Lemon8 Video-Downloader

Der einfachste Weg, Videos und Galerien von der Lemon8-App herunterzuladen

เล่มที่ ๑๐๗ ฉบับที่ ๑๐๗ เดือนม | แกลเลอรีที่โพสต์โดย ขุนทอง โกเจริญ | Lemon8

เล่มที่ ๑๐๗ ฉบับที่ ๑๐๗ เดือนม | แกลเลอรีที่โพสต์โดย ขุนทอง โกเจริญ | Lemon8

Desktop: Klicken Sie mit der rechten Maustaste und wählen Sie zum Herunterladen "Link speichern unter...".

PHOTOS
เล่มที่ ๑๐๗ ฉบับที่ ๑๐๗ เดือนม | แกลเลอรีที่โพสต์โดย ขุนทอง โกเจริญ | Lemon8 JPEG Herunterladen

เล่มที่ ๑๐๗ ฉบับที่ ๑๐๗ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

เดือนสิงหาคม ๒๕๔๖(ต่อ)

ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

ถาม: ….........................

ตอบ : สมัยก่อนมีหลวงพ่อซ่วน แถวฉะเชิงเทรา สร้างปลัดขิกอันหนึ่งหนักเป็นตัน ๆ เลย คราวนี้บรรดาคุณหญิง คุณนาย นายพล นายพันไปกันบานเบิก เพราะว่าเขาทำแล้วเป็นการตัดเคราะห์เสริมดวง แล้วมีผลนะ คนก็ไปด่าหลวงพ่อซ่วนให้หลวงพ่อวัดท่าซุงฟัง หลวงพ่อบอก “เดี๋ยว ๆ เขาทำมีผลไหม ?” บอก “มีผลครับ” “ถ้ามีผลอย่าเสือกไปด่า เดี๋ยวจะซวยเอง” ตามสายครูบาอาจารย์เขาสอนกันมาอย่างนั้น ถึงเวลาท่านสงเคราะห์คน ท่านทำไปตามนั้น ทำแล้วมีผลว่ากันไม่ได้

ถาม : สมัยรัชกาลที่ ๔ มีการแยก ?

ตอบ : ท่านเป็นคนตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นมา

ถาม : ไม่ถือเป็นการแยกสงฆ์ หรือทำสังฆเภท ?

ตอบ : ท่านไปยุใครล่ะ ก็เปล่า สมัยนั้นวงการนักบวชเละมาก ในเมื่อเละ จนกระทั่งหาที่พึ่งได้ยาก ท่านเองพยายามสืบเสาะไปเรื่อย เห็นว่าตามสายของพระมอญ เขายังถือพระวินัยอย่างเคร่งครัดอยู่ ก็ศึกษาแล้วจดจำเอาแบบอย่างมา แล้วมาตั้งเป็นธรรมยุติกนิกายขึ้นมา เพื่อที่บวชเข้ามาถือตามสายของธรรมยุต ได้ปฏิบัติตนให้เคร่งครัด เพื่อที่จะได้สมกับชาวบ้าน เขากราบไหว้บูชา มีตรงไหนเป็นสังฆเภท เจตนาดีแท้ ๆ

ถาม : …....................

ตอบ : พวกเราทำแล้วไม่ได้สักที คือทำเกินกับทำขาด ที่ทำเกินมีน้อย มีอยู่วันหนึ่งหลวงพ่อวัดท่าซุงเข้าโบสถ์ ถ้าไม่ใช่ป่วยหนักจริง ๆ ถึงเวลาปาฏิโมกข์หลวงพ่อจะเข้าโบสถ์ทุกครั้ง เข้ามาถึงก็ถอนใจเฮือก “พระวัดเรามีแต่เกินกับขาด หาพอดีไม่ได้” “เล็ก...เอ็งเกินหรือขาดวะ ?” “ผมเกินครับหลวงพ่อ” “เออ...มึงยังรู้ตัว” พวกฮากันตรึม แต่ความจริงไม่ใช่หรอก ท่านเตรียมจะชิ่งไปอัดคนอื่นต่อ ท่านรู้ว่าถ้าท่านด่าคนอื่นตรง ๆ เขาฝ่อนาน เขาหน้าไม่ด้านเหมือนอาตมา

