Lemon8 Video Downloader

The easiest way to download video and gallery from Lemon8 app

การพูดคือทุกสิ่ง

การพูดคือทุกสิ่ง

Desktop: Right-Click and select "Save link as..." to download.

PHOTOS
การพูดคือทุกสิ่ง JPEG Download

50 กฏที่ไม่เคยเปิดเผย ช่วยเปลี่ยนวิธีพูด

ของผู้บริหารและประธานบริษัทกว่า 1,000 คน

โดย "ครูสอนพิเศษที่บ้านในตำนาน"

.

Bestseller จากญี่ปุ่นเล่มนี้ เป็นผลวิจัย

และประสบการณ์จริง สรุปเป็นประเด็นสั้น

เข้าใจง่าย สำคัญ ลึกซึ้ง และทำได้จริง

.

นักเขียนสอนผู้บริหารมากกว่า 1,000 คน

เป็นอดีตนักหนังสือพิมพ์ที่ได้สัมภาษณ์ผู้นำ

ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ

.

ผู้ถือดีกรีปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์

ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

เคยเป็นนักวิจัยเรื่องการสื่อสารในยุอินเทอร์เน็ต

จากสถาบันMIT และนักวิจัยเทคนิคการต่อรอง

ที่ฮาวาร์ดลอว์สคูล ณ เมืองแมสซาชูเซตส์

ฝึกการพูดในเวิร์คช็อปที่นิวยอร์ค

.

จากที่เป็นคนประมาทจนเหงื่อแตก

เมื่อต้องพูดนำเสนอ พลิกเป็นผู้สื่อสาร

ได้สบายเหมือนแค่สูดลมหายใจ

.

.

"แค่เปลี่ยนวิธีพูด ชีวิตก็เปลี่ยนด้วย"

ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม

▶️ 1

แม้จะลืม "เนื้อหาที่สนทนากัน"

แต่ "ความประทับใจ/ความรู้สึก" ยังคงอยู่

.

เมื่อได้คุยกับผู้บริหารในต่างประเทศ

มักจะตกใจกับความฉลาดของ "วิธีเริ่ม"

บทสนทนา พวกเขาเข้าหาผู้ฟังด้วยรอยยิ้ม

ที่สดใสและทักทายว่า "How are you?"

แล้วคุยเรื่องส่วนตัว เช่น เรื่องครอบครัว

อย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้รู้สึกใกล้ชิดได้รวดเร็ว

และสร้างมิตรภาพได้

.

พวกเขาทราบดีว่าในการสื่อสารสิ่งที่สำคัญกว่า

"การพูดอะไร" คือ "ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร"

.

ไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดหรือสิ่งที่คุณทำ

แต่ส่วนใหญ่พวกเขาจะจำว่า "รู้สึกอย่างไร"

การคุยเล่นเป็นการ "คว้า"โอกาสที่จะสร้าง

"ความรู้สึก/ความประทับใจ" และเป็น

"ช่วงเวลาแห่งการดึงดูดใจคน"

.

.

▶️ 2

"การพูด" คือการ "ผละ" จาก "มุมมองของตัวเอง"

"ผู้ฟัง" จะได้รับลูก "ที่รับได้ง่าย"

.

การสื่อสาร (Commuunication)

ที่มาจากภาษาละตินแปลว่า "การแบ่งปัน"

เป็นการส่งและรับข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย

.

เมื่อเกิด "ปฏิกิริยาทางเคมี" บางอย่าง

จะสื่อถึงกันได้ และคนก็จะเคลื่อนไหว

.

คนเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่รับเฉพาะ

"ข้อมูลที่ตัวเองอยากฟังเท่านั้น"

.

ถ้าคุณอยากเปิด "ประตูใจของผู้ฟัง"

ก่อนอื่นต้องทำให้กุญแจซึ่งก็คือ

ตัวคุณเข้ากับ "รูกุญแจ" ซึ่งก็คือผู้ฟังให้ได้🔐

.

.

▶️ 3

คนทั่วไปขยับ "ปาก" แต่คนชั้นแนวหน้ขยับ"ตาและหู"

.

คนเรามาคุยเรื่องตัวเองมากกว่าฟังเรื่อง

ของคู่สนทนา บทสนทนาของคนเรา 60%

จะคุยเรื่องตัวเอง ในสื่อโซเชียล80%

ก็เป็นการคุยเรื่องของตัวเอง

.

การคุยเล่นหรือการสนทนาไม่ใช่ "การคุย"

แต่เป็นการ "ตั้งคำถาม" และการ "ฟัง"

สรุปสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากกว่าการเปิดปาก

คือการเงี่ยหูฟัง👂

.

หูกับตามีสองข้าง แต่ปากมีเพียงหนึ่งเดียว

เราควรฟังและมองตาของคู่สนทนามากกว่า

เวลาพูดสองเท่า👄

.

