Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

ทำไมแบรนด์ถึงไปไม่รอด ?📌

ทำไมแบรนด์ถึงไปไม่รอด ?📌

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
ทำไมแบรนด์ถึงไปไม่รอด ?📌 JPEG Download

ทำไมแบรนด์คุณถึงไปไม่รอด

ทำไมแบรนด์หลายแบรนด์ต้องประสบปัญหาทำแล้วไปไม่ถึงความสำเร็จ

มาลองดูในหลายๆเหตุผล ที่เราไปรวบรวมจาก ประสบการณ์จริงเพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงและประสบความสำเร็จเสียที

Passion ผิดจุด เริ่มต้นสินค้าที่อยากทำ แต่ไม่ได้เริ่มจากลูกค้า

หลายๆคนมักจะเริ่มจากสิ่งที่อยากทำ ฉันอยากทำคาเฟ่ ฉันอยากทำอาหารคลีน อยากเป็น Personal coach คุณเริ่มแบบนั้นไม่ผิดหรอก แต่คำถามคือ ธุรกิจจะไปได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีลูกค้า ดังนั้น ถ้าคุณลองเริ่มต้นจากปัญหาก่อน ว่าลูกค้าเขามี ปัญหาอะไร แล้วตัวคุณหรือธุรกิจคุณเข้าไปช่วยแก้ปัญหานั้นได้ โอกาสที่คุณจะได้ลูกค้าย่อมจะมีมากกว่า

✅ กำหนดลักษณะสำคัญของแบรนด์คุณก่อน โดยเริ่มต้นจาก ปัญหาของลูกค้าและคุณสามารถช่วยแก้ได้

Create Product ผิดที่ สร้างผลิตภัณฑ์/บริการที่เอาใจตัวเองมากกว่า

มุ่งเน้นเฉพาะคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือ? บางคนทำสินค้าเต็มไปด้วย features เยอะแยะเลย

แต่กลับไม่ตรงใจผู้ซื้อ หรือ ไม่ได้รู้ถึงความต้องการจริงๆของลูกค้า ว่าเขาอยากได้อะไร แต่มักคิดเอาเอง

มั่นใจตัวเองมากเกินไป ว่าเรารู้แล้ว สิ่งนี้คือสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเอง ไม่ใช่ลูกค้า

✅ คิดถึงประโยชน์สำหรับผู้ใช้ปลายทางว่าเขาอยากได้ในสิ่งที่คุณอยากให้หรือเปล่า

ลงทุนกับการสร้าง Style Image และ Brand Experience ที่ตัวเองชอบ แต่ไม่ตรงจริตลูกค้าตัวเอง

หลายๆคน มักจะเอาเกณฑ์ที่ตัวเองชอบ สไตล์ที่ตัวเองรัก มาเป็น key ในการกำหนด

สิ่งที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งถ้าโชคดีว่า กลุ่มลูกค้าของเรา Get และมี จริตที่ตรงกัน

ก็ถือว่า ลงตัวมากๆ เพราะคุณไม่ต้องปรับอะไร แต่จากประสบการณ์ในหลายๆเคส

ที่เกิดขึ้น ลูกค้าของแบรนด์มีจริตที่แตกต่างไป และหลากหลาย ทำให้การเลือก สไตล์

หรือการสร้าง ประสบการณ์ของแบรนด์เพื่อให้ลูกค้าชอบ กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ได้อินไปด้วย

และเจ้าของแบรนด์เอง ก็ไม่สามารถที่จะค้นหา หรือ ดึงสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเองเข้ามาสู่แบรนด์ได้

เพราะขาดหลักในการสร้างแบรนด์ Design การออกแบบ ประสบการณ์ที่ดี ที่ถูกต้อง

แบรนด์ขาดคอนเท้นท์ที่ดีพอต่อการสื่อสาร

แบรนด์ของคุณขาดคอนเท้นท์ที่ไปถึงใจลูกค้า มักมีแต่ภาพผลิตภัณฑ์ใน Instagram หรือโพสต์ที่ผลักดันการขายมากเกินไป ใน Fb, Tiktok หรือก็จะพยายามพูดเรื่องถูกกว่า ดีกว่าซึ่งในยุคปัจจุบัน