เพราะฉะนั้น...จะเปิดเกมส์มาตรงอาตมา อาตมาเป็นพระในวัดที่กล้าที่สุด คือหน้าด้านพอที่จะเถียงหลวงพ่อได้ เถียงแบบสั่น ๆ ก็เอา คือจริง ๆ รู้ลีลาท่าน หลวงพ่อท่านต้องการลีลาแบบอาจารย์ยกทรง เรียกว่าพอท่านเปิดเกมส์แล้วต้องเล่นต่อ เพื่อที่จะท่านจะได้ชิ่งใส่คนอื่นตามที่ท่านต้องการได้ หรือไม่ก็อัดเราต่อไปเลยอย่างนี้

เพราะฉะนั้น...ต้องกล้าเล่น เราเองถึงจะอยู่ปลายแถวก็จริง แต่รู้ว่าหลวงพ่อท่านต้องการลีลาอย่างไร ก็กล้าพูด แต่ก็พูดแบบสั่น ๆ หน่อยนะ ไม่รู้จะโดนเมื่อไร คราวนี้ในเมื่อเราทำเกินกับทำขาดเป็นปกติ ส่วนใหญ่จะขาด ขาดตรงไหน ตรงที่ว่าเรารักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่องยาวนานไม่เป็น จำไว้เลยนะ ที่เอาดีไม่ได้ทุกวันนี้ เพราะว่ารักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่องยาวนานไม่เป็น ส่วนใหญ่ตอนภาวนาอารมณ์ดี พอลุกแล้วเลิกเลย ถามซิว่าทำไปกี่ชั่วโมง อย่างเก่งก็ชั่วโมงหนึ่ง ๔๕ นาที ๓๐ นาที แล้วแต่วาสนาบารมี ใครจะทนนั่งได้มากกว่ากันใช่ไหม แล้วที่เหลือตีเสียว่า ๒๓ ชั่วโมงล่ะ ขาดทุนย่อยยับละสิ ต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่องให้ได้ พอลุกแล้วอารมณ์ใจทรงตัวแค่ไหน ให้ประคับประคองอารมณ์ให้อยู่กับเราให้นานที่สุด แรก ๆ ได้ไม่นานหรอก ได้สักครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่ง ถ้าเราพยายามตั้งสติกำหนดรู้อยู่ ประคับประคองเอาไว้ พอทำบ่อย ๆ มีความชำนาญ มีความคล่องตัวก็จะนานขึ้น พอนานขึ้นก็เป็นสามชั่วโมง สี่ชั่วโมง ครึ่งวัน วันหนึ่ง สองวัน สามวัน ห้าวัน เจ็ดวัน สิบวัน ครึ่งเดือน เดือนหนึ่ง ใจของเรายิ่งอยู่กับตัวภาวนามากเท่าไร นิวรณ์จะกินเราไม่ได้ ในเมื่อนิวรณ์กินเราไม่ได้ เราจะมีความสุขมาก ยิ่งถ้าเอาจิตเกาะนิพพานเป็นปกติ ยิ่งไปง่ายเลย เพราะว่าตัวมโนมยิทธิที่หลวงพ่อสอนพวกเรา ท่านต้องการตรงจุดที่ให้รู้นิพพานได้ ไปนิพพานได้ การที่เราไปนิพพานเป็นการตัดกิเลสอัตโนมัติ รัก โลภ โกรธ หลง เป็นสมบัติของร่างกาย ถ้าหากว่าไม่มีจิตไปคอยนึกคิดปรุงแต่งร่วมมือกับมัน มันทำอันตรายเราไม่ได้หรอก รู้ตัวว่าอารมณ์หากโกรธจะเกิด ถ้าเรารักษาใจอยู่ การรู้ของจิตจะเร็วมาก ปัญญาจะดี รู้แล้วถ้ากระทบตัวนี้อารมณ์โกรธจะเกิด อย่าเพิ่งให้มันเกิด โดดไปนิพพานซะ รู้ว่าถ้ากระทบตัวนี้อารมณ์ราคะจะเกิด อย่าเพิ่งให้มันเกิด โดไปนิพพานซะ ไปกราบพระอยู่ข้างบน ถ้าไม่มีจิตคอยปรุงแต่งอยู่ ก็เหมือนกับกินก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ปรุงนะ เทน้ำใส่แล้วก็ซด ไม่มีรสไม่มีชาติหรอก แล้วใครจะไปอยากกิน แต่ถ้าเราไปอยู่กับมัน เท่ากับว่าไปปรุงรสใส่น้ำตาล ใส่น้ำปลา ใส่พริกป่น ใส่พริกน้ำส้ม ยุ่งไปหมด รสชาติดีกินอร่อย ปวดท้องแทบตาย เพราะว่าเป็นอันตรายกับตัวเสียแล้ว น้ำแก้วหนึ่งวางไว้ตรงนี้ เห็นแค่นี้หยุดความคิดให้ได้ จะเป็นน้ำอยู่แค่นี้ ทำอันตรายเราไม่ได้ ถ้าหากว่าคุณติดต่อ เออ...นี่น้ำส้มนี่หว่า

