Lemon8 Загрузчик видео

Самый простой способ скачать видео и галерею из приложения Lemon8

IF กินตอนไหน ดีต่อสุขภาพจริงไหม ?

IF กินตอนไหน ดีต่อสุขภาพจริงไหม ?

Компьютер: щелкните правой кнопкой мыши и выберите "Сохранить ссылку как..." для загрузки.

PHOTOS
IF กินตอนไหน ดีต่อสุขภาพจริงไหม ? JPEG Скачать
IF กินตอนไหน ดีต่อสุขภาพจริงไหม ? JPEG Скачать
IF กินตอนไหน ดีต่อสุขภาพจริงไหม ? JPEG Скачать

IF กินตอนไหน ?

อย่างที่บอกไปว่าการทำ IF มีหลายสูตร แต่สูตรที่ได้รับความนิยมและเหมาะกับมือใหม่ ทำได้จริงนั้น คือ Intermittent Fasting แบบ Lean gains หรือสูตรลดน้ำหนักแบบกินอาหาร 8 ชั่วโมง อดอาหาร 16 ชั่วโมงต่อเนื่อง ซึ่งมีวิธีทำอย่างไร ตามไปดูกันเลย

สามารถเลือกได้ว่าจะเริ่มที่เวลากี่โมง แต่ขึ้นอยู่กับเหมาะสมด้วย เช่น เริ่มกินอาหารมื้อแรกเวลา 09.00 น. กินเรื่อย ๆ ไปจนถึง เวลา 17.00 น. หรือเริ่มกินอาหารมื้อแรกตอน 11.00 น. และจบมื้อสุดท้ายของวันที่เวลา 19.00 น. ซึ่งรวมเวลากินเป็น 8 ชั่วโมงหลังจากนั้นต้องงดอาหารทุกชนิด ดื่มได้แค่เพียงน้ำเปล่าเท่านั้น

• อาหารที่เลือกใน 8 ชั่วโมง ควรอุดมไปด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ ไม่จำเป็นต้องกินคลีนก็ได้ แต่ให้เลือกอาหารที่มีประโยชน์และมีปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควบคุมปริมาณแคลอรี่ต่อวัน 

ไม่ควรนอนดึกเกินไป โดยเวลาที่เหมาะสมคือ 22.00 น. 

• ออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะเวทเทรนนิ่ง เพื่อเน้นสร้างมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรง การมีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้นจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น

การทำ IF ส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่ ? 

การทำ IF นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และอาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน เพราะฉะนั้นหากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย ส่วนเรื่องส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่ อาจขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของเราด้วย ถ้าถามว่าส่งผลเรื่องอะไรบ้าง จะขอยกตัวอย่างผลกระทบที่สามารถพบเห็นได้ง่าย ดังนี้

• นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท 

เนื่องจากว่าคนส่วนใหญ่มักเลือกอดอาหารในเวลากลางคืน ทำให้เกิดความหิว เมื่อหิวมาก ๆ ก็จะมีปัญหาในการนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ 

• ความอยากอาหารที่มากขึ้น

ในช่วงอดอาหารอาจรู้สึกหิวหรือเกิดความอยากอาหารแต่ยังไม่สามารถกินได้ พอถึงช่วงเวลากินจึงวางแผนกินเต็มที่ อยากกินไปซะทุกอย่าง หรือบางคนเลือกที่จะกินเผื่อ กินให้มากไว้ก่อน เพราะจะได้ไม่รู้สึกหิวในช่วงอดอาหาร พฤติกรรมแบบนี้เสี่ยงที่จะทำให้กินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการได้

• เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ระบบการเผาผลาญพัง

บางคนลดน้ำหนักวิธีอื่นไปพร้อมกันการทำ IF เช่น ลดคาร์โบไฮเดรต ลดไขมันในปริมาณที่มากเกินไป หากทำติดต่อเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และส่งให้ระบบการเผาผลาญผิดเพี้ยน เพราะเมื่อได้รับสารอาหารน้อยไปร่างกายก็ไม่สามารถดึงไปใช้เต็มที่ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนโหมดโดยการารลดการเผาผลาญ ใช้พลังงานน้อยลง สะสมไขมันมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นว่าควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น #การทำif #กินif #ติดเทรนด์ #ifแบบไม่เครียด