Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

ยาน้ำเด็ก หลังเปิดใช้ เก็บอย่างไรให้ปลอดภัย

ยาน้ำเด็ก หลังเปิดใช้ เก็บอย่างไรให้ปลอดภัย

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
ยาน้ำเด็ก หลังเปิดใช้ เก็บอย่างไรให้ปลอดภัย JPEG Download
ยาน้ำเด็ก หลังเปิดใช้ เก็บอย่างไรให้ปลอดภัย JPEG Download
ยาน้ำเด็ก หลังเปิดใช้ เก็บอย่างไรให้ปลอดภัย JPEG Download

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับยาหมดอายุ โดยเฉพาะยาน้ำเด็ก เพราะเป็นรูปแบบยาที่อายุสั้น หลังการเปิดใช้ค่ะ

เพราะฉะนั้น พ่อๆแม่ ต้องเข้าใจผลเสียของการรับประทานยาเสื่อมสภาพ หรือยาหมดอายุกันก่อน

ปัญหายาเสื่อมสภาพ อาจทำให้เกิดผล ดังต่อไปนี้

- ยาเสื่อมสภาพแล้วตัว “ยาเสื่อมสลาย” หากนำมารับประทานแล้ว อาจไม่ได้ผลการรักษา

- ยาเสื่อมสภาพแล้วเปลี่ยนเป็นสารอื่น ซึ่งอาจเป็นพิษกับร่างกาย หากนำมารับประทาน

ดังนั้น วันนี้แม่หยก มี ข้อควรระวัง ในการเก็บยาน้ำของลูกๆ มาฝากกันค่ะ ได้แก่

1. เก็บยาให้พ้นมือเด็ก

2. อ่านฉลากยาให้ครบ และดูคำแนะนำการเก็บรักษายา

❇️ ถ้าเป็นยาที่ไม่ระบุการเก็บรักษายาว่าต้องเก็บในตู้เย็น แนะนำให้เก็บในที่พ้นแสงแดด และบริเวณนั้นต้องไม่ร้อน และปิดขวดให้สนิท ป้องกันอากาศเข้าไปในขวดยา

❇️ ถ้าเป็นยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น บริเวณที่ควรเก็บคือ ตู้เย็นช่องปกติ (ย้ำนะคะว่าช่องปกติ) บริเวณที่ไม่ควรเก็บยา ได้แก่

❌ช่องแช่แข็ง และชั้นใต้ช่องแช่แข็ง เพราะความเย็นจะทำให้ยาตกตะกอน

❌ประตูตู้เย็น เพราะมีการเปิดปิดบ่อย อุณหภูมิ ไม่คงที่ ยาเสื่อมได้ง่าย

❌ ช่องแช่ผัก เพราะ อุณหภูมิ ไม่เย็นพอ ที่จะรักษาคุณภาพของยา

3. ไม่เปลี่ยนภาชนะบรรจุยา เพราะยาบางชนิด ถูกบรรจุมาในขวดสีชา เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกแสง หากเปลี่ยนเป็นภาชนะใส หรือ ขาว อาจทำให้ยาเสื่อมได้

4. ยาที่ต้องระวังเรื่องความชื้น ควรใส่ซองกันชื้นไว้ตลอด และปิดภาชนะบรรจุให้แน่น

5. บนขวดยา ควรมีฉลาก ระบุชื่อยา วันที่ได้รับยา หรือวันที่เปิดใช้ยานั้น จะทำให้เราสามารถคำนวณวันหมดอายุของยา หลังเปิดใช้ได้ค่ะ

เรามาดูตัวอย่างการคำนวนกันจ้าาาาา

❇️ ถ้าเป็นยาน้ำทั่วไปที่รับประทานเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก ยาขยายหลอดลม ฯลฯ ที่ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อที่เป็นผงผสมน้ำ มีวิธิคิดง่ายๆ ดังนี้

❗️ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน หลังเปิดใช้ หรือ

❗️ไม่เกิน 25% ของเวลา นับจากวันที่เปิดใช้ยา ถึง วันที่ยาหมดอายุ ที่ระบุบนฉลากยา เช่น

วันที่เปิดใช้คือ 30 สิงหาคม 2567 แต่วันหมดอายุระบุไว้บนขวดคือ

30 สิงหาคม 2568 คิดเป็นเวลา 12 เดือน (จากวันที่เปิดใช้ ถึงวันหมดอายุบนฉลาก)

ให้เอา 25% คูณ 12 เดือน = 25%x12 = 3 เดือน

ดังนั้น หากครบ 3 เดือน หลังเปิดใช้ ควรทิ้งยานั้นไปเลยค่ะ

6. หากเป็นยาฆ่าเชื้อชนิดผงแห้ง (Dry syrup) ยาพวกนี้ มีอายุสั้นหลังผสม หากเก็บไว้นอกตู้เย็น มีอายุ 7 วัน เก็บในตู้เย็น มีอายุ 14 วันค่ะ และควรรับประทานติดต่อกันจนยาหมด

7. ไม่ควรเก็บยาไว้บนรถ เพราะอุณหภูมิในรถจะร้อนมาก ทำให้ยาเสื่อมได้ง่าย

8. ก่อนใช้ยา ควรสังเกตลักษณะของยา ก่อนนำมาให้ลูกรับประทาน เช่น เขย่าแล้วเป็นก้อนแข็ง หรือไม่กระจายตัว รวมถึง มีสี กลิ่น ตะกอน ความขุ่น มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมั้ย ถ้ามี ควรทิ้งยาเหล่านั้นไปค่ะ

ดังนั้นการสำรวจยาน้ำของลูกๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงของยาเสื่อมสภาพได้ค่ะ

ยังมีรูปแบบยาอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงนะคะ. เช่น ยาครีม ยาขี้ผึ้ง ยาตา มีเวลาเดี๋ยวแม่มาแชร์อีกค่ะ ติดตามกันด้วยน้าาาา

#ยาน้ำเด็ก #ยาหมดอายุ #ยาเสื่อมสภาพ #อายุของยาหลังเปิดใช้ #ยาเด็ก #ความรู้เรื่องยา #ความรู้เรื่องสุขภาพ #เภสัชแม่หยก