วันนั้นสมมติว่าสาว ๆ เคยไปกับหนุ่ม แล้วเขาก็สั่งน้ำส้มให้กิน เริ่มไปแล้วจะออกไปทางราคะแล้ว แต่ถ้าคิดอีกที เออ..นี่น้ำส้ม แต่วันนั้นเราซัดเหล้าเข้าไปนี่หว่า ตอนกำลังกินเพื่อนมาแล้วปากหมาด่าเรา เดี๋ยวต้องกลับไปเตะมัน อ้าว...โทสะอีกแล้ว สรุปแล้วอยู่ที่ตรงจิตของเราที่ปรุงแต่งอย่างเดียว ถ้าเราสามารถหยุด เห็นสักแต่ว่าเห็น ให้อยู่แค่ลูกตา ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ให้อยู่แค่หู ตัวปฏิฆะ คือการกระทบจะไม่มี ในเมื่อไม่มีอารมณ์จิตที่เราหยุดการปรุงแต่งได้ทัน คือเราตัดตั้งแต่ต้นเหตุ เหตุในภาษาพระเรียก สมุทัย ตัดเหตุได้แล้วจะเกิดความสงบร่มเย็น เรียกว่า นิโรธ

เพราะฉะนั้น...ถ้าหากว่าเราหยุดสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กายของเราเอาไว้ อย่าให้เข้ามาในใจ จะทำอันตรายเราได้น้อยเต็มที ใหม่ ๆ สู้ไม่ได้หรอก ลากเราไปหลายกิโลกว่าจะรู้ตัว แต่ถ้าเรารู้เมื่อไร ให้รีบดึงกลับมาอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน สิ่งที่สร้างความทุกข์ให้กับเรา คือจิตปรุงแต่งไป ถ้าจิตปรุงแต่งไป จะไป ๒ ทางคือ ไปในอดีตกับไปในอนาคต อดีต คือเรื่องที่ผ่านมา อย่างเช่น “วันนั้นไปกับหนุ่ม เขาสั่งน้ำส้มให้เรา” “เออ...วันนั้นไปกับสาว เราสั่งน้ำส้มให้เธอ ชอบใจยิ้มหวานเชียว” ไปกันใหญ่เลย นั่นอดีต หรือไม่ก็อนาคต “เออ...เดี๋ยวเราจะขอแต่งงานกับเขา” ไปกันใหญ่ จะไปแต่อดีตกับอนาคต สภาพจิตถ้าหลุดไปจากปัจจุบันไปอดีต หรือไปอนาคตเมื่อไร ทุกข์ทันที ความทุกข์เกิดทันที เกิดเพราะความคิดของเราเป็นพิษ ตัวจิตสังขารในขันธ์ห้า ขันธ์ ๕ คือ รูป คือตัวเรานี่แหละ สิ่งที่เห็นตาหูจมูก รูปร่างของเรามีอาการ ๓๒ เวทนา คือความรู้สึก จะสุขจะทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญา คือความจำ สังขาร คือตัวปรุงแต่งของใจ สังขารนี้ไม่ใช่ร่างกาย วิญญาณ คือประสาทรับความรู้สึกของร่างกาย ขันธ์ตตัวแสบที่สุด คือจิตสังขาร คือตัวปรุงแต่ของใจ หยุดให้ทัน อยู่กับปัจจุบัน วิธีที่ดีที่สุด คืออยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ภาวนาจนรู้ลมอัตโนมัติ อย่างน้อยตอนนั้นจิตของเราเป็นปฐมฌานละเอียด ปฐมฌานละเอียดกำลังพอตัดกิเลสได้ ตั้งแต่พระโสดาบันหรือสกิทาคามีด้วย ถ้าปัญญาถึง กำลังพอ รักษาอาการรู้ลมอัตโนมัติให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ จะเป็นวันเป็นดือนเป็นปีได้ยิ่งดี ถ้าเรารักษาให้อยู่กับเราให้นานเท่าไร กิเลสไม่มีโอกาสงอกงาม จะค่อย ๆ เฉาไปเรื่อย ๆ ยิ่งถ้าเราเอาจิตไปเกาะพระนิพพาน รู้ตัวจะโกรธโดดไปกราบพระบนนิพพาน รู้ตัวว่าจะรักโดดไปกราบพระบนนิพพาน ถ้าทำอย่างนี้ได้บ่อย ๆ กิเลสไม่มีโอกาสงอกงาม จะเฉาตายไปเอง เหมือนกับเอาหินหรือไม้หนัก ๆ ทับหญ้า ทับไปนาน ๆ หญ้าจะตาย

