Tải Video Lemon8

Cách dễ nhất để tải video Lemon8 và tải ảnh từ ứng dụng Lemon8

DCA คืออะไร ใช้แล้วได้กำไรจริงหรือ

DCA คืออะไร ใช้แล้วได้กำไรจริงหรือ

Máy tính: Nhấp chuột phải và chọn "Save link as..." để tải xuống.

PHOTOS
DCA คืออะไร ใช้แล้วได้กำไรจริงหรือ JPEG Tải xuống

เชื่อว่านักลงทุนทั้งหลาย คงจะเคยได้ยินวิธีการลงทุนแบบ DCA กันมาบ้างใช่มั้ยครับ หรือบางคนอาจจะกำลังใช้อยู่ แต่นักลงทุนทราบกันมั้ยครับ ว่า DCA นั้นทำงานอย่างไร ทำไมการซื้อแบบ “ไม่สนใจราคา” ถึงทำให้เรามีกำไรได้ คอนเทนต์นี้จะอธิบายให้ฟังครับ

คำว่า DCA นั้น ย่อมาจาก Dollar-Cost Averaging เป็นวิธีการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน คือไม่สนใจว่าราคาของสินทรัพย์นั้นจะเป็นเท่าไหร่ เพียงตั้งหน้าตั้งตาซื้อสะสมไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ เดี๋ยวต้นทุนจะถัวเฉลี่ยกันไปเอง แล้วเมื่อถึงจุดหนึ่งจะสามารถทำกำไรได้

ซึ่งถึงแม้ชื่อของมันจะพูดถึง “ต้นทุน” แต่ความจริงสิ่งที่การลงทุนชนิดนี้สนใจคือ Volume หรือ “จำนวน” ของสินทรัพย์นั้นมากกว่าครับ (เราถึงซื้อแบบไม่สนใจราคา) เนื่องจากเราไม่ได้มีเงินก้อนใหญ่พอที่จะซื้อสินทรัพย์นั้นในปริมาณเยอะๆ ในครั้งเดียว ซึ่ง DCA เป็นการรวมการซื้อ 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือในยามที่ราคาเป็นขาขึ้น จะเหมือนการตามซื้อสินทรัพย์ที่ถูกไล่ราคา ที่ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยเราสูงขึ้น (แต่ยังได้กำไรอยู่) แต่ในยามเป็นขาลง จะเหมือนการซื้อถัวต้นทุน ที่ทำให้เราติดดอยไม่สูงเกินไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เรามีเวลาสะสมจำนวนสินทรัพย์ จนมีปริมาณมากพอที่จะทำกำไรแบบเป็นกอบเป็นกำ ตอนที่ราคากลับตัว

ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นกรณีของหุ้น สมมุติว่าผมตั้งใจจะซื้อหุ้นตัวหนึ่งด้วยวิธี DCA โดยใช้เงิน 1,000 บาททุกเดือน สมมุติในเดือนแรก ราคาของหุ้นตัวนี้อยู่ที่หุ้นละ 8 บาท งบ 1,000 บาทของผม ก็จะซื้อได้ 125 หุ้น

จากนั้นเมื่อถึงเดือนที่ 2 ราคาของหุ้นตัวนี้เกิดขยับขึ้นไปเป็น 10 บาท งบ 1,000 บาทของผม ก็จะซื้อได้อีก 100 หุ้น ทำให้ตอนนี้ผมมี 225 หุ้น จากทุน 2,000 บาท ทุนเฉลี่ยหุ้นละ 8.89 บาท

จากนั้นในเดือนที่ 3 และ 4 หุ้นตัวนี้ก็ยังหยุดนิ่งอยู่ที่ 10 บาทเหมือนเดิม โดยผมซื้อเพิ่มได้อีกเดือนละ 100 หุ้น ส่งผลให้หุ้นในพอร์ตผมขยับขึ้นมาเป็น 425 หุ้น จากทุน 4,000 บาท เฉลี่ยหุ้นละ 9.41 บาท และได้กำไรราคาอยู่ 6.25%

