Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“

ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download
ปวดแบบไหน ถึงเรียกว่า ”office syndrome“ JPEG Download

✅คุณมีอาการ office syndrome รึเปล่า มาดูไปด้วยกันนะคะ

🛑ปวดกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นคอ บ่า ไหล่ สะบั เมื่อนั่งทำงานท่าหนึ่งซ้ำๆ นานๆ

🛑ปวดหลังเรื้อรังจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานผิดท่า นั่งหลังค่อม ทำใกล้ามเนื้อต้นคอเมื่อย เกร็ง ตลอดเวลา รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆด้วย

🛑ปวดตึงที่ขาหรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่นานๆทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด

🛑มือชา นิ้วล๊อค ปวดข้อมือ เพราะการจับเมาส์ท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทละเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืด ทำให้ปวดปลายประสาท หรือนิ้วล๊อค

🛑ในบางครั้งอาจมีอาการปวดตาหรือตาพร่าร่วมด้วย เนื่องจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์นานๆ หรอใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน

🛑อาการปวดตามกล้ามเนื้อจะเกิดในระหว่างทำงานไปได้ 2-3 ชั่วโมง ในบางครั้งอาจเริ่มมาปวดในช่วงเย็น

🛑อาการปวดจะเป็นแบบเรื้อรัง พอรักษาหรือยืดกล้ามเนื้อแล้วอาการดีขึ้น แต่สักพักก็จะกลับมาเป็นอีก

🛑ในบางครั้งอาการปวดอาจร้าวไปยังส่วนอื่นได้ เช่น จากต้นคอร้าวขึ้นศีรษะ / จากเอวร้าวลงขา / จากไหล่ร้าวลงแขน

⚠️ยิ่งทำแบบนี้ ยิ่งเสี่ยงเป็น office syndrome

✳️การทำกิจกรรมลักษณะเดิมๆต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน เช่น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน / พนักงานขายที่ต้องยืนขายตลอดทั้งวัน(โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องใส่ส้นสูงตลอดทั้งวัน) / พนักงานขับรถที่ต้องขับรถเป็นระยะเวลานาน

✳️การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท หรือโต๊ะ เก้าอี้ไม่เหมาะสมกับสรีระ

✳️ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายสม่ำเสมอ

✳️การทำงานที่ต้องใช้แรงหรือกล้ามเนื้อเป็นประจำ เช่น งานแบกหาม ลาก ยก

☯️แพทย์แผนจีนมอง office syndrome อย่างไร...

▶️ในทางการแพทย์แผนจีนมองว่า office syndrome ว่าเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเรื้อรังประเภทหนึ่ง ที่มีสาเหตุมาจาก 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

🟨กลุ่มสาเหตุจากภายนอก

1. การได้รับลม ความเย็น ความชื้นเข้าสู่ร่างกาย

➡️การอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือในพื้นที่ที่มีความเย็นและความชื้นเป็นระยะเวลานาน หรือชอบนอนตากลม พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ลม ความเย็น ความชื้นเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และเข้าไปอุดตามเส้นลมปราณหรือตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก

2. การได้รับความชื้นร่วมกับความร้อนเข้าสู่ร่างกาย

➡️การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้มร้อนชื้นเป็นระยะเวลานาน ทำให้ร่างกายได้รับเสมหะร้อนชื้นเข้าไปอุดกั้นตามเส้นลมปราณหรือตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก

🟩กลุ่มสาเหตุจากภายใน

1. การตรากตรำทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ

➡️การทำงานหนัก การใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป หรือการทำงานจนขาดการพักผ่อนไม่เพียงพอ จะกระทบกับการไหลเวียนเลือดและลมปราณ ทำให้การไหลเวียนของเลือดและลมปราณติดขัด ไหลเวียนไม่สะดวก นอกจากนี้ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ยังส่งผลกระทบกับระบบภูมิคุ้มกันทำให้ความเย็นหรือความชื้นรุกรานร่างกายได้ง่ายขึ้น

2. พื้นฐานร่างกายอ่อนแอ หรือร่างกายอ่อนแอจากการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

➡️การที่พื้นฐานร่างกายอ่อนแอจะทำให้ร่างกายมีภาวะเลือดและลมปราณไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อและข้อต่อขาดการบำรุง และยังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันด้วย

▶️จากสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถจำแนกการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีอาการที่แตกต่างกันและมีการรักษาที่แตกต่างกันด้วย

1. อาการปวดจากลม ความเย็น และความชื้นกระทบร่างกาย

1.1 อาการปวดจากลมเป็นหลัก

📍ลักษณะอาการปวด➡️ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ งอหรือเหยียดข้อต่อลำบาก จุดที่ปวดสามารถย้ายหรือเปลี่ยนไปจุดอื่นได้ และอาการปวดอาจเกิดได้พร้อมกันหลายส่วน

📍อาการร่วมอื่น➡️มีไข้ กลัวลม ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรช้า

📍แนวทางการปรับสมดุล➡️ขับระบายลม ทะลวงเส้นลมปราณ ร่วมกับขับความเย็นระบายความชื้น

📍สมุนไพรปรับสมดุล➡️กิ่งอบเชยจีน ตังกุย ขิงสด พุทราจีน

1.2 อาการปวดจากความเย็นเป็นหลัก

📍ลักษณะอาการปวด➡️ปวดตามข้อต่อกล้ามเนื้อ อาการปวดชัดเจน บริเวณที่ปวดจะอยู่ที่เดิมไม่ย้ายไปจุดอื่น อาการปวดจะชัดเจนและรุนแรงขึ้นเมื่อโดนความเย็๋น และอาการจะเบาลงเมื่อได้ประคบร้อน ผิวหนังบริเวณที่ปวดจะเย็นๆซีดๆเมื่อสัมพัส

📍อาการร่วมอื่น➡️กลัวหนาว ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรตึงและช้า

📍แนวทางการปรับสมดุล➡️ขับความเย็น ทะลวงเส้นลมปราณร่วมกับขับความชื้น

📍สมุนไพรปรับสมดุล➡️ชะเอมเทศ น้ำผึ้ง กิ่งอบเชยจีน ขิงแห้ง ตังกุย

1.3 อาการปวดจากความชื้นเป็นหลัก

📍ลักษณะอาการปวด➡️ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีความรู้สึกหนักเนื้อหนักตัว มีอาการบวมตามบริเวณที่ปวด ขยับหรือเคลื่อนไหวลำบาก บางครั้งอาจมีอาการชาร่วมด้วย

📍อาการร่วมอื่น➡️ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรกลมลื่นช้า

📍แนวทางการปรับสมดุล➡️ขับความชื้น ทะลวงเส้นลมปราณ ขับระบายลมและความเย็น

📍สมุนไพรปรับสมดุล➡️ลูกเดือย ชะเอมเทศ กิ่งอบเชยจีน ตังกุย

2. อาการปวดจากความชื้นและความร้อน

📍ลักษณะอาการปวด➡️อาการปวดตามกล้ามเนื้ออาจขยับหรือเปลี่ยนตำแหน่งได้ และอาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายส่วน ขยับตัวหรือเคลื่อนไหวลำบาก ผิวหนังบริเวณที่ปวดมักมีอาการบวมแดง ยิ่งแตะยิ่งปวด อาการปวดจะลดลงเมื่อได้ประคบเย็น

📍อาการร่วมอื่น➡️มีไข้ เหงื่อออก กระหายน้ำปากแห้ง กระวนกระวายอยู่ไม่สุข ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลืองเหนียว ชีพจรลื่นเร็ว หรือชีพจรลอยเร็ว