จุดที่หลวงพ่อสอนมโนมยิทธิให้เรา ท่านต้องการตรงนี้ ตรงที่ว่ารู้จักนิพพาน ไปนิพพานได้ และสำคัญที่สุดขณะที่อยู่นิพพานเป็นการตัดกิเลสอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเราเกาะนิพพานได้นานเท่าไร จิตจะสะอาดมากเท่านั้น จะเคยชินกับอารมณ์ที่ปราศจากกิเลส พอชินนาน ๆ ไปก็เป็นของเราไปเลย ท่านไม่ได้ให้ไปดูอดีต ไม่ได้ให้ไประลึกชาติ ถึงเวลาเธอเป็นอย่างนั้นกับฉัน เธอเป็นอย่างนี้กับฉัน แทนที่จะรู้จักเข็ด รู้จักละ ไปยึดซะอีก ไปฟื้นความสัมพันธ์ใหม่ คนโน้นก็แม่จ๋า คนนี้ก็เมียจ๋า พังบรรลัยหมด แทนที่จะรีบ ๆ ตะเกียกตะกายขึ้นฝั่ง ไปกอดคออยู่กลางน้ำอย่างมีความสุข จมตายไปทั้งพวงเลย

ปัจจุบันคนใช้มโนมยิทธิของหลวงพ่อผิดเกิน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ อาตมาก็ผิดมาก่อน โง่มาก่อน มาโดนครูบาอาจารย์อัดเข้า หูตาสว่างหน่อย ถ้าใครยังหูตาไม่สว่างก็พยายามหน่อยนะ ไม่รู้จะช่วยอย่างไร รู้มาก็บอกต่อแค่นี้ บังคับใครก็ไม่ได้ มโนมยิทธิเป็นดาบสองคม คมกริบทั้้งสองด้าน ถ้าเป็นกำลังภายในก็ฟันเหล็กเหมือนอย่างกันหยวก พลาดเมื่อไรโอกาสตายมีเยอะ แต่ที่หลวงพ่อท่านเสี่ยงเอามาสอนพวกเรา เพราะเชื่อมั่นอยู่ ๒ อย่าง เชื่อมั่นอย่างแรกคือ ลูก ๆ ของท่านสั่งสมบารมีมาดีพอ ไม่น่าจะพลาด เชื่อมั่นอย่างที่สองคือ ถ้าคนเราเกาะนิพพานได้ อย่างน้อย ๆ รู้จักอารมณ์พระนิพพานเข้าแล้ว ถ้าเคยชินไม่ต้องถึงขนาดอารมณ์พระโสดาบันหรอก แค่โคตรภูญาณของพระโสดาบันเท่านั้นแหละ ไม่มีใครเขาถอยหลังแล้ว ตะกายขึ้นหน้าอย่างเดียว รู้อารมณ์พระนิพพาน แค่โคตรภูญาณของพระโสดาบันเท่านั้นแหละ จะรักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รักพระนิพพานเป็นชีวิตจิตใจ หลวงพ่อถึงได้เสี่ยงสอนพวกเรา

แต่พวกเราก็ทำตัวไม่คุ้มกับค่าเสี่ยงของท่านเลย ส่วนใหญ่ใช้ผิด เลิกได้แล้วนะ ประเภทไปเป็นขึ้ข้าชาวบ้านเขา ดูนั่น ดูนี่ ดูโน่น อาตมาทิ้งหมดแล้ว สิบกว่าปีที่ผ่านมา เข็ด ไปหลงระเริงอยู่กับคำชม แหม..แจ่มใสเหลือเกิน รู้ได้ชัดเจน อุ๊ยแม่น ลอยลมไปเลย ตายตอนนั้นอย่างเก่งก็เป็นแค่พรหม เพราะเป็นกำลังของฌานสมาบัติ แล้วถ้าเกิดว่าตายตอนจิตกำลังชั่วอยู่ก็พอดีแหละ หนี้เก่า ๆ บวกรวมเข้าไป ล้มละลาย IMF ก็ไม่รับรอง

มาถึงตอนนี้ มาถึงขนาดนี้ หลวงพ่อจากเราไป ๑๑ ปีแล้ว ทบทวนตัวเองบ้างหรือเปล่า ว่าเราทำหน้าที่ของเราไปถึงไหน จุดมุ่งหมายแรกเริ่มที่เรามากราบหลวงพ่อ มาศึกษาตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อ เราาทำอะไร เพื่ออะไร ยังจำจุดหมายนั้นได้ไหม หรือไม่ก็เริงร่าหน้าบานไปวัน ๆ หนึ่ง พอถึงเวลาทุกข์เข้ามา ก็หน้าเหี่ยว ทุกข์มาจากไหนก็ไม่รู้ สบายใจ สบายอย่างไรก็ไม่รู้ ให้มีตัวธัมมวิจยะ คือรู้จักแยกแยะในธรรมบ้าง ปัญญามี สมองมี อย่าให้ศีรษะเป็นเครื่องกั้นใบหูไม่ให้ชนกัน หัดคิดบ้าง อาตมาเคยด่าลูกศิษย์แรง ๆ ว่าหัดใช้หัวแม่ตีนคิดบ้าง ถ้าสมองคิดไม่ทัน หัดรู้จักคิดบ้าง ตอนนี้ทุกข์เพราะอะไร หรือสุขเพราะอะไร ส่วนใหญ่พวกเราหาเหตุไม่เป็น พอผลเกิด เอ้ย...สบายใจ กินไปเรื่อย ๆ ผลใหญ่ขนาดไหนก็หมด พอถึงเวลาหมดก็ซมซานอีก ลำบาก จิตตกอีกแล้ว เดี๋ยว ๆ ก็จิตตก น่าจะถีบซ้ำให้ตกหนักเข้าไปอีก

ดูซิว่าก่อนหน้านั้นเราคิดอย่างไร พูดอย่างไร ทำอย่างไรแล้วสภาพจิตถึงดี มีความสุข ห่างจากนิวรณ์ ห่างจากกิเลสได้ เราก็ทำอย่างนั้นซ้ำเข้าไปอีก หาเหตุเจอ สร้างเหตุได้ ผลก็เกิดอีก แล้วดูว่าอันนี้ทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร เราเผลอสติปล่อยให้จิตหลุดจากการภาวนา ปล่อยให้จิตออกจากการเกาะพระพุทธเจ้า ปล่อยให้จิตหลุดจากการเกาะพระนิพพานใช่ไหม เผลอตอนไหน พอถึงเวลาก็พยายามตั้งสติไว้อย่าให้เผลออีก ง่ายนิดเดียว ปีแล้วปีเล่าผ่านไปก็แค่นั้น