จากนั้นในเดือนที่ 5 ปรากฏว่าราคาหุ้นเกิดปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 8 บาท ทำให้เดือนนี้ผมกลับมาซื้อได้ 125 หุ้น จำนวนหุ้นในพอร์ตผมเพิ่มขึ้นมาเป็น 550 หุ้น จากทุน 5,000 บาท เฉลี่ยหุ้นละ 9.09 บาท แต่มูลค่ารวม -12% ตามรายละเอียดด้านล่าง

💰เดือนที่ 1 / ราคาหุ้น 8.00 / ทุน 1,000 / จำนวนหุ้น 125 / ทุนเฉลี่ย 8.00 (Capital Gain 0%)

💰เดือนที่ 2 / ราคาหุ้น 10.00 / ทุน 1,000 (รวม 2,000) / จำนวนหุ้น 100 (รวม 225) / ทุนเฉลี่ย 8.89 (Capital Gain +12.5%)

💰เดือนที่ 3 / ราคาหุ้น 10.00 / ทุน 1,000 (รวม 3,000) / จำนวนหุ้น 100 (รวม 325) / ทุนเฉลี่ย 9.23 (Capital Gain +8.33%)

💰เดือนที่ 4 / ราคาหุ้น 10.00 / ทุน 1,000 (รวม 4,000) / จำนวนหุ้น 100 (รวม 425) / ทุนเฉลี่ย 9.41 (Capital Gain +6.25%)

💰เดือนที่ 5 / ราคาหุ้น 8.00 / ทุน 1,000 (รวม 5,000) / จำนวนหุ้น 125 (รวม 550) / ทุนเฉลี่ย 9.09 (Capital Gain -12%)

นั่นเป็นเพราะผลของการวิ่งตามราคาในขาขึ้นครับ แต่สมมุติเดือนที่ 5 ว่าหนักแล้ว พอถึงเดือนที่ 6 ราคาของหุ้นตัวนี้เกิดดิ่งหนัก ลงมาเหลือหุ้นละ 4 บาท ทำให้พอร์ตผม -56% ทันที ซึ่งถ้าผมตัดสินใจเปลี่ยนแผน Cut Loss ตรงนี้ ผมจะขาดทุนทันที 2,800 บาท (จากทุน 5,000 บาท) แต่ผมเป็นนักลงทุนที่เข้าใจใน DCA จึงยกมือไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปหนึ่งที แล้วซื้อต่ออีก 1,000 ซึ่งที่ราคานี้ซื้อได้ถึง 250 หุ้น ทำให้ตอนนี้ผมมีหุ้นในพอร์ตเพิ่มขึ้นมาเป็น 800 หุ้น เฉลี่ยหุ้นละ 7.50 บาท ขาดทุนเป็น -46%

จากนั้นในเดือนที่ 7 และ 8 ราคาก็ยังจอดนิ่งอยู่ที่ 4 บาทเหมือนเดิม ทำให้ผมซื้อเติมได้เดือนละ 250 หุ้น จำนวนหุ้นทั้งหมดเพิ่มขึ้นมาเป็น 1,300 หุ้น ทุนเฉลี่ยลงมาเหลือหุ้นละ 6.15 บาท มูลค่ารวม -35%

แล้วในเดือนที่ 9 ฟ้าก็เริ่มเห็นใจ ส่งให้ราคาหุ้นตัวนี้รีบาวด์กลับขึ้นมาเป็น 6 บาท ทำให้ผมซื้อเพิ่มได้ 166 หุ้น จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 1,466 หุ้น เฉลี่ยหุ้นละ 6.13 บาท แต่พอร์ตติดลบเหลือแค่ -2.27%

ก่อนที่เดือนที่ 10 ราคาหุ้นจะวิ่งกลับมาอยู่ที่ 8 บาท ทำให้ผมซื้อเพิ่มได้อีก 125 หุ้น จำนวนหุ้นรวม 1,591 หุ้น ทุนเฉลี่ยหุ้นละ 6.28 บาท หรือเท่ากับ +27.28% ตามรายละเอียดด้านล่าง

