Lemon8 Video-Downloader

Der einfachste Weg, Videos und Galerien von der Lemon8-App herunterzuladen

ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨

ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨

Desktop: Klicken Sie mit der rechten Maustaste und wählen Sie zum Herunterladen "Link speichern unter...".

PHOTOS
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen
ความไว้วางใจจากเด็ก ๆ ที่มอบให้ครู ✨ JPEG Herunterladen

วันนี้จะมาเล่าประสบการณ์การทำค่ายสิงห์อาสาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

***********************************

"เมื่อวันก่อนกำลังจะนอน แล้วดันนึกถึงค่ายสิงห์อาสา ค่ายที่มีผู้เข้าร่วมเป็นเด็กประถมศึกษา 1 ถึง 6 อีกทั้งยังมีความท้าทายมาก ๆ เนื่องจากเด็ก ๆ ที่มาเข้าร่วมมีความหลากหลายสุด ๆ หนึ่งในความท้าทายที่เราไม่ค่อยได้พบเจอ นั่นก็คือ เด็กพิเศษ ในที่นี้จะเป็นเด็กที่มีสมาธิสั้น พูดจาโผงผาง ควบคุมตัวเองได้ยาก ไม่ค่อยเข้าสังคม ชอบทำบางกิจกรรม หรือแล้วแต่อารมณ์ของเขา บางครั้งอารมณ์ดี บางครั้งอารมณ์ไม่ดี"

Part 1: การละลายพฤติกรรม/กิจกรรมสันทนาการ

เรามีบทบาทเป็นทั้งครูและพี่นำสันทนาการ ซึ่งเด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเรียกเราว่า "พี่" บางคนก็เรียก "ครู" ในช่วงสันทนาการเราจะเล่นเกม เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก ๆ ทำกิจกรรมต่อไปได้สนุกมากยิ่งขึ้น เช่น แนะนำตัว ค้อนกรรไกรกระดาษ ตาหูจมูก และนกนางนวล

แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ่งพี่ในทีมได้บอกเราไว้ก่อนแล้วว่า "วันนี้จะมีเด็กพิเศษมาเข้าร่วมด้วยนะ ไม่ต้องตกใจ เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้" เหตุการณ์นั้นก็คือ เด็กคนนั้นตะโกนออกมาว่า "ไม่เล่น" ซึ่งวิธีที่เราใช้แก้ปัญหาคือ พูดคุยกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดังมาก เราพูดกับเขาว่า "เอ้ยยยย ทำไมล่าาาาา นี่มีเพื่อน ๆ อยากเล่นเต็มเลย มา ๆ เดี๋ยวพี่ไปเล่นด้วย" เราก็เลยลงไปนั่งกับเขาแปปนึง ละก็มีพี่สตาฟลงไปเล่นแทนเรา

ปล. กรณีนี้ เราคิดว่าคุณครูน่าจะพบเจอในห้องเรียน เรามองว่าเด็ก ๆ กลุ่มนี้ต้องการสิ่งที่มายืนยันว่า ณ ที่แห่งนี้เป็นที่ปลอดภัยสำหรับเขา การที่เขามีพฤติกรรมต่อต้านนั่นอาจจะหมายความว่า เขากลัวว่าถ้าเขาทำไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ถ้าหากเราสร้างความไว้ใจให้เขาได้ เขาก็จะยอมเข้าร่วมทุกกิจกรรมค่ะ

Part 2: กิจกรรมวาดรูป

ในแต่ละสัปดาห์จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งเราไปในวันที่เด็ก ๆ จะต้องลงมือวาดรูประบายสีด้วยตัวเอง หลังจากที่เราละลายพฤติกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเด็ก ๆ รู้จักตัวตนของเราแล้ว เด็ก ๆ จะมีความไว้ใจเรามากขึ้น เล่นกับเรามากขึ้น ซึ่งในกิจกรรมนี้เรามีหน้าที่ดูแล จัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็ก ๆ ซึ่งทุกคนทราบดีว่า "สีไม้เป็นสิ่งที่พวกเขาชอบมาก ๆ"

ทันใดนั้นก็มีน้องคนหนึ่งวิ่งเข้ามาหาเรา พร้อมกับกระโดดนั่งที่ตัก แล้วบอกเราว่า "หนูอยากให้ครูเป็นพี่สาวหนู ครูน่ารัก อยู่บ้านหนูเหงา5555" นี่ก็นั่งยิ้มและเล่นกันอยู่พักหนึ่ง และก็ให้เขาไปนั่งระบายสี เราก็ตกตะกอนกับตัวเองว่า " เด็ก ๆ วัยนี้ต้องการพื้นที่ที่ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย ปลอดภัยที่จะกอด ปลอดภัยที่จะพูดหรือเล่าบางอย่างให้อีกคนฟัง ดังนั้น การที่เราแสดงออกถึงความห่วงใย ใส่ใจ ก็จะทำให้เขารู้สึกดีมาก ๆ ที่จะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อได้"

แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นอีกกกกกกก ! ยังไม่จบบบบบ5555555555 ! เหตุการณ์นั้นก็คือ "เกิดการประทะกันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย" เหตุการณ์นี้มีตัวละคร 2 คน คือ เด็กชายไปแกล้งเด็กหญิง โดยเด็กชายเก็บสีไม้ทั้งหมดไปเป็นของตัวเอง ทำให้เด็กหญิงไม่มีสีที่จะระบายภาพที่ตัวเองวาดไว้ เด็กหญิงโมโหมาก นั่งกำหมัดแบบไม่ปล่อย เด็กชายก็คือลอยนวล ทำท่าทีว่าตัวเองไม่ผิด

พอเรารู้ที่มาของเหตุการณ์ทั้งหมด ก็ได้เข้าไปไกล่เกลี่ย จะบอกว่าาาาา "ยากมากกกกกกกกกก 55555555 ท้าทายสุด ๆ กลัวนักเรียนลุกไปต่อยกันมาก ๆ ณ จุดนั้น กลัวจริง ๆ ค่ะ ไม่โม้เลย" แต่แล้วก็คือใช้จิตวิทยาทั้งหมดดดที่มีอยู่พูดคุย โดยวิธีการพูดคุยของเราคือ ใช้น้ำเสียงให้น่ารักและเป็นมิตรที่สุด เพราะฝ่ายหญิงคือโกรธ กำหมัดอยู่ ส่วนฝ่ายชายก็คือทะเล้นสุด ๆ บทสนทนาคร่าว ๆ มีดังนี้

เรา: พี่ขอสีได้มั้ยคะ เห็นมั้ยว่าเพื่อนไม่มีสีระบายเลย คนอื่นก็ไม่มีระบายเหมือนกัน สีมีเท่านี้ แบ่ง ๆ กันใช้น้า ถ้าเพื่อนระบายไม่เสร็จ ก็ไม่มีภาพวาดกลับไปบ้านน้า

เด็กชาย: *ไม่พูดอะไร แล้วก็ยอมให้สีกับฝ่ายหญิง*

เรา: เย้ ได้สีแล้ว เรามาระบายสีกันเถอะ *ซึ่งตอนนั้นจำได้ว่าเราชวนระบายสีทั้งเด็กชายและเด็กหญิง เพราะจะได้ดูเท่าเทียมกัน ไม่สนใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ* //แต่ฝ่ายหญิงก็ยังคงกำหมัดอยู่เหมือนเดิม

เด็กหญิง: หนูไม่ให้อภัย มันแกล้งหนู !

เรา: โอเค ๆ //เราหันไปถามเด็กชายว่า "พี่เห็นนะว่าเราแกล้งเพื่อน ขอโทษกันได้ไหมคะ และคราวหน้าไม่แกล้งกันอีกนะคะ เพราะกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมวาดรูปน้า ไม่ใช่การแกล้งกันนะคะ"

เด็กชาย: //พูดขอโทษ

เด็กหญิง: //ยังคงหน้าบึ้ง และกำหมัดเหมือนเดิม

เรา: เพื่อนขอโทษแล้ว สีไม้ก็ได้แล้ว หายโกรธได้แล้วน้า เนี่ยยยกำหมัดจนมือเจ็บหมดแล้วนะ เดี๋ยวระบายสีไม่ได้นะ //เราก็ค่อย ๆ แกะมือน้องออก จนน้องยอมแบมือ แล้วนั่งระบายสีต่อ

ณ จุดนั้นคืออออออ โล่งงงงงงงงงงงงงค่า555555555 โอ้ยยยย เราใช้พลังงานเยอะมากกก ๆ เราก็เลยคิดว่าคุณครูประถมต้องเหนื่อยมากแน่ ๆ คุณครูเก่งมาก ๆ ค่ะ 🙂

สรุปได้ว่า การเรียนรู้นอกห้องเรียนทำให้เด็ก ๆ ได้พบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย หากครูผู้สอนสร้างความไว้ใจให้กับนักเรียนตั้งแต่คาบแรกได้ดี นักเรียนจะกล้าพูดคุยกับเรา นักเรียนจะรู้สึกว่าเราสามารถช่วยเขาในเรื่องต่าง ๆ ได้

ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ หวังว่าประสบการณ์ของเราจะช่วยทำให้บรรยากาศในห้องเรียนราบรื่นขึ้น 🙂

#karaboonxeducator #กรบขอสอน #ค่ายอาสา #ความไว้วางใจ