ถ้าอาตมาเป็นหลวงพ่อ ถ้าฟื้นกลับมาคืนมา เจอลูกศิษย์แบบนี้ ตูกลั้นใจตายต่อดีกว่า ถามตัวเองได้แล้ว เตือนตัวเองได้แล้ว เวลาผ่านไป ๆ เราทำอะไรอยู่ เป้าหมายที่เราหวังไว้คืออะไร สิ่งที่เราทำตอนนี้ทำไปถึงไหน มีความเจริญก้าวหน้าแค่ไหน เป็นที่พอใจหรือยัง ถ้าตายวันนี้เป็นอย่างไร คนที่รักมีไหม ของที่รักมีไหม ทรัพย์สมบัติมีไหม แล้วเราห่วงมันไหม ตายแล้วเราจะไปไหน พร้อมหรือยัง ถามไว้บ่อย ๆ ถามไว้ทุกวัน อยากจะบอกกับพวกเราว่า สิ่งที่หลวงพ่อสอนมา อาตมาใช้เวลาในชีวิตทั้งฆราวาสแล้วก็พระ รวม ๆ แล้ว ๒๘ ปีเต็ม ขึ้นปีที่ ๒๙ แล้ว ยังไม่เคยเห็นหลวงพ่อสอนอะไรผิดเลย ทุกสิ่งที่ท่านสอน ปฏิบัติตามแล้วจะมีผลตามนั้น แม้ว่าจะปฏิบัติไม่ได้อย่างของท่าน ก็เอาให้ใกล้ท่านให้มากที่สุด การเป็นศิษย์ต้องวัดรอยเท้าครูบาอาจาารย์ เลียนแบบปฏิปทาทำตามให้ได้ อันนี้หลวงพ่อด่าพระในโบสถ์ เพราะว่าไม่รู้จักวัดรอยเท้าครูบาอาจารย์ ท่านบอกว่า “จะให้ท่านจ้ำจี้จ้ำไชทุกวันไหวที่ไหน” ท่านเองท่านเห็นหลวงปู่ปานมีปฏิปทาแบบไหน ท่านก็ทำมา มีโอกาสอยู่กับหลวงปู่แค่พรรษากว่า ๆ แค่นั้นเอง ยังไม่ทันจะเต็มสองพรรษาหลวงปู่มรณภาพ ท่านใช้คำว่า “หลวงพ่อมรณภาพ ขณะที่ข้ายังทำอะไรไม่ค่อยได้เลย” เสร็จแล้วท่านก็กลายเป็นครูบาอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเต็มบ้านเต็มเมือง ส่วนเราจำนวนมากเลย ไม่นับคนที่หาหลวงพ่อไม่ทันนะ จำนวนมากเลยที่อยู่กับหลวงพ่อมาหลาย ๆ ปี เลียนแบบปฏิปทาท่านได้เท่าไร ถ้าเราจะอวดกัน อย่าไปอวดว่าฉันไปหาหลวงพ่อตั้งแต่ปีนั้น ฉันไปหาหลวงพ่อตั้งแต่ปีนี้นะ แต่ให้อวดกันตรงจุดที่ว่า เราละอะไรได้บ้าง ละราคะได้เท่าไร ละโลภะได้เท่าไร ละโทสะได้เท่าไร ละโมหะได้เท่าไร อวดกันอวดกันตรงนี้ แข่งกันตรงนี้ พิจารณาอยู่เสมอ กายวาจาที่ดีกว่านี้ยังมีอยู่ เราต้องทำให้ได้ ไม่ใช่ถึงเวลาก็ยืด อย่างน้อยข้าก็รุ่นพี่เข้าวัดก่อนแก เข้าวัดก่อนไม่มีประโยชน์หรอก มีประโยชน์ตรงที่ว่าใครทำได้ก่อนต่างหาก ไม่ใช่แตละวันแบกกระดองไปอย่างกับเต่า ยิ่งตัวใหญ่กระดองก็ยิ่งหนัก ถอดกระดองโยนทิ้งไปได้แล้ว