.

▶️ 4

การคุยเล่นต้องพัฒนาด้วย "พลังแห่ง 'W'"

ฝึกฝนการตั้งคำถามที่ขึ้นต้นด้วย "W"

.

คำถามที่เริ่มต้นด้วย "6W1H"

(What-อะไร, Who-ใคร, When-เมื่อไหร่,

Where-ที่ไหน, Why-ทำไม, Which-แบบไหน,

How-อย่างไร) ทั้งหมดนี้เป็น "คำถามปลายเปิด"

ไม่ว่าคำไหนก็เป็นคำที่ขึ้นต้นด้วย "W"

.

หากคุณจำแค่6คำถามนี้ก็เอาตัวรอด

ในการสนทนา 5 นาที 10 นาทีได้อย่างไม่ยุ่งยาก

.

.

▶️ 5

ยิ่งใช้ "คำถาม 4 ประเภท" ซ้ำไปซ้ำมา

บทสนทนาจะไม่ขาดตอน

.

📍คำถามเปิดการสนทนา เช่น สบายดีไหม

เป็นคนที่ไหน?

📍คำถามถามกลับ ถามด้วยเรื่องเดียวกับที่ได้ฟัง

📍คำถามต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คู่สนทนาพูด

📍คำถามเปลี่ยนเกียร์ ที่เปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปเลย

.

ใช้วงจรแบบ ถาม-ฟัง-ถาม-ฟัง-เล่าเรื่องตัวเอง

วนไปเท่านี้ ทุกคนก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการคุยเล่น

ได้อย่างรวดเร็ว😄

.

.

▶️ 6

หาเรื่องคุยที่ทำให้ผู้ฟังยินดีด้วย "กฏสินค้ายอดนิยม"

.

เคล็ดลับของการคุยเล่นหรือการสนทนา

อย่างสนุกสนานคือ การเรียนรู้จาก "กฏยอดนิยม"

คุณควรเลือกเรื่องสนทนาเกี่ยวกับ "สิ่งใกล้ตัว"

เกี่ยวข้องกับ "ปัญหา" หรือ "กำไรขาดทุน"

"สะดวก" และ "มีผลกระทบ"สำหรับคู่สนทนา

.

.

▶️ 7

ตะครุบ "ความสนใจ"ของผู้ฟังด้วย "กฏข่าวเช้า"

.

📍ตามกระแส สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงฮิต

📍มีชื่อเสียง คนหรือบริษัทที่มีชื่อเสียง

📍 ความยากลำบาก ความผิดพลาด ความขัดแย้ง

📍 ความรู้สึก เรื่องที่สร้างความรู้สึกตกใจ โกรธ หรือดีใจ

📍สารภาพ ความลับ เรื่องที่เล่าเป็นครั้งแรก

📍ความเปลี่ยนแปลง อะไรบางอย่างใหม่ๆสิ่งที่เพิ่มและลด

.

.

▶️ 8

สื่อสารว่า "คุณยอดเยี่ยมมาก" ไม่ใช่ "ฉันสุดยอดเลย"

.

ไม่ว่าใครก็อยากได้รับคำชื่นชมมากกว่า

ฟังคำโอ้อวดของคนอื่น พูดตรงๆก็คือ

ผู้ฟังอยากฟังว่า "คุณยอดเยี่ยมมาก"

ไม่ใช่ "ฉันสุดยอดเลย"

.

ตอนที่คุณเล่าเรื่องตัวเองจึงไม่ควรจบแค่อวด

ตัวเองแต่ให้ถ่ายทอด "คุณค่าของคู่สนทนา"

อย่างหนักแน่น

.

เคล็ดลับของการคุยเล่นเพียงฝึก "วิธีชม"ให้เก่ง

ความเป็นที่ชื่นชอบจะเพิ่มขึ้นทันที

.

.

▶️ 9

ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีด้วยกฏ "เห็นรู้ยกรู้"

.

กุญแจสำคัญคือการชมที่รวม 4 สิ่งเข้าด้วยกันได้แก่

📍"เห็นชอบ(ยอมรับ)" สังเกตเห็น ยอมรับตัวตน

และการกระทำของคู่สนทนา

📍"รู้สึกร่วม" การยอมรับ เห็นด้วย เห็นพร้อมกับ

ความรู้สึกหรือความเห็นของผู้ฟัง

📍"ยกย่อง(ชื่นชม)" การชมจุดเด่น

📍"รู้สึกขอบคุณ" พูดขอบคุณ ตามความรู้สึก

.

.

▶️ 10

ตอนชมให้ใช้ "ซุ-หงุ-คิ" ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้น

.

ซุ = ชมทันที (ทันทีหลังจากที่ทำบางอย่าง

ที่เหมาะสม)

หงุ = ชมอย่างเป็นรูปประธรรม

คิ = ชมโดยใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วย

.