ลูกค้าให้ความสนใจคอนเท้นท์ขายที่ไม่มีศิลปะในการสื่อสารเพียง 5% เท่านั้น ที่เหลือ การสร้างคอนเท้นท์ที่เข้าถึงใจเป็น ทักษะที่คนทำแบรนด์ ต้องเรียนรู้เพิ่มทั้งสิ้น

เมื่อลูกค้าไม่ซื้อ

จากทั้งหมดที่ได้ลำดับมาก่อนหน้า จึงเป็นเหตุผลที่ลูกค้าไม่ซื้อแบรนด์ และเมื่อลูกค้าไม่ซื้อตามที่คาดไว้ ความสงสัยและความหงุดหงิดเข้ามา และก็อาจจะไม่จบลงที่ไม่อยากทำต่อ ขาดกำลังใจ

หรือขาดงบประมาณที่จะวางแผนสำหรับการแก้ไข เพราะไม่ได้เตรียมแผนสำรองไว้นั่นเอง

ตกอยู่ในความสิ้นหวัง

คนส่วนใหญ่ยอมแพ้เมื่อถึง ตำแหน่งนี้ ความตื่นเต้นกลายเป็นความผิดหวัง และการยอมแพ้ดูเหมือง่ายกว่า หรือถอยออกไปจากสนามการสร้างแบรนด์ ฉันพอละ เลิกดีกว่า

วิธีแก้ ให้แบรนด์คุณกลับมา

แน่นอนคุณต้องรวบรวมความพยายามครั้งใหม่

แต่คราวนี้ของให้มากับสติ และความตั้งใจแบบมีสมองที่เข้าใจมากขึ้นว่าต้องโฟกัสกับอะไรบ้าง

เขียนกลยุทธ์ใหม่

อดทน! กลับไปที่การเขียนในกระดาษ เข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดีขึ้น ค้นหาความต้องการที่แท้จริง ใครคือคู่แข่ง ปรับแต่งbrand บนความต้องการของลูกค้า หรือความเก่งของแบรนด์ที่ทำให้แบรนด์เกิดความชื่นชอบให้เจอ และสร้างแบรนด์ที่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน มีเป้าหมาย

เป้าหมายคืออารมณ์ของลูกค้า

ลองพูดถึงความกลัวและความอยากได้ของลูกค้าของคุณ เป็นมากกว่าแค่ผู้ให้บริการ—เป็นเพื่อนที่ปรึกษา และลองให้คำแนะนำ หรือชี้นำในชีวิตของพวกเขา

นำไปใช้กับช่องทางการตลาด

นำกลยุทธ์ที่ปรับปรุงใหม่ไปใช้กับทุกช่องทางการตลาด ข้อความที่ชัดเจนและสม่ำเสมอจะสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณ

เชื่อมต่อช่องทางให้ซื้อง่าย และมีโอกาสซื้อซ้ำ

นำกลุ่มเป้าหมายของคุณเชื่อมต่อกับแบรนด์ของคุณ ยอดขายจะเติบโต และลูกค้าทิ้งข้อความดีๆ บอกคุณว่าข้อความของคุณช่วยพวกเขาได้อย่างไร จนสามารถพาให้เขาเข้าสู่การซื้อที่ง่าย และสะดวก ซึ่งเดี๋ยวนี้ ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่า Shopee lazada Tiktok หรือ Delivery ต่างๆ ล้วนออกแบบให้คุณสามารถ Partnetship เพื่อทำการซื้อให้สะดวกที่สุด

ข้อคิดสำคัญ:

แบรนด์ส่วนใหญ่ล้มเหลวไม่ใช่เพราะขาดความพยายาม แต่เพราะขาดความเข้าใจในสิ่งที่กระตุ้นการกระทำของลูกค้า ความอดทนและการปรับตัวเปลี่ยนความล้มเหลวเป็นความสำเร็จได้ ขอให้ทุกคนโชคดี

#สร้างแบรนด์ #ธุรกิจ #ธุรกิจออนไลน์ #การตลาด #แบรนด์ดิ้ง