หลวงพ่อท่านไม่ได้ต้องการให้เราแบกมานะ ไปยกตนข่มท่านกับรุ่นหลัง ๆ ที่มาไม่ทัน จริง ๆ ก็คือ ท่านต้องการให้พวกเราปฏิบัติให้ได้ผล จะได้เป็นหลักให้กับรุ่นน้อง ๆ รุ่นลูก รุ่นหลานต่อไป จะได้เป็นเครื่องยืนยันว่าคำสอนของท่านดีจริง ถูกต้องจริง ไม่ใช่สมัยนี้มีจำนวนมากเลย โดยเฉพาะเด็กนักเรียนก่อนจะสอบเข้าโรงเรียนวัดท่าซุง เตี๊ยมกันมาก่อน พี่ก็สอนน้อง เพื่อนก็สอนรุ่นน้อง ถึงเวลาถามอย่างนี้ ต้องตอบอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ก็เฮงซวยพอกัน โดนลูกศิษย์หลอกประจำ เพราะว่าความคล่องตัวในมโนมยิทธิไม่มี แล้วตัวเองก็สอบผ่านมาแบบขอไปที การจะซ้อมให้มีความค่องตัวไม่มีเลย ถึงเวลาถามเป็นอย่างไร ขาว สว่าง ไปของมันเรื่อย ลูกศิษย์หลับหูหลับตาพูดมาเองแหละ ไม่รู้หรอกว่าขาวเป็นอย่างไร สว่างเป็นอย่างไร รุ่นพี่ตอบอย่างนี้ถูก กูก็ตอบบ้าง การสอนกรรมฐานไม่มีรูปแบบสำเร็จ ต้องสอนเฉพาะหน้าตามกำลังใจลูกศิษย์ตอนนั้น เราต้องรู้ว่าตอนนั้นลูกศิษย์คิดอย่างไร เห็นอะไร ถ้าเราไม่รู้อย่างนั้น เสร็จ เจอลูกศิษย์ไฮเทคต้มหมด

ปัจจุบันน่าสงสารมาก เด็กที่เข้าโรงเรียนวัดท่าซุง ถ้าสมัยก่อนรุ่นแรก ๆ ไม่มีปัญหา เพราะว่าอย่างน้อย ๆ ต้องไปทวนกรรมฐานกันทุกอาทิตย์ ความคล่องตัวมีสภาพจิตสะอาด รุ่นนั้นจบไปสอบเข้าเรียนปริญญาตรีต่อได้เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม จบไป ๖๓ คน ไปสอบระดับปริญญาตรี ๔๔ คน ได้ ๔๓ คน ติดสำรองคนหนึ่ง คนติดสำรองบังเอิญเพื่อนสละสิทธิ์ ตกลงได้ครบ ๔๔ คน ถ้าคนสมาธิดีเรื่องสอบไม่มีปัญหา ยิ่งอย่างพวกเราได้มโนมยิทธิด้วย หรือใช้คาถาท่านปู่พระอินทร์ด้วย เปิดตำราลอกดี ๆ นี่เอง อาตมาลอกมาหลายยกแล้ว อยากรู้อะไรก็รู้ เขียนตามไปตามนั้น ถ้าคนถามว่า “ไม่โงหรือ ?” ข้อสอบออกอย่างไรก็ตอบได้ จะโง่ไหมล่ะ...! หนังสือไม่อ่านก็ตอบได้

เพราะฉะนั้น...อยากให้พวกเราทุกคนพิจารณาตัวเอง แล้วทบทวนสร้างความขยันให้มากขึ้น บารมี ๑๐ ของพวกเราพร่องตรงไหนรู้ไหม พร่องตรงวิริยบารมีกับปัญญาบารมี เกิน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ความเพียรไม่พอ ความเพียรไม่พอไม่ว่า ปัญญาไม่ค่อยจะใช้อีก เก็บเอาไว้ใหม่เอี่ยมเลย รอยหยักของสมองครบทุกรอยไม่มีสึกเลย ใช้บ้างสิ

