Téléchargeur vidéo Lemon8

Le moyen le plus simple de télécharger des vidéos et des galeries à partir de l'application Lemon8

วัดนางชี ภาษีเจริญ

วัดนางชี ภาษีเจริญ

Bureau : cliquez avec le bouton droit de la souris et sélectionnez "Enregistrer le lien sous..." pour télécharger.

VIDEO
MP4 Original Video Télécharger
PHOTOS
วัดนางชี ภาษีเจริญ JPEG Télécharger

ประวัติของวัดแบบคร่าวๆ วัดนางชีเป็นวัดโบราณ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาช่วงกลาง ๆ มีผู้ร่วมสร้าง คือ เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรี พระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร

มีเรื่องเล่าแบบตำนานว่าเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรี มีลูกสาวชื่อแม่อิ่ม ป่วยไม่รู้สาเหตุ รักษาไม่หาย มีชีปะขาวมาเข้าฝันให้เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีบนเพื่อให้ลูกสาวหายป่วย โดยการให้ลูกสาวบวชชี เมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชี พร้อมกับสร้างวัดนี้และเสนาสนะต่างๆ ขึ้น เช่น อุโบสถ วิหาร เจดีย์ พระปรางค์ และศาลาการเปรียญ

ต่อมาวัดได้ร้างไปในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ ส่วนสาเหตุที่ชื่อ “วัดนางชี” นั้น มีเรื่องเล่าว่า ปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในมีความขัดแย้งกัน สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีในสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินีในรัชกาลที่ 1 จึงทรงไปผนวชเป็นชี และทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เป็นที่มาของชื่อวัดนางชีนับแต่นั้น

ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ท่านพระยาโชฎึกราชเศรษฐีมีจิตศรัทธาร่วมบูรณะปฎิสังขรณ์ด้วย โดยทำเป็นศิลปะแบบจีนประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบประดับมุก ลับแลฝีมือจีน ฯลฯ ถวายให้เป็นสมบัติของวัดนางชี แต่ปัจจุบันไม่มีซากหลงเหลืออยู่ จะมีก็แต่องค์พระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธรูปปางต่างๆ ในโบสถ์ เจดีย์คู่วัด และพระปรางค์

พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบูรณะใหญ่อีกครั้งในรูปแบบ “ราชนิยม” โดยพระยาราชานุชิต (จ๋อง) ซึ่งตอนนั้นวัดทรุดโทรมทั้งอาราม ไม่ว่าอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะต่างๆ ให้รื้อของเก่าและสร้างขึ้นใหม่ตามศิลปะพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทำการค้าขายกับจีน ทำให้สยามมีความมั่งคั่งมาก รัชกาลที่ 2 มักเรียกท่านว่า เจ้าสัว ทรงโปรดปรานการสร้างวัดที่มีลวดลายและศิลปะแบบจีนมาก ที่เด่นชัด ก็คือ ไม่มี ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่จะเป็นปูนปั้น หน้าบันก็มีลวดลายตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบจากจีน วิทยาการการก่อสร้างก็พัฒนาขึ้นมาก มีเสาพาไลรับน้ำหนัก มักจะเป็นเสาเหลี่ยมขนาดใหญ่ ไม่มีบัวปลายเสา ผนังก็เจาะหน้าต่างได้มาก มีลวดลายปูนปั้นเหนือขอบหน้าต่าง ประตู ซุ้มประตูโค้งแบบจีน

นอกจากนี้ รัชกาลที่ 3 ยังได้พระราชทานเครื่องเคลือบรูปเรือสำเภา สัญลักษณ์ของการค้าขายที่สั่งทำมาจากเมืองจีน ให้แก่วัดนางชี 1 คู่ ประดับอยู่ที่หน้าบันพระวิหารที่สร้างตามศิลปะจีน พร้อมกับทรงยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานนามว่า วัดนางชีโชติการาม อีกทั้งยังได้พระราชทานเสาหินเทียบเรือพระที่นั่ง ทรงสั่งมาจากประเทศจีนให้แก่วัดนางชี ปัจจุบันทางวัดได้นำมาขึ้นเสาป้ายหน้าวัด

สิ่งสำคัญในวัด คือ พระวิหาร หน้าประตูทางเข้า-ออก มีตุ๊กตาจีนตั้งอยู่ ประตูลงรักปิดทอง บานประตูเป็นรูปทวารบาลหรือเสี้ยวกางเหยียบสิงห์ ด้านในเป็นพระประธานและจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุม โดยเฉพาะพระประธานเป็นปางสมาธิ แต่ล้อมด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ แต่ที่ด้านหลังพระประธานเป็นปางไสยาศน์

ได้รับการบอกเล่าจากพระที่ดูแลวัด ว่าวัดแห่งนี้จัดงานบุญประจำปีที่ปฏิบัติกันมานานเป็นร้อยปีแล้ว คือ “งานชักพระวัดนางชี” แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น “งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ” โดยชาวบ้านเชื่อว่าถ้าปีใดไม่มีการจัดประเพณีชักพระขึ้น จะเกิดอาเพศขึ้นในชุมชน ชาวบ้านจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือภัยพิบัติต่างๆ วันที่จัดงานจะถือเอาข้างขึ้นข้างแรมเป้นสำคัญ ไม่ได้ถือเอาวันที่

คือจะจัดในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรือจำแบบง่ายๆ หลังวันลอยกระทงหนึ่งวัน ทางวัดจะจัดให้มีงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกขึ้นประดิษฐานยังบุษบกที่อยู่บนเรือ แล้วชักแห่จากหน้าวัดไปทางคลองด่าน เลี้ยวซ้ายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านมาช่วงปลายคลองซึ่งเรียกว่า “คลองชักพระ” ไปทะลุคลองบางกอกน้อย พอถึงวัดไก่เตี้ยจะเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนที่ซึ่งทางวัดจัดไว้ เพื่อให้ชาวบ้านสักการบูชา หลังจากนั้นยกขบวนล่องไปยังปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองบางกอกใหญ่ แล้ววกเข้าคลองด่าน กลับมายังวัดนางชีโชติการาม ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “แห่อ้อมเกาะ” ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวฝั่งธนบุรี ได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน #ขอบคุณข้อมูลจากมติชน

เราว่าที่นี่เป็นวัดที่สงบ ไปวัดเดียวได้กราบทั้งพระพุทธรูป ปางเลไลก์ กราบเจ้าแม่กวนอิม สักการะท้าวเวสสุวรรณ รวมถึงเคารพแม่ชีที่สร้างวัดด้วย #เที่ยววัด #สายบุญ #งดทำขนมแปป