Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

👳🏽‍♂️ เยือนย่าน

👳🏽‍♂️ เยือนย่าน "พาหุรัด" Little India ในถิ่นไทย ✨

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download
👳🏽‍♂️ เยือนย่าน JPEG Download

พาหุรัด ตลาดผ้าชาวอินเดีย สีสันของภารตะที่ฉายภาพวิถีชีวิตของคนกรุงนิวเดลี ย่านการค้าที่พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ขายของกันอย่างอิสระ...

ถ้าคุณอยากซื้อเสื้อผ้า หรืออยากได้ผ้าความยาวหลายเมตรไว้ตัดชุด จะนึกถึงที่ไหน? เราเชื่อว่าหลายคนจะต้องมีลิสต์ชื่อสถานที่ หรือย่านการค้าผุดขึ้นมาในใจหลายสิบชื่อแน่ ๆ และหนึ่งในลิสต์นั้นจะต้องมี "พาหุรัด" แน่นอน เอ๊ะ... แล้วทำไมถ้าอยากซื้อผ้าจะต้องมาพาหุรัดล่ะ? พาหุรัดมีอย่างอื่นมั้ยนอกจากผ้า? ครั้งนี้เราพาไปทำความรู้จัก มุมอื่น ๆ ของพาหุรัดที่ทุกคนอาจไม่รู้มาก่อน พื้นที่เล็ก ๆ เจ้าของฉายา "Little India" เกิดขึ้นมาจากอะไร หากคุณต้องการศึกษาวัฒนธรรมอินเดียอยู่ล่ะก็ เราบอกเลยว่าพาหุรัดคือ หนังสือเล่มเล็กที่ร้อยเรียงเรื่องราววัฒนธรรมของคนอินเดีย หรือ "ชาวภารตะ" ได้อย่างมีเสน่ห์ที่สุด จนคุณไม่อาจวางหนังสือเล่มนี้ลงได้เลย

🔥 อดีต "พาหุรัด" กับเหตุเพลิงไหม้บ้านญวนเมื่อ 130 ปีก่อน 🥀

พาหุรัด ถือเป็นย่านตลาดผ้าที่เก่าแก่ที่สุดของไทยในเขตพระนคร และมีชื่อเสียงว่าเป็นพื้นที่แห่งสีสัน (ของผ้า) ที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตคนอินเดีย หรือชาวภารตะได้ชัดเจนที่สุด เมื่อ 130 ปีก่อนพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นย่านการค้าที่รุ่งเรืองของชาวญวน ทว่าความสวยงามของย่านพาหุรัดกลับไม่ได้เกิดจาก ฝีมือของโยอาคิม กรัซซี สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้สร้างวังบูรพา ให้เป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian) แต่อย่างใด แต่เกิดจากความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาเพลิงไหม้ในชุมชน ที่ตึกรามบ้านช่องติดกันเป็นแนวยาว โดยมีปลายทางคืออัคคีภัยที่สร้างความเสียหายให้กับบ้านของชาวญวนนับไม่ถ้วน

ความเสียหายกัดกินทั่วทั้งบริเวณ จนทำให้เกิดพื้นที่ว่างเป็นทางยาวกว่า 525 เมตร ย่านเศรษฐกิจขาดสะบั้นลงทันทีเมื่อชาวญวนได้ย้ายหนีออกไป แต่ทันทีที่ถนนพาหุรัดถูกสร้างขึ้น เส้นทางที่เหมาะกับการค้าขายและเดินทางขนส่งง่าย ตึกสองแถวถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ ก็ทำให้มีคนจากทางตอนเหนือของอินเดียในรัฐปัญจาบจำนวนมาก เข้ามาจับจองอาคารหาบเร่ขายของตั้งแผงลอยกันอยู่ที่นี่ 

ยุคที่บ้านของชาวญวนได้ถูกเพลิงมอดไหม้ให้อันตรธานลง เส้นถนน "พาหุรัด" ก็เกิดขึ้นมาแทนที่ความว่างเปล่านั้น...

และเพื่อให้พาหุรัดเป็นย่านเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องกับถนนเจริญกรุง จึงมีการขุดคลองข้ามเมืองให้เชื่อมกับสำเพ็ง ซึ่งเป็นย่านการค้าของคนจีน เกิดเป็น "สะพานหัน" ขึ้นมา ทำให้ถนนพาหุรัดและสำเพ็งเชื่อมต่อกัน และนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยนั้น

👚 "พาหุรัด" ตลาดที่ใครก็ต้องนึกถึง เมื่อต้องการมาซื้อผ้า

ความได้เปรียบของพ่อค้าแม่ค้าชาวอินเดีย คือการนำผ้าหลากสีที่นำเข้าจากประเทศอินเดียโดยตรง มาส่งขายที่พาหุรัด ถือเป็นการนำเข้าวัฒนธรรมต่างถิ่น ที่หาดูได้ยาก ผ้าที่ถูกถักทอแต่งแต้มสีสันอย่างมีเอกลักษณ์ ทำให้หลายคนทั้งพื้นที่ใกล้เคียงและห่างออกไปหลงใหล "จะซื้อผ้าต้องมาพาหุรัด" นิยามของเขตการค้าย่านนี้ถูกส่งต่อและผลิตซ้ำต่อไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย และได้รับฉายาว่า "Little India" เนื่องจาก "วัฒนธรรมอินเดีย" ที่เริ่มแพร่หลายภายในย่าน เพราะมีผู้อพยพจากรัฐปัญจาบมาอาศัยอยู่ในย่านพาหุรัดอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันพื้นที่สองข้างทางของพาหุรัด ตกแต่งด้วยตึกพาณิชย์ และประดับด้วยสีสันจากผ้า เสียงบทสวดขับเคลื่อนผู้คนให้ไปรวมตัวกันที่วัดซิกข์ เพื่อทำพิธีกรรมบางอย่าง ชั่วขณะหนึ่งที่เดินผ่านวัดซิกข์คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา เราจะได้ทั้งกลิ่นธูปกลิ่นกำยานในแบบที่ไม่เคยได้กลิ่นมาก่อน หรือแม้แต่ภาษาในบทสวดก็เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ และเมื่อให้กลิ่นนำทางไป เราจะพบว่ากลิ่นนั้นหลุดออกมาจากซอกซอย ที่ถ้าเดินผ่านไปเฉย ๆ เราอาจจะไม่สนใจเลย

👜 สินค้าส่งตรงจาก "ประเทศอินเดีย" ในราคาเป็นกันเอง

หากมองแค่หน้าปกของหนังสือ ภาพรวมของพาหุรัด ก็คงเป็น "ตลาดผ้า" ที่ครึกครื้นตลอดเวลาตามที่คนเล่ากัน แต่เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ตามซอกซอยต่าง ๆ นั้นกลับเป็นชุมชนที่คนอินเดียมากมายอาศัยอยู่ พอถึงหน้าปากซอย กลิ่นกำยานจะถูกกลบด้วยกลิ่นเครื่องเทศจาง ๆ จากซาโมซ่าทอด ภาพสีสันของผ้าเปลี่ยนเป็นสีขนมหวาน ๆ ทั้งขนมลาดู จาเลบี้ ขนมหน้าตาแปลก ๆ ที่แม้แต่ในเซเว่นก็ไม่มีขาย ผู้คนที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพ่อค้าแม่ค้าต้อนรับผู้มาเยือนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

"ดูได้นะจ๊ะ...." ประโยคเชิญชวนดังขึ้นตลอดทางที่เดินผ่าน ซึ่งหากคุณไม่คิดตอบรับคำชวนนั้น ใบหน้าที่เป็นมิตรก็จะยังยิ้มรับตอบกลับมาเสมอ

ไม่ใช่แค่ความต้องการที่จะขายผ้าอย่างเดียว ในพาหุรัดมีครอบครัวชาวอินเดียนับร้อย ที่ต้องการมาตั้งตัวสร้างชีวิตครอบครัวในเมืองไทย ซึ่งในอดีตนั้น "ผ้า" เป็นสิ่งของที่แปลกตา สำหรับคนไทยและทำรายได้สูง คนอินเดียจึงเลือกที่จะเปิดร้านขายผ้า แต่พอเวลาผ่านไปลูกค้าของพาหุรัดกลับไม่ได้มีแค่นักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยและต่างชาติ เมื่อมีคนอพยพมามากขึ้นเรื่อย ๆ "คนอินเดียด้วยกันเอง" จึงเป็นหนึ่งในลูกค้าที่คนในพาหุรัด ต้องหาสิ่งของมาขายเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด ทำให้พาหุรัดเป็นพื้นที่ที่มีของขายจากอินเดียอยู่เยอะมาก ๆ ทั้งกำยาน ธูป รูปปั้นเทพแกะสลัก อุปกรณ์ไหว้เทพ เครื่องแต่งกาย ขนมหวาน อาหารคาว ที่สำคัญ "ราคาเป็นกันเองสุด ๆ"

สุปรียาเจ้าของร้านอุปกรณ์ไหว้เจ้าชาวอินเดียเล่าว่า เธอมาอยู่พาหุรัดกับพ่อแม่ได้ 30 ปีกว่าแล้ว มาแต่งงานกับคนอินเดียที่อยู่ในย่านพาหุรัด แล้วมีครอบครัวกันอยู่ที่นี่ ถ้าให้เปรียบพาหุรัดเป็นเมืองหนึ่งในอินเดีย ก็คงจะเป็น “นิวเดลี” ที่นั่นมีวัดซิกข์เช่นกัน และยังเป็นตลาดผ้าที่ขึ้นชื่อในอินเดีย แต่เพราะเป็นย่านการค้าที่ใหญ่ และเป็นตลาดเสรี การแข่งขันจึงสูงมาก

“ที่ย้ายออกมาเพราะไม่ชอบความวุ่นวาย คนจนก็จนสุด คนรวยก็รวยเกิน หากยูเป็นนักท่องเที่ยวเข้าไปในนิวเดลี ทุกคนจะเรียงหน้าเข้ามาขอเงินยู ความแตกต่างทางฐานะของคนที่นั่นเยอะมาก มันน่าเศร้า ที่ไม่ค่อยมีการช่วยเหลือพึ่งพากัน เพราะต่างคนก็ต้องทำมาหากิน ต่างจากคนไทยที่ช่วยกันซื้อช่วยกันขาย” — สุปรียา

คุณสุปรียาเล่าถึงชีวิตในนิวเดลีอย่างออกรส และแม้จะเป็นการบ่นถึงชีวิตที่ยากลำบากในนิวเดลี แต่เธอก็ยังคงคิดถึงวิถีชีวิตในอินเดียและภูมิใจกับวัฒนธรรมที่เหลืออยู่ในความทรงจำ และเพราะพาหุรัดใกล้เคียงกับที่นั่นมากที่สุด เธอจึงเลือกมาอยู่ที่นี่

"ที่นั่นน่ะสวยนะ รอบ ๆ เป็นตลาดเหมือนสำเพ็งกับพาหุรัดเลย... แถมมีวัดซิกข์ใหญ่ ๆ ยูต้องเคยเห็นผ่านตามาบ้างแน่ ๆ มันถูกพูดถึงในเน็ตเยอะ ไม่เชื่อเปิดรูปในเน็ตดูสิ"

🕸️ เรื่องเล่าจริงส่งตรงจากอินเดีย ศรัทธา ความเชื่อ และวรรณะ

ถึงจะเป็นการอพยพมาอย่างเต็มใจ แต่การมาอาศัยในถิ่นใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับตัว ยิ่งในประเทศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้อย่าง "อินเดีย" ซึ่งมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเรื่องของ ชนชั้นวรรณะ ที่ทำให้ชาวอินเดียต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก เมื่อครั้งที่พวกเขาอยู่อินเดีย แม้จะมีการประกาศยกเลิกระบบวรรณะไปแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ความเชื่อก็ยังดำเนินอยู่ในสังคม แต่เมื่อมาอยู่ไทย การแบ่งแยกใครสักคนให้เป็นชนชั้นผู้น้อยในสังคมไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเลย "ไม่พูดคุยกันแต่ไม่มีท่าทีรังเกียจ" จึงเป็นพฤติกรรมที่เป็นกลางที่สุด เมื่อมาอยู่ชุมชนในย่านนี้

คุณไซโก้ เจ้าของร้านรูปปั้นเทพแกะสลักเล่าว่า คนที่นี่อยู่กันแบบครอบครัวมาก ๆ และพื้นเพเดิมเป็นคนขยัน เขาเชื่อว่าการที่เขาเกิดมาลำบาก เป็นชนชั้นผู้น้อยในสังคม เป็นเพราะโชคชะตากำหนดมา เพราะงั้น “ความเพียร” จะช่วยค้ำจุนไม่ให้พวกเขาจมดิ่งยิ่งกว่าเดิม

“พวกเขากตัญญูมาก ๆ ต้องเชื่อพ่อแม่ทุกอย่าง ทั้งการงาน เงินทอง การตัดสินใจ หรือแม้แต่เรื่องความรักก็เช่นกัน” — ไซโก้

🍂 “รักต่างวรรณะ” ชีวิตจริงที่เศร้ายิ่งกว่าเรื่องเล่าของเชกสเปียร์

คุณคิดว่าความรักของโรมิโอและจูเลียตเป็นเรื่องน่าสนับสนุนไหม? หากเป็นคนนอกที่มองย้อนกลับไป โศกนาฏกรรมของทั้งคู่ถือเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้เรารู้สึก “อิน” จนเห็นด้วยและคล้อยตาม แต่หากมองในมุมของคนอินเดีย อิทธิพลจากสังคมที่ส่งผลกระทบต่อวงศ์ตระกูล มีเหตุผลมากพอที่จะยืนยันว่าความรักของทั้งคู่นั้น “ไม่เหมาะสม” 

วรรณกรรมของเชกสเปียร์อาจจะเป็น “รูปธรรม” ที่สะท้อนความเจ็บปวดของคนอินเดียได้ดีที่สุด หากแต่ไม่ใช่แค่เรื่องความบาดหมางของคนสองตระกูล แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างวรรณะ (Caste) ที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณไซโก้เป็นคนจีนที่ได้แต่งงานกับคนอินเดีย และเคยมีโอกาสไปใช้ชีวิตที่อินเดียมาก่อน ก็อธิบายถึงประสบการณ์ที่เคยเจอในอินเดียด้วยสีหน้าจริงจัง

.

.

“ตอนอี๊อยู่ที่อินเดีย แม้เขาจะออกกฎหมายยกเลิกระบบวรรณะกันไปแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมีการแบ่งแยกชนชั้นกันอย่างรุนแรง มันเป็นเรื่องยากมากที่คนจากต่างวรรณะจะรักกัน”

“เจ้าสาวถูกจับคลุมถุงชนกับผู้ชายที่ทางตระกูลหามาให้เท่านั้น”

“ถ้ามีใครที่รักกับคนต่างวรรณะ เขาจะต้องออกจากตระกูลทันที โดยจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ อาศัย หรือที่พึ่งพิงใด ๆ จากเครือญาติอีกเลย”

"หนีตามกันไป" เท่านั้นที่จะประคองให้รักดำรงต่อไป และที่นี่ “พาหุรัด” คือจุดหมายปลายทางของนักรักต่างวรรณะหลายคู่ ที่พวกเขาสามารถแสดงความรักในพื้นที่สาธารณะได้อย่างอิสระ

🧩 เมื่อคนอินเดียเยือนถิ่นไทย หนึ่งย่านหลายวัฒนธรรม สังคมที่ไร้พรมแดน

คุณสุปรียาเล่าว่า ตอนที่มาไทยครั้งแรก สิ่งที่ชอบที่สุดคือสังคมที่เฟรนด์ลี่แม้จะไม่ใช่คนชาติเดียวกัน ลูกค้าที่พาหุรัดซื้อง่ายขายง่ายมาก ๆ อีกทั้งสภาพอากาศที่กำลังดี ไม่เหมือนในกรุงนิวเดลีที่หนาวก็หนาวสุด ร้อนก็ร้อนสุด อย่างในตอนนี้อากาศในเมืองไทย 33 องศา กลางคืน 27 องศา แต่ที่นิวเดลี เช้า 36 องศา ตกเย็นมาสภาพอากาศผกผันเป็น 23 องศา ซึ่งเป็นอากาศที่หนาวเย็นสำหรับคนไทย นอกจากสภาพอากาศของไทยที่ค่อนข้างอบอุ่นกำลังดีสำหรับคนอินเดียแล้ว "ความเป็นกันเอง" เหมือนคนในครอบครัวของคนในพื้นที่ ก็ทำให้ชาวภารตะที่มาอาศัยอยู่ที่นี่ อบอุ่นใจเช่นกัน

หากเป็นอินเดีย การมีชาวต่างชาติร่วมอาศัยและขายของอยู่ในละแวกใกล้เคียงกันอาจเป็นเรื่องไม่สบอารมณ์นัก แต่พาหุรัดไม่มีกรอบวัฒนธรรมเช่นนั้น ที่นี่มีทั้งคนจีน คนไทย และอินเดีย รวมไปถึงแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา หรือลาว และเวียดนามเดินอยู่เต็มไปหมด

เมื่อมาอยู่พาหุรัด ไม่ว่าจะต่างชนชาติ อายุ วรรณะ หรือรูปลักษณ์ ก็ไม่ใช่คำจำกัดความที่จะทำให้เกิด "การแบ่งแยก" อีกต่อไป...

📖 "Little India" ชื่อนี้มีแค่ที่เดียวในเมืองไทย

หากคุณนึกอยากจะซื้อผ้า อาจมีลิสต์รายชื่อย่านการค้ามากมายหลั่งไหลออกมาจากความทรงจำ... แต่ถ้าอยากศึกษาวัฒนธรรม รสชาติอาหารที่แตกต่าง วิถีชีวิตชาวอินเดีย ความศรัทธาของคนซิกข์ คุณจะสัมผัสจากที่อื่นไม่ได้แน่นอน ผ่านมากว่า 100 ปีแล้ว ที่พาหุรัดมีคนอินเดียเข้ามาอาศัยอยู่ หากแต่วันนี้พาหุรัดไม่ได้เป็นเพียงตลาดผ้าสีสันจัดจ้าน แบบที่เรารู้จักหรือเคยได้ยินอีกต่อไป

ตามซอกซอยยังมีเรื่องราววัฒนธรรมคนอินเดียอีกมากมาย ที่รอให้นักท่องเที่ยวภายนอกลองเข้ามาเยือนดูสักครั้ง สินค้าส่งตรงจากอินเดีย ตึกรามบ้านช่องที่ถูกปรับปรุง เรื่องราวชนชั้นวรรณะที่ถูกเล่าขึ้นใหม่ "พาหุรัด" คืออินเดียแบบใหม่ที่เราไม่รู้จัก "Little India" ท่ามกลางวัฒนธรรมและสังคมที่หลากหลาย และนี่จะเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่เมื่อคุณเปิดอ่านแล้วยากจะลืมเลือน

ถนน พาหุรัด

#เที่ยวไหนดี #วัฒนธรรม #พาหุรัด #ของกินพาหุรัด

#ประวัติศาสตร์