การปฏิบัติกรรมฐานมีสองแนวทางคือ สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ๒ อย่างถ้าทำควบกันจะได้ผลเร็ว แต่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ผลเหมือนกัน เพียงแต่ต้องขยันพากเพียรมากกว่าปกติ สมถะ เป็นอุบายทำใจให้สงบ ถึงเวลาจิตใจสงบ กดรัก โลภ โกรธ หลง นิ่งสนิทได้ เมื่อถึงเวลารัก โลภ โกรธ หลงนิ่งสนิทได้ กดไปนาน ๆ จะเฉาตายไปเอง แต่อย่าเผลอนะ เผลอเมื่อไรปล่อยให้ตีกลับ จะงอกงามดีกว่าเดิมหลายเท่า ที่งอกงามดีกว่าเดิมหลายเท่า เพราะว่าไปเก็บกดไว้นาน บรรดานักปฏิบัติครูบาอาจารย์ดัง ๆ หลายองค์อยู่ในลักษณะเก็บกดแบบนี้ แล้วก็เจ๊ง เพราะว่าท่านไม่มีเวลาทำใจให้ต่อเนื่อง รักษาอารมณ์ต่อเนื่องที่อาตมาว่ามาตอนแรก รับกิจนิมนต์หัวไม่วางหางไม่เว้น ไม่มีเวลาสำหรับตัวเอง ในเมื่อไม่มีเวลาทำสำหรับตัวเอง ไม่มีเวลาทบทวนสำหรับตัวเอง ถึงเวลากิเลสตีกลับอยู่ไม่ได้ พัง

ถ้าหากเราสามารถรักษาอารมณ์ต่อเนื่องยาวนานได้ กิเลสไม่มีโอกาสงอกงาม ก็เฉาตาย หลุดพ้นไปนิพพานได้ หมดกิเลสไปนิพพานได้เขาเรียก เจโตวิมุติ หลุดพ้นโดยการใช้กำลังใจข่มไว้ อีกอย่างหนึ่งเป็นการใช้ วิปัสสนาญาณ พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง จะพิจารณาตามอริยสัจก็ได้ คือหาเหตุของทุกข์ให้พบ ไม่สร้างเหตุทุกข์ก็ไม่เกิด ทุกข์ไม่เกิดเข้าความดับ ก็คือนิโรธ ในขณะที่เราหาเหตุนั้นเขาเรียกว่า มรรค ทำอย่างไรคลำทางให้เจอ ดับเหตุให้ได้ แค่นั้นเอง หรือไม่ก็พิจารณาตามของไตรลักษณ์ คือเห็นมันไม่เที่ยง เห็นมันเป็นทุกข์ เห็นมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราปกติ หรือไม่ก็พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ ๙

อย่างเริ่มจากอุทยัพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นการเกิดการดับเป็นปกติ จะได้รู้ว่ามันไม่เที่ยง ยึดถือเมื่อไรก็ทุกข์ พิจารณาภังคานุปัสสนาญาณ เห็นว่าทุกอย่างต้องเสื่อมสลายสิ้นไปเป็นปกติ พิจารณาในภยตูปัฏฐานญาณ เห็นว่าเป็นโทษเป็นภัย เหมือนอย่างกับเลี้ยงเสือเอาไว้ ถึงเวลาก็หิว ถึงเวลาก็กระหาย ถึงเวลาก็เจ็บไข้ได้ป่วย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เอาแน่อะไรไม่ได้ ให้เห็นว่าเป็นโทษเป็นภัยเป็นของน่ากลัว จนกระทั่งท้าย ๆ ขึ้นไปก็จะเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายขึ้นมา นักปฏิบัติที่เบื่อ ปฏิบัติไป ๆ อยากตายอย่าคิดว่าดี อยากตายตอนนั้นลงนรกมาเยอะ ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ พยายามย้ำแล้วย้ำอีก ตอกแล้วตอกอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ย้ำหัวตะปูรอยเดิมนั่นแหละ พอก้าวข้ามไปจะเป็น สังขารุเปกขาญาณ เห็นธรรมดาแล้วปล่อยวาง ธรรมดาของการเกิดมาเป็นอย่างนั้น ธรรมดาของการเกิดเป็นคนเป็นอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดจะไม่มีสำหรับเราอีก ถ้าหากว่าการเกิดไม่มีสำหรับเรา การเวียนตายเวียนเกิดที่นับกัปไม่ถ้วน