💰เดือนที่ 6 / ราคาหุ้น 4.00 / ทุน 1,000 (รวม 6,000) / จำนวนหุ้น 250 (รวม 800) / ทุนเฉลี่ย 7.50 (Capital Gain -46.67%)

💰เดือนที่ 7 / ราคาหุ้น 4.00 / ทุน 1,000 (รวม 7,000) / จำนวนหุ้น 250 (รวม 1,050) / ทุนเฉลี่ย 6.67 (Capital Gain -40%)

💰เดือนที่ 8 / ราคาหุ้น 4.00 / ทุน 1,000 (รวม 8,000) / จำนวนหุ้น 250 (รวม 1,300) / ทุนเฉลี่ย 6.15 (Capital Gain -35%)

💰เดือนที่ 9 / ราคาหุ้น 6.00 / ทุน 1,000 (รวม 9,000) / จำนวนหุ้น 166 (รวม 1,466) / ทุนเฉลี่ย 6.13 (Capital Gain -2.27%)

💰เดือนที่ 10 / ราคาหุ้น 8.00 / ทุน 1,000 (รวม 10,000) / จำนวนหุ้น 125 (รวม 1,591) / ทุนเฉลี่ย 6.28 (Capital Gain +27.28%)

จะเห็นได้ว่า พอราคาเปลี่ยนเป็นขาลง การซื้อแบบ DCA จะกลายเป็นการซื้อถัว ที่ทำให้ได้จำนวนหุ้นมากกว่าเดิม สุดท้ายพอร์ตเลยพลิกกลับมาเป็น +27.28% ได้ ซึ่งถ้าผมเคลียร์พอร์ตที่ตรงนี้ ผมจะได้กำไรทั้งหมด 2,728 บาท จากการลงทุนในหุ้นตัวนี้เดือนละ 1,000 เป็นเวลา 10 เดือน โดยที่ราคาสุดท้ายกลับมาอยู่ที่เดิม

นี่คือความพิเศษของการลงทุนแบบ DCA ครับ คือการเปลี่ยนเงินออมก้อนเล็กๆ มาเป็นการลงทุนสะสมอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ยอมให้ทุนเฉลี่ยอยู่ห่างจากราคาปัจจุบัน เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาที่จะขาย จะได้มีจำนวน Volume มากพอ ที่จะได้กำไรแบบเป็นกอบเป็นกำ

แต่ก็ใช่ว่า DCA จะไม่มีความเสี่ยง เพราะถ้าดูจากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นว่าช่วงที่พอร์ตเสียหายหนักๆ คือช่วงที่ DCA ในขาขึ้น แล้วราคาเกิดกลับตัว แม้การตาม DCA ต่อ จะทำให้สุดท้ายสามารถกู้สถานการณ์กลับมาได้ก็ตาม แต่สำหรับสินทรัพย์บางประเภทนั้น ราคาอาจไม่ได้กลับตัวขึ้นง่ายๆเหมือนตัวอย่าง แต่อาจใช้เวลาเป็นปีๆ หรืออาจเป็น 10 ปี เช่น กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ หรือพวกหุ้นกลุ่มวัฏจักร เป็นต้น

ดังนั้น มันก็น่าจะดีกว่าครับ ถ้าเราเริ่ม DCA ตอนที่ราคาอยู่ในโซนถูก หรือแม้แต่เป็นขาลง เพราะจะทำให้ได้ Volume เยอะกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของการลงทุนแบบ DCA เพื่อรอทำกำไรตอนที่ราคาปรับตัวขึ้นอีกรอบ

#หุ้น #หุ้นมือใหม่ #หุ้นปันผล #ลงทุน #ลงทุนอะไรดี #การเงิน #การลงทุน #การเงินการลงทุน #ทริคบริหารเงิน #ชีวิตคือการลงทุน