Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

#แชร์ประสบการณ์เจ็บป่วย คราวนี้มาในโรค

#แชร์ประสบการณ์เจ็บป่วย คราวนี้มาในโรค "โรคแกะผิวหนัง'จ้า

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
#แชร์ประสบการณ์เจ็บป่วย คราวนี้มาในโรค JPEG Download
#แชร์ประสบการณ์เจ็บป่วย คราวนี้มาในโรค JPEG Download
#แชร์ประสบการณ์เจ็บป่วย คราวนี้มาในโรค JPEG Download
#แชร์ประสบการณ์เจ็บป่วย คราวนี้มาในโรค JPEG Download

มาจ้ามารุมกันค่า เราคิดว่ายังมีใครอีกหลายคนที่เป็นแบบเรา แต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่

เป็นซึมเศร้าไม่พอ ยังมาแกะผิวหนังอีก เบื๊อกจะบ้าตาย

อันนี้เราสืบค้นมา พบข้อมูลจากหลายแหล่งมาก แต่ที่เราคัดลอกมาเล่านี้ ให้เครดิต สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้พิมพ์บทความให้ความรู้ไว้ มีดังนี้ค่ะ แถ่นแท้น

โรคแกะผิวหนัง

Excoriation [skin-picking]disorder.

เป็นโรคที่มีบรรจุใหม่ในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ในปี 2013

จากการศึกษาในต่างประเทศ พบ ประมาณ ร้อยละ 1ใน 5 ของจำนวนประชากร และเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ขาย

อาการหลักของโรคนี้

ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแกะ เกา หรือจิก หรืออะไรก็ได้ทำนองนี้)บริเวณผิวหนังตัวเองซ้ำๆจนเป็นแผล

โดยลักษณะแผลที่พบบ่อย จะเป็นแผลแดงช้ำนูน เป็นแผลเป็น เป็นสะเก็ดซ้ำๆ

ตำแหน่งของแผลที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ ใบหน้า ส่วนอื่นๆที่พบรองลงมาได้แก่ แขน ขา มือ เท้า และหนังศรีษะ พูดง่ายๆว่าทั่วตัวหัวจรดเท้ากันเลยทีเดียว

พฤติกรรมของผู้ป่วยแรกเริ่มเดิมที ก็จะมาจากการที่มีสิว มีตุ่ม เกิดขึ้นจริงๆ แต่หลังจาก ตุ่ม สิว หรือแผลเหล่านั้นหายแล้ว ผู้ป่วยก็จะแกะ เกา จิก จนเกิดแผลขึ้นอีก วนไปซ้ำๆ

และพฤติกรรมแกะเกานี้ ก็มักจะกินเวลารวมๆหลายชั่วโมงต่อวัน และทำแบบนี้ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปี ทำให้แผลไม่หายสักที แถมยังมีแผลใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่พยายามจะเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ แต่ก็อาจเลิกไม่ได้ บางคนเลิกได้แล้วแต่ก็กลับมาทำซ้ำอีก

มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้ป่วยมีความตึงเครียด พอได้แกะเกาจนเป็นแผลแล้วก็จะรู้สึกดี(ฟิน)

ในผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็จะถือเป็นการคลายเครียด หรืออารมณ์ที่ไม่ดี ยิ่งเครียดก็ยิ่งทำ บ่อยมากขึ้น

อาการเหล่านี้นานไปก็จะสร้างความทุกข์ทรมานใจให้ผู้ป่วย เนื่องจาก ร่างกายมีแต่บาดแผล ทั้งกลัวคนอื่นจะรู้ ทั้งอายจากแผลเป็นรอยดำต่างๆที่เกิดขึ้น

แต่ผู้ป่วยที่เป็นก็มักจะไม่ไปหาหมอ นกเว้นว่าแผลจะใหญ่จริงๆ แต่ก็จะเป็นการไปพบแพทย์ผิวหนัง ซึ่งไม่ตรงจุดสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล

การรักษาา ก็จะมีการพบแพทย์และรับยาทางจิตเวช ที่เป็นยากลุ่มยาต้านเศร้าที่คุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยและพิจารณายาให้เป็นเคสๆไป

รวมถึงการทำจิตบำบัด และ พบแพทย์ผิวหนังควบคู่จะได้หายเร็วจึ้น

บทความส่วนหนึ่งจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีตัดทอน เพิ่มคำพูดนิดหน่อย เพราะว่า พิมพ์ไปมา ยาว ..ขึ้เกียจ😂

ส่วนเรา ตอนแรกโดนตัวอะไรสักอย่างกัด เป็นตุ่ม 2 ตุ่ม เมื่อปีที่แล้ว ก็เกาจนเป็นแผลเหวอะใหญ่มาก พอแห้งสีก็เข้ม น่าเกลียด จากนั้นก็ แกะตรงอื่นๆ เรื่อยๆ

ไปถามเภสัช ก็จัดยาเขื้อรามาให้เพราะเลี้ยงแมว แต่แมวตายหมด เอ้า ตุ่มยังขึ้นแผลยิ่งเยอะ ก็แพนิคสิทีนี้ มะเร็งมั้ย เป็นอะไรกันแน่

จนกระทั่งพบหมอครั้งล่าสุดเมื่อ 14 สค 67 คุณพยาบาลถามว่า ทำร้ายตัวเองไหม

ก็เลยมานั่งดูแผลตัวเอง เลยฉุกคิดว่า รึจะเป็นอาการทางจิตเวช

พอค้นคว้าดู โป๊ะเขะ โอเค พยายามหยุดเกาเองก่อน อีก 4 เดือนรอบหน้าพบหมอตามนัด ค่อยเล่าให้หมอฟัง

เอาล่ะ จบละ ใครเป็นแบบเราบ้าง ยกมือขึ้น #โรคผิวหนัง #รักษาโรคผิวหนัง #ติดเทรนด์ #ภาวะซึมเศร้า #โรคทางจิตเวช #โรคแกะผิวหนัง #excoriationdisorder #แชร์ประสบการณ์