด้วย และยังทำให้ทั้งคู่มีหัวเรื่องให้คุย สานต่อบทสนทนากันไปได้อีกสักพัก

6) พูดเข้าประเด็นสำคัญ หลังจากคุยเล่นจนเกิดบรรยากาศดีๆ

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าการจะเข้าสู่หัวเรื่องสำคัญมักจะมาหลังจากที่เราชวนคุยเล่นจนรู้สึกผ่อนคลายก่อน ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านจากเรื่องสบายๆ ไปยังประเด็นสำคัญจึงควรทำอย่างลื่นไหลและไม่ทำลายความต่อเนื่องของบทสนทนา

เพราะถ้าเราอุดส่าสร้างบรรยากาศการสนทนาที่ดีมาตั้งนาน เราคงไม่อยากให้มันพังลงแบบง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่องจริงจังแบบกระทันหัน

.

การพยายามเชื่อมหัวข้อที่คุยเล่นกันอยู่กับประเด็นที่เราตั้งใจมาคุยกับอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่อสำคัญมาก และเราต้องพยายามหาจุดเชื่อมโยงและเปลี่ยนผ่านบทสนทนาให้เรียบและเป็นธรรมชาติที่สุด

ขอบคุณบทความ: หลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

#หนังสือพัฒนาตัวเอง #หนังสือน่าอ่าน #อ่านหนังสือ #รีวิวหนังสือ #อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น #คิดบวก #หนังสือดีบอกต่อ #ชีวิตคือการลงทุน #ฝนตกอีกแล้ว