📍แนวทางการปรับสมดุล➡️ขับร้อน ทะลวงเส้นลมปราณร่วมกับขับความชื้น

📍สมุนไพรปรับสมดุล➡️สือเกา จือหมู่ กิ่งอบเชยจีน ลูกเดือย

3. อาการปวดจากเสมหะอุดกั้น

📍ลักษณะอาการปวด➡️อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นมานาน ปวดมากเหมือนโดนเข็มแทง ตำแหน่งที่ปวดชัดเจนไม่เคลื่อนที่ไปไหน ผิวหนังบริเวณที่ปวดมีสีม่วงคล้ำและอาจมีจ้ำเลือดในบริเวณที่ปวด บวมปวด ยิ่งกดยิ่งปวดมากขึ้น อาจมีอาการชาและตัวหนักร่วมด้วย

📍อาการร่วมอื่น➡️ใบหน้าหมองคล้ำ ใต้ตาบวม แน่นหน้าอก มีเสมหะเยอะ ลิ้นม่วงเข้ม มีจุดเลือดคั่งบนลิ้น ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรตึงฝืด

📍แนวทางการปรับสมดุล➡️ขับระบายเสมหะ ทะลวงเส้นลมปราณ ระงับปวด

📍สมุนไพรปรับสมดุล➡️เมล็ดลูกท้อ ดอกคำฝอย ตังกุย เปลือกส้ม น้ำผึ้ง

4. อาการปวดจากภาวะตับไตพร่อง

📍ลักษณะอาการปวด➡️อาการปวดเป็นมานาน หรือเป็นๆหายๆในระยะเวลานาน กล้ามเนื้อลีบเล็ก ขยับข้อลำบาก ปวดเมื่อยเอว

📍อาการร่วมอื่น➡️กลัวหนาวมือเท้าเย็น มีอาการร้อนวูบวาบถึงกระดูก ปากแห้งใจสั่น ลิ้นแดงซีด ฝ้าลิ้นน้อยหรือฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรลึกเล็กเบาแต่เร็ว

📍แนวทางการปรับสมดุล➡️บำรุงตับไต เสริมกล้ามเนื้อ ระงับปวด

📍สมุนไพรปรับสมดุล➡️โสม ชะเอมเทศ ตังกุย กิ่งอบเชยจีน

🟠office syndrome เป็นอาการปวดที่มาจากการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นระยะเวลานานโดยไม่พัก ดังนั้น การขยับเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ หรือการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น office syndrome ได้ด้วย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆตามนี้

1. ประสานมือสองข้าง ยื่นไปข้างหน้าจนสุดแล้วค้างไว้ 10 วินาที

2. ประสานมือสองข้างเหยียดขึ้นเหนือหัวจนสุดแล้วเอียงไปทางซ้าย ค้างไว้ 15 วินาทีแล้วสลับข้าง

3. ใช้มือดันหลังส่วนล่างแล้วยืดอก แอ่นตัวไปด้านหลัง ค้างไว้ 20 วินาที

4. ใช้มือไขว้หลัง จับข้อมือแล้วก้มหน้าลง จากนั้นเอียงคอไปด้านขวาพร้อมกับดึงมือซ้ายไปด้านขวาค้างไว้ 10 วินาทีแล้วสลับข้างทำ

5. ใช้มือซ้ายอ้อมไปจับศีรษะด้านขวา แล้วดึงมาทางซ้ายจนตึง ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้างทำ

6. ยกขาซ้ายมาทับขาขวา จากนั้นให้บิดตัวไปทางซ้าย ค้างไว้ 10 วินาทีแล้วสลับข้างทำ

การยืดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ระหว่างวัน อาจทำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง และทำครั้งละ 2 set

#แพทย์แผนจีน #แพทย์ทางเลือก #แพทย์แผนจีนเชียงใหม่ #แพทย์ทางเลือกเชียงใหม่ #สุขภาพ #ดูแลสุขภาพอย่างปลอดภัย #ดูแลสุขภาพที่ปลอดภัย #ออฟฟิศซินโดรม #ปวดหลัง #ปวดเอว #ปวดไหล่