ไม่ใช่แค่การชื่นชมเพียงอย่างเดียว

ยังใช้เมื่อคุณต้องการถ่ายทอดความรู้สึก

"ยอมรับ" "รู้สึกร่วม" และ "รู้สึกขอบคุณ"

.

.

▶️ 11

"ชม 6 ดุ 1"คือ สัดส่วนที่ได้รับการพิสูจน์

ทางวิทยาศาสตร์🧑‍🔬

.

หากขาดการสื่อสารความรู้สึกนึกถึงและคุณค่า

ก็จะไม่เพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญคือการผสมผสาน"การชม"

และ "การดุ" ในอัตราส่วนที่ดีที่สุด

.

.

▶️ 12

"วิธีดุที่ถูกต้อง"

.

ตอนดุให้ลองใส่ ปัจจัย 4 ประการลงไป

📍ข้อเท็จจริงที่ควรดุ

📍ทำไมถึงเสียงนั้นถึงไม่ถูกต้องหรือ (เหตุผล)

📍ตัวเองคิดอย่างไรเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น

(ความรู้สึกส่วนตัว)

📍ให้ระบุแนวทางแก้ไข

.

สิ่งที่ไม่ควรทำคือ การพร่ำบ่น ที่เอาแต่ยัดเยียด

ความคิดอยู่คนเดียวหรือการ "ตัดสิน"

ที่สร้างแผลใจให้ผู้ฟัง

.

.

▶️ 13

อย่างแรกคือต้องสร้างคำพูดที่สรุปแล้วไม่เกิน 13 คำ

.

ขั้นตอนการสรุปใจความสำคัญหรือข้อสรุป

ที่อยากบอกให้เป็นคำพูดสั้นๆอันทรงพลัง

.

เป็นขั้นตอนเดียวกับการพาดหัวข่าว

ในบทความตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร

เพราะความยาวประมาณนี้จะ "ทำให้ผู้ฟังเห็น"

มากกว่า "ทำให้ผู้ฟังอ่าน" และเข้าใจง่ายทันที

.

.

▶️ 14

ขัดเกลา คำพูดทางจิตวิญญาณด้วย 3 ขั้นตอน

.

📍ประเมินคุณค่าของคำพูด

เอาสิ่งที่อยากพูดออกมาจากชั้นวาง

หรือตู้เสื้อผ้าในสมองออกให้หมด

แล้วลองจัดวางเรียงกันดู

📍คัดเลือกคำพูดสร้างความประทับใจ

คือแยกคำพูดที่ประเมินเราว่าดีและหยิบเอา

เฉพาะคำพูดที่โดนใจเป็นพิเศษ

📍สรุปให้ไม่เกิน 13 คำ ต้องเป็นคำที่ดึงดูด

ความสนใจและเป็นคำพูดที่ทำให้หัวใจเต้นแรง

.

.

▶️ 15

พื้นฐานสุดๆที่ชาวเด็กอเมริกันต้องได้เรียน

"กฎการพูดแบบแฮมเบอร์เกอร์"

ที่ระบุว่า ข้อสรุป-เนื้อหา-ข้อสรุป"

.

ต้องเริ่มจากกำลังพูดเรื่องอะไร

แล้วพูดเรื่องนั้นไป

สุดท้ายก็ให้สรุปว่าพูดเรื่องอะไรไป

.

.

▶️ 16

"แผนกกลยุทธ์"

เหตุผลก็คือที่เรียบง่ายและชัดเจนด้วย "

ข้อสรุป-เหตุผล-ตัวอย่าง-ข้อสรุป"

.

หากคุณเชื่อมโยงสิ่งที่พูดด้วยคำว่า

"เหตุผลก็คือ..." ไม่ว่าเรื่องแบบไหนก็ตาม

ก็จะช่วยเพิ่มพลังโน้มน้าวได้เกินคาด

.

.

▶️ 17

อธิบายขั้นสุดท้ายอย่างเรียบง่ายและชัดเจน

"แผนกลยุทธ์มี 3 ข้อ"

.

เป็นวิธีกล่าวข้อสรุปและอธิบายว่า เหตุผล

หรือประเด็นสำคัญมี 3 ข้อ เช่น จุดสำคัญ

เหตุผล ปัญหา

.

.

▶️ 18

แผนกลยุทธ์แก้ปัญหาทั้งที่ประธานาธิบดี

และรายการสินค้าทางโทรทัศน์ใช้กันมาก

.

การนำเสนอให้น่าสนใจโดยพื้นฐานใช้โครงสร้างที่

เรียกว่า "Problem-Solution Fit (ปัญหา-วิธีแก้ไข)"

เป็นเทคนิคการเปิดประเด็นที่หยิบยกปัญหา

ที่เป็นเรื่องกลุ้มใจหรือเป็นประเด็นขึ้นