Lemon8 Video-Downloader

Der einfachste Weg, Videos und Galerien von der Lemon8-App herunterzuladen

เล่มที่ ๑๙๘ ฉบับที่ ๑๙๘ เดือนพ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย ขุนทอง โกเจริญ | Lemon8

เล่มที่ ๑๙๘ ฉบับที่ ๑๙๘ เดือนพ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย ขุนทอง โกเจริญ | Lemon8

Desktop: Klicken Sie mit der rechten Maustaste und wählen Sie zum Herunterladen "Link speichern unter...".

PHOTOS
เล่มที่ ๑๙๘ ฉบับที่ ๑๙๘ เดือนพ | แกลเลอรีที่โพสต์โดย ขุนทอง โกเจริญ | Lemon8 JPEG Herunterladen

เล่มที่ ๑๙๘ ฉบับที่ ๑๙๘ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๓-หน้า-02

เก็บตกงานทําบุญบ้านวิริยบารมี ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕

มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อ มาร์ติน (Martin Wheeler) เขามาอยู่เมืองไทย ซื้อที่ไว้ 5 ไร่ ทํานาทําสวนของเขาไปเรื่อย วัน ๆ ก็หาบน้ํารดต้นไม้ ตากแดดตัวแดง ใคร ๆ ก็เรียกเขาว่าฝรั่งกระจอกบ้าง ฝรั่งขี้นกบ้าง

เขาไม่ร่ำไม่รวยเหมือนฝรั่งที่คนอื่นเห็น แต่หารู้ไม่ว่าเขาบอกว่า เขารวยมาก เขาอยู่ประเทศอังกฤษไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง เงินเดือนของเขาแทบจะเป็นค่าเช่าบ้านทั้งหมด

แต่พอมาอยู่เมืองไทย เงินเดือนของเขาซื้อที่ได้ ๖ ไร่ ปลูกกระต๊อบได้อีก ๑ หลัง ปลูกผักปลูกหญ้า ปลูกของกินเต็มไปหมด เขาบอกว่านี่ผมรวยมากเลย ผมบอกเพื่อนที่อังกฤษว่า ผมมีที่ ๖ ไร่ เพื่อนตกใจตาโตกันทุกคน

ใครได้ยินข่าวนี้บ้างไหม ? มีข่าวเล็ก ๆ ข่าวหนึ่งออกมาว่า ที่ดินประเทศไทยประมาณ ๑๐๐ ล้านไร่ อยู่ในเงื้อมมือต่างชาติหมดแล้ว เขามากว้านซื้อไปหมดแล้ว โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวสําคัญต่าง ๆ

คุณมาร์ตินเขาปลูกต้นไม้เขาบอกว่าเขาไม่หวังหรอกว่าจะได้ใช้ในรุ่นตัวเอง แต่ว่าลูกหลานเขาต้องได้ใช้แน่นอน

เมืองไทยแดดดี น้ําดี ปลูกอะไรลงไปก็ขึ้น ไม่เหมือนอังกฤษ เวลาหิมะลงจะกลบทุกอย่างหมดเกลี้ยงเลย ถ้าต้นไม้เล็ก ๆ ก็อาจถึงขนาดแห้งกรอบตาย ต้นไม้ใหญ่ก็จะชะงักงันไม่โตไปครึ่งค่อนปี กว่าจะได้แดดค่อยโต ไปอีกหน่อย หิมะก็ตกอีกแล้ว แต่เขาปลูกต้นไม้เมืองไทย ๒ - ๓ ปี ต้นไม้สูงขึ้นไป ๔ - ๕ เมตร

ในเมื่อเป็นอย่างนี้ เราควรที่จะคิดพิจารณาตนเองกันใหม่ว่า บ้านเราจริง ๆ แสนที่จะดี แต่เรามองเห็นความดีตรงนี้ของบ้านเราไหม ?

*************************

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงออกมา มีระบบนวเกษตร พึ่งพาตนเองได้

แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๑๐ ส่วน

๑ ส่วน ใช้ทําที่อยู่อาศัยและสวนครัว

๓ ส่วน เป็นแหล่งน้ํา

๓ ส่วน เป็นนาข้าว

อีก ๓ ส่วน ปลูกไม้ผลโตเร็ว และไม้ใช้สอยอื่น ๆ

แหล่งน้ํายังสามารถที่จะใช้เลี้ยงปลาได้ แม้กระทั่งชายขอบบ่อก็สามารถที่จะปลูกต้นไม้ได้ อย่างเช่น กล้วย มะพร้าว

ต้นไม้ที่ปลูกก็เป็นต้นไม้ระยะสั้น อย่างพวกพืชผักระยะกลาง อย่างเช่น พวกกล้วย มะละกอ ระยะยาว อย่างไม้ผลต่าง ๆ ถึงเวลาเกิดดอกออกผล จะได้มีของเอาไว้กินไว้ใช้เอง ถ้าเหลือก็ขายออกตลาด จะได้มีเงินเข้าทุกวัน พวกเนื้อสัตว์ก็ได้จากปลาในบ่อ จะ เลี้ยงไก่บนบ่อปลา ไม่ว่าจะเลี้ยงไว้กินไข่หรือกินเนื้อด้วยก็ยิ่งดี

ถ้าทําอย่างนั้นได้ พระองค์ท่านยืนยันว่า ต่อให้เศรษฐกิจล่มสลาย อย่างไร เราก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่าเราพึ่งพาตนเองได้

ดังนั้น ...ถ้าหากใครมีที่มีทางอยู่ต่างจังหวัด บอกพ่อบอกแม่ว่าฝืนใจเก็บไว้หน่อย ถึงเวลาปลูกต้นไม้ทิ้ง ๆ เอาไว้ ทําเป็นลืมเสีย ๓ - ๕ ปี เดี๋ยว ก็ได้กินได้ใช้แล้ว

พวกเราที่อยู่กรุงเทพฯ ลองคิดดูว่าไฟดับเราก็แย่แล้ว เอาแค่บ้านวิริยบารมีนี้ก็พอ ไฟดับอย่างเดียวอยู่ไม่ได้เลย ต้องลงไปนั่งที่หน้าบ้าน

ไฟดับขึ้นมาไม่พอ หิวขึ้นมาจะทําอย่างไร ? ถ้าสมมติว่าไม่มีร้านอาหาร แทะรั้วบ้านกินก็ไม่ได้อีก

เราจะเห็นชัด ๆ ว่าที่เราไปวิ่งตามความเจริญของต่างประเทศนั้นผิด พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราท่านทําถูกมาโดยตลอด เพิ่งจะมาผิดในช่วง ปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้แหละ

*************************

ช่วงนั้นอาตมายังไม่เข้าชั้นประถมปีที่ ๑ เขาเน้นการส่งออกข้าว ข้าวโพด ดีบุก ยางพารา ในเมื่อเน้นการส่งออกก็ต้องผลิตเป็นจํานวนมาก

การที่จะผลิตให้ได้จํานวนมาก ๆ ก็ต้องตัดไม้ทําลายป่ามาก โดยเฉพาะไม้สัก จะขุดดีบุกให้ได้มาก ๆ ก็ต้องถล่มพื้นดินจนเละเทะ จะปลูกข้าว ปลูกข้าวโพดมาก ๆ ก็ต้องเปิดป่าเพิ่ม

ตอนเด็ก ๆ รอบบ้านอาตมาเป็นป่าใหญ่ ใหญ่ขนาดเสือมารอดักตะครุบ คนเดินจากไร่กลับบ้านมาอยู่ ๆ แม่ก็กระทุ้งหลังให้เดินเร็ว ๆ หน่อย อาตมาก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น

เดินจ้ำ ๆ แม่ก็เดินชิดมาเลย พอถึงบ้านปิดประตูโครม แม่บอกว่า เสือดําอยู่บนจอมปลวก จะไปกลัวแล้ววิ่งก็ไม่ได้ เพราะว่าเสือจะโดดใส่เลย

ผู้ใหญ่เขาต้องคอยจ้องตาเสือเอาไว้ เสือก็ไม่กล้าตาม เพราะเห็นว่าคนมองอยู่ อีกอย่างคือมีอยู่ ๒ คน ถ้าคนเดียวนี่บางทีเสืออาจจะเสี่ยง ตะครุบไปแล้ว

เวลาหน้าหนาวจะหนาวมาก หนาวจนตัวแตกเป็นตารางเลย เพราะว่ามีป่าเยอะมาก ถึงเวลาต้องก่อกองไฟกลางบ้าน เอาผ้าห่มมาห่ม ล้อมรอบกองไฟกัน นั่งหลับสัปหงกที่เสียงผมไหม้ดังเปรี้ยะ... เหม็นตลบ...!

พอเจอช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมเน้นการส่งออกไม่นานป่ารอบบ้าน หมดเกลี้ยงเลย..!

*************************

พออาตมาเข้าชั้น ป.๕ ป่ารอบบ้านเริ่มหมดแล้ว แต่ว่ายังมีส่วนที่เรียกว่าป่าละเมาะอยู่ป่าละเมาะ จะเป็นลักษณะของป่าไผ่สลับกับไม้พุ่ม ยังพอที่จะยิงอีเห็น ล่าเสือปลา ดักกระต่ายได้อยู่

แต่พอหลังจากนั้นไม่นาน เขาเพิ่มการส่งออกอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ อ้อย หลายคนจึงปลูกอ้อยกัน เพื่อที่จะส่งโรงงานผลิตน้ําตาล

บ่อน้ํา ภาษาอีสานเรียกว่า “ส่าง” บางคนเรียกว่า “บ่อสร้าง” ก็ คือภาษาอีสานผสมกับภาษาไทยกันนั่นแหละ ความหมายคือบ่อน้ําทั้งคู่

ที่บ้านอาตมามีบ่อน้ํา แต่ชาวบ้านเขาเรียก “บ่อโพง”

น่าจะมาจากคําว่า “โพรง” เพราะขุดเป็นหลุมลึกลงไป เวลาใช้ถังตักน้ําขึ้นมา เขาเรียกว่า “โพงน้ํา”

ขุดลึกลงไปในดินประมาณ ๓ วากว่า ๆ น้ําจืดสนิท อาศัยดื่มกินได้ตลอดทั้งปีไม่เคยแห้ง แต่พอรอบข้างปลูกอ้อยกันหมด น้ําในบ่อกินไม่ได้ จากน้ําใสจืดกลายเป็นเค็ม ๆ เฝื่อน ๆ เพราะว่าน้ําปุ๋ยอ้อยซึมลงไปถึงระดับน้ําใต้ดิน

บ้านอาตมามีอาชีพทําไร่ทําสวนเป็นหลัก มีสวนมะพร้าว สวนมะม่วง ถึงเวลาก็ปลูกพริก ปลูกมะเขือ ปลูกกล้วย แล้วแต่ว่าช่วงนั้นของอย่างไหนราคาดี

ส่วนหนึ่งที่เน้นคือ ปลูกผักขายส่งตลาด ไม่น่าเชื่อว่าสมัยอาตมา เด็ก ๆ มีอยู่ปีหนึ่ง ผักชีราคากิโลกรัมละ ๒๐ บาท..!

แพงขนาดนั้นเพราะว่าหาซื้อไม่ได้ ปีต่อมาเหลือกิโลกรัมละ ๑ สลึง! เพราะว่าคนแย่งกันปลูกทั้งประเทศ

แต่พอรอบข้างปลูกอ้อยกันหมด ที่บ้านก็อยู่ไม่ได้ เพราะแมลงทั้งหมดในรัศมี ๒๐ - ๓๐ กิโลเมตร มาลงที่ไร่แห่งเดียว เพราะว่าของอื่น แมลงกินไม่ได้

ที่อื่นเป็นต้นอ้อย แมลงจึงแทะไม่เข้า เราปลูกผักปลูกผลไม้ แมลงลุยกัดกินกระจายเลย ท้ายสุดที่บ้านก็ต้องปลูกอ้อยตามเขาไป เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ในเมื่อส่วนกลางเป็นไปอย่างนั้น เราก็ต้องเป็นไปตามเขา

แต่ลองมานึกดูว่า ถ้าเกิดทุพภิกขภัย คือเกิดความอดอยาก หาของกินได้ยาก แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ?

*************************

สมัยที่อาตมายังเด็ก ๆ เจอทุพภิกขภัยอยู่สองครั้ง

ครั้งแรกแค่สงสัยว่า เวลาหุงข้าวทําไมแม่ต้องเอามันเทศหั่นใส่ลงไปด้วย อร่อยดีหรอก เพราะว่าเวลาหุงข้าวใส่มันเทศแล้วรสชาติหวาน ๆ ไม่รู้หรอกว่าข้าวจะหมด แม่ต้องเอามันเทศนั่นใส่ลงไปด้วย เพื่อให้มีข้าวมากพอกิน

หลังจากนั้นก็ไม่มีข้าวกิน ต้องเอาข้าวโพดที่เขาทําพันธุ์มานึ่งกิน เจ้าประคุณเอ๋ย...เคี้ยวดินเปล่า ๆ เสียยังดีกว่า เพราะว่าแข็งสุด ๆ

ไม่ใช่ข้าวโพดซูเปอร์สวีทแบบสมัยนี้หรอก เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เขาเรียกว่า ข้าวโพดเลี้ยงม้า ตากแห้งแล้วเขาเก็บไว้ทําพันธุ์

แต่พอไม่มีกิน ต้องเอามานึ่งกิน ฝักหนึ่งกว่าจะแทะหมดฟันแทบบิ่น แต่ก็ต้องกินเพราะว่าไม่มีอะไรจะกิน

ที่บ้านยังติดไร่ ติดโคก ติดป่าละเมาะ ยังพอไปหากลอยมากินได้ แต่ถ้าทํากลอยกินไม่เป็นก็เมา

ต้องหั่นกลอยเป็นชิ้นบาง ๆ ใส่ตะกร้าแช่น้ําไว้ ถึงเวลาก็ไปย่ำ ๆ เพื่อให้น้ําเมาออก พูดง่าย ๆ ก็คือ แช่น้ําไว้ประมาณ ๒ วัน ย่ำอยู่ทุกวัน

จนกระทั่งน้ําเมาหมดไปกับสายน้ํานั่นแหละ แล้วถึงเอามานึ่งกินได้ คนกินกลอยไปนาน ๆ จะเกิดอาการพุงโรก้นปอด ท้องจะโต แต่แขนขาลีบ ๆ

ครั้งที่ ๒ ที่เกิดทุพภิกขภัยก็มาแบบเดิม พอถึงเวลาแม่ต้องใส่มันเทศบ้าง ฟักทองบ้าง ปนกับข้าวให้ลูกกิน พูดง่าย ๆ ว่าให้มีของอิ่มท้องเข้าไว้

เมื่อข้าวขาวหมดก็ต้องกินข้าวกล้อง ข้าวกล้องสมัยก่อนนี่สุดยอด เลยกลืนไม่ค่อยจะลงเพราะว่าส่วนใหญ่เกิดจากการตําจึงเป็นข้าวกล้อง หากว่าใช้เครื่องสีจะเป็นข้าวขาว

พอตําข้าวก็ไม่สะอาดนัก พวกแกลบบางทีก็ยังติดอยู่ เป็นข้าวซีกหนึ่ง อีกซีกหนึ่งยังเป็นแกลบอยู่เลย

หุงสุกขนาดไหนก็ตามเคี้ยวไปแล้วก็กลืนไม่ค่อยจะลงหรอก เพราะว่าแกลบติดคอ ก็ต้องทนกินไปอยู่หลายเดือน กว่าที่ข้าวฤดูใหม่จะออกมา

*************************

อีกครั้งหนึ่ง หลังจากอาตมาเรียนจบ มศ. ๓ เข้ากรุงเทพฯ มาทํางานแล้ว คิดว่าพวกเราจํานวนมากก็ได้เจอสถานการณ์นั้น ยังจําข้าวโอชาได้ไหม ?

ข้าวเจ้าผสมข้าวเหนียว ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ต้องมีบัตรปันส่วนถึงจะซื้อได้ใ นกรุงเทพฯ นี่แหละ มีใครยังนึกถึงรสชาติของข้าวโอชาได้บ้าง ?

จะว่าไปก็กินอิ่มดีนะ เพราะว่าใส่ข้าวเหนียวลงไป ๓๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องเอาทะเบียนบ้านไปซื้อ

ถ้าหากว่าซื้อได้เรียบร้อยแล้ว อาทิตย์หน้าค่อยมาซื้อใหม่นะไม่ใช่ อาทิตย์นี้หรือว่าพรุ่งนี้ไปซื้อ ที่เขาต้องบังคับอย่างนั้นเพราะว่าข้าวไม่พอกิน ขนาดในกรุงเทพฯ ยังอดเลย

ที่อาตมาพูดมาถึงตรงนี้ก็เพราะว่า ถ้าเกิดทุพภิกขภัยขึ้น แล้วเราจะหาอะไรกิน ?

ปัจจุบันนิยมปลูกอะไรบ้าง ?

ข้าว มันสําปะหลัง สองอย่างนี้พอกินได้ ข้าวโพดก็ยังพอไหว

ส่วนยางพารา ใครกินได้บ้าง ?

ปาล์มน้ํามัน ลองดูซิว่าจะแทะเข้าไหม ?

เพราะฉะนั้น...ในเรื่องของการเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกแต่พืชชนิดเดียว เห็นอยู่ชัด ๆ ว่า ถ้าพลาดเมื่อไรก็เยินเมื่อนั้น ถ้าราคาตกก็ตกทั้งประเทศ

แต่ถ้าหากทําเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดําริของในหลวง อยากราคาตกก็ตกไป มะพร้าวราคาตก เราก็ขายมะนาว มะนาวราคาตก ไม่เป็นไร เราขายกล้วยก็ได้

ตามที่ในหลวงทรงดําริไว้นั้น เกษตรทฤษฎีใหม่อย่าทําเกิน ๓๐ ไร่ ถ้าทําเกิน ๓๐ ไร่ แรงงานจะไม่พอ

เราลองมานึกดูว่า ๓๐ ไร่ถ้าเราทํานา ๑๐ ไร่ ไร่นาสวนผสม ๑๐ ไร่ แหล่งน้ํา ๕ ไร่ เป็นสวนครัวเสีย ๔ ไร่ ปลูกบ้านอีก ๑ ไร่ เราดูแลไหวหรือไม่ ? ไม่ไหวหรอก

ฉะนั้น...ทําเกษตรทฤษฎีใหม่มากที่สุดในสายตาอาตมา ครอบครัวหนึ่งอย่าให้เกิน ๑๐ ไร่

ปลูกข้าวสัก ๕ ไร่ ให้ได้ข้าวเปลือกสัก ๒๐๐ ถัง ข้าวเปลือก ๒๐๐ ถัง สีเป็นข้าวสารก็น่าจะเหลือสัก ๑๐๐ ถึงเศษ ๆ พอกินไป ๑ ปี

เพราะว่าคนหนึ่งกินข้าวต่อมื้อหนึ่ง เป็นข้าวสารประมาณสองขีด ไม่เกินสองขีดครึ่งเท่านั้น

*************************

ฉะนั้น...ใครมีที่มีทางอยู่เริ่มต้นได้แล้ว อย่าช้า..ถ้าหากว่าช้า สถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงเร็ว เราจะตั้งหลักไม่ทัน

มีที่มีทางก็ Back to the nature กลับคืนสู่ธรรมชาติได้แล้ว

ใครที่อยู่กรุงเทพฯ แล้วตั้งใจจะยึดเป็นเรือนตายก็ควรหาทางขยับขยายไว้บ้าง ไม่อย่างนั้นอาจจะได้ตายจริง ๆ...!

*************************

บางที่อาตมาเองยังหนักใจว่า เด็กรุ่นหลังของเรา ถ้าออกพ้นจากเครื่องอํานวยความสะดวกไปนี่ ไม่รอดแน่ตายหมด

อาตมาพาไปเดินป่า ชี้ว่าอย่างนั้นกินได้ อย่างนี้ก็กินได้แต่เด็กไม่รู้จักพืชผลสักคน

เมื่อวานนี้ไปกิจนิมนต์ที่ฉะเชิงเทรา เพื่อนรุ่นเดียวกันนะ ไม่รู้จักหมากหลอด

พวกเรารู้จักหมากหลอดไหม ? ลูกรี ๆ โตกว่าหัวแม่มือหน่อย หน้าตาก็คล้าย ๆ หัวแม่มือของเรานี่แหละ

เพื่อนอาตมาดันไปแกะเปลือก ฉันเสร็จแล้วก็ตีหน้าประหลาด อาตมาก็ขํา บอกว่า “เฮ้ย..เขาเคี้ยวทั้งเปลือก”

เขายังคิดว่าอาตมาอําอีก ถึงเวลาพอเคี้ยวเข้าไป

“เออ...กินทั้งเปลือกไม่เปรี้ยวนี่หว่า แล้วทําไมเมื่อกี้นี้เปรี้ยววะ ?”

ใครจะไปรู้ว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันจะโง่ได้ขนาดนั้น เด็กบ้านนอกด้วยกันก็น่าจะรู้จัก

*************************

ในที่นี้มีกี่คนที่รู้จักว่า ต้นไข่เต่าหน้าตาเป็นอย่างไร ?

ไม่รู้จักเลยใช่ไหม ? ถ้าเข้าป่าเจอดงไข่เต่าอาตมาก็สบายอยู่คนเดียว หลอกให้คนอื่นไปไกล ๆ แล้วตัวเองนอนกินคนเดียวเลย

ต้นไข่เต่าเป็นไม้สูงจากพื้นประมาณศอกเดียว ใบสีเขียวเข้ม ๆ โตสักประมาณ ๓ นิ้วมือ มีลูกรี ๆ สีเหลืองอ่อน ๆ อยู่ข้างใต้ ถ้าลูกสีเหลืองสุกแล้ว เก็บกินไปเถอะ ทั้งหอมทั้งหวานเลย

*************************

ถ้าให้เด็กรุ่นใหม่เข้าป่าคาดว่าอดตายแน่ ต่อให้ของกินอยู่ข้างหน้า บางทีก็ไม่รู้ว่ากินอย่างไร

อาตมาเคยหลอกลุงสุบินมาแล้ว ตอนนั้นประมาณปี ๒๕๒๓ อาตมาข้ามไปที่ฝั่งพม่า ตรงท่าขี้เหล็ก สมัยนั้นเขาเปิดด่านตลอดเวลา ไม่มีการจํากัดกลางวันกลางคืน ตี ๕ กว่า ๆ อาบน้ําเสร็จสรรพเรียบร้อย ชวนเพื่อนรุ่นพี่ชื่อพี่กัลยาเดินข้ามฝั่งไป

เดินไปเดินมาเจอข้าวเดือย ที่เราเรียกว่าลูกเดือยนั่นแหละ เขาตัดมาเป็นช่อ ๆ นึ่งใส่เกลือ พวกเราก็ซื้อมานั่งแทะกัน ลุงสุบินเดินมาเห็น

“ไอ้สองคนนี้ทําไมหน้าเหมือนคนไทยแท้วะ ?”

“แล้วลุงเห็นผมเป็นพม่าหรือ ?”

“อ้าว....คนไทยจริง ๆ นี่หว่า ทําอะไรกันอยู่ ?”

“กินลูกเดือยครับลุง”

“กินอย่างไรล่ะ ?”

“ขบแล้วเอาข้างในทิ้ง แล้วก็เคี้ยวไอ้แข็ง ๆ ครับกรอบดี”

หลอกกระทั่งลุงบาปกรรมแย่เลย หลอกให้แกกินเปลือก เราจะได้กินเนื้อคนเดียว!

อาตมานี่คบยากนะมีคนให้ฉายาว่า “แสบแต่ซื่อ” ไม่ใช่ซื่อแต่แสบนะ เป็นคนตรงไปตรงมา แต่เผลอเมื่อไรหลอกชาวบ้านเขา ไม่ได้หลอกให้เขาเดือดร้อนอะไรมากมายหรอก หลอกเอาสนุก

ลุงสุบินลองแทะกินอยู่ ๒ - ๓ เม็ด แกก็บ่นว่าไม่อร่อยเลย แกเลยไปหาของอย่างอื่นกิน จะได้ไม่ต้องมาแย่งของเรา

*************************

ถ้าหากว่ารู้จักของกินในป่า ก็พอเอาตัวรอดได้ หัวไร่ชายนามีแต่ของกินทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ว่าเราจะรู้จักหรือไม่ ?

อาตมาเคยพาคณะหนึ่งไปบึงลับแล ๒๗ คน ถึงเวลาจะให้เขาช่วย ก็ถามว่า

“ใครหุงข้าวเป็นบ้าง ?”

มียกมือตั้งหลายคนน่าชื่นใจมาก แล้วเขาก็ถามอย่างชัดเจนเลยว่า

“เสียบปลั้กตรงไหน ?”

โอ้. ..อยู่กลางป่านี่นะ เอ็งจะเสียบปลั๊ก ?

ท้ายสุดพระก็ต้องไปหุงข้าวให้เขากิน..! อยู่ที่บึงลับแลแล้วเสียบปลั้ก คงต้องลากสายเข้าไปยี่สิบกว่ากิโลเมตรกว่าจะเข้าไปถึง..!

*************************

การรื่นเริงในธรรม ขณะเดียวกันให้ระมัดระวังจิตใจของเราด้วย อย่าให้ฟูมาก ถ้าหากว่าฟูมาก ถึงเวลาฟุบก็ฟุบแรง ต้องคอยระมัดระวังกําลังใจของเรา

กระทบสิ่งที่ดี อย่าให้ฟู

กระทบสิ่งที่ไม่ดี อย่าให้ฟุบ

พยายามทรงกําลังใจเป็นกลาง ๆ ให้ได้

ถ้าทรงกําลังใจเป็นกลาง ๆ ได้ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย โอกาสที่เราหลุดพ้นก็จะมีมาก แต่ถ้าเรายินดียินร้ายกับอะไรง่าย โอกาสที่จะหลุดพ้นก็ยาก

เพราะทันทีที่ไปยินดีหรือยินร้ายก็ตาม จะตกเป็นทาสกิเลสทันที

ยินดี เป็นโลภะกับราคะ

ยินร้าย เป็นโทสะกับโมหะ

กินเราทั้ง ๒ ฝั่งเลย ต้องผ่ากลางไปอย่างเดียวถึงจะรอด

เพราะฉะนั้น..มัชฌิมาปฏิปทาต้องกลางทุกอย่าง ในขณะเดียวกัน คําว่า “กลาง” ในหลักการปฏิบัตินั้น ไม่มี ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับกําลังใจ ขึ้นอยู่กับบารมีที่เราสั่งสมมา

*************************

เรานั่งกรรมฐาน ๓๐ นาที จิตก็เริ่มรู้สึกว่าหนัก ไปไม่ไหวแล้ว เราก็เลิกได้ ผ่อนอารมณ์แล้วคอยประคับประคองเอาไว้

ในขณะเดียวกันบางคนเขาสร้างบารมีมาเข้มข้น นั่ง ๓ วัน ๓ คืน ก็สบายมาก เพราะฉะนั้น....มัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน

แต่ถ้าร่างกายบอกไม่ไหวแล้ว ให้ลองฝืนดูนิดหนึ่ง ถ้าฝืนแล้วไปได้ แปลว่าเมื่อครู่นี้กิเลสหลอกให้เราขี้เกียจ

ถ้าฝืนแล้วฝืนอีก ไปไม่ได้จริง ๆ แล้วค่อยเลิก ให้รู้ว่ากําลังของเรามีแค่นี้ แต่ถ้าเราทําบ่อย ๆ เราก็จะมีเยอะเหมือนเขา

เราทําครึ่งชั่วโมง เดี๋ยวพรุ่งนี้อีกครึ่งชั่วโมง มะรืนนี้อีกครึ่งชั่วโมง ไล่ไปเรื่อย หรือไม่ก็เช้าครึ่งชั่วโมงกลางวันครึ่งชั่วโมงเย็นครึ่งชั่วโมงรวมๆ เข้าก็ได้เป็นวันเหมือนเขา

ปฏิปทาในการปฏิบัติของคนไม่เท่ากัน พระพุทธเจ้าท่านแบ่งเป็น ๔ อย่าง ก็คือ

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติก็ลําบาก บรรลุก็ยาก

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลําบากแต่บรรลุง่าย อย่างสายหลวงปู่มั่น เดินจงกรมจนทางลึกถึงแข้งเลย แต่ว่าบรรลุกันเยอะ

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติง่าย สบาย ๆ แต่บรรลุยาก เพราะว่าส่วนใหญ่มัวแต่ไปหลงกับความสบาย

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญาปฏิบัติสบาย บรรลุง่าย สบายแค่ชาติปัจจุบันนะ เพราะว่าอดีตลําบากมาตั้งเท่าไรก็ไม่รู้ แบบเดียวกับพระพาหิยะทารุจิริยะ ท่านฟังเทศน์สั้น ๆ แค่

“เธอจงอย่าสนใจในรูป”

สั้น ๆ เท่านั้น ท่านบรรลุมรรคผลเลย ใคร ๆ ก็ว่าท่านบรรลุง่าย สบายเหลือเกิน ที่ไหนได้ ..ชาติก่อนท่านอดตาย..! เพราะว่าขึ้นไปปฏิบัติบนหน้าผา กะว่าถ้าหากบรรลุไม่ได้ก็ให้ตายไปเลย

เพื่อนของท่านบรรลุแล้วเหาะไปบิณฑบาตมาเลี้ยง ท่านก็ไม่กิน เพราะถือสัจจะไว้แล้วว่าถ้าหากว่าไม่บรรลุจนเหาะไปหามาเองได้จะไม่ยอมกินอะไร ท้ายสุดก็เลยอดตาย

แต่ด้วยความมุ่งมั่นขนาดนั้นแหละ กําลังใจข้ามชาติข้ามภพมา กลายเป็นอุปนิสัย เป็นปัจจัยนําส่ง ทําให้ชาติปัจจุบันท่านบรรลุเร็วมาก ฟังแค่หัวข้อธรรมสั้น ๆ ก็บรรลุเลย

เราจะไปว่าท่านปฏิบัติง่าย บรรลุง่ายก็ไม่ใช่เราเห็นง่ายชาตินี้ แต่ก่อนนั้นยากถึงขนาดอดตายมาแล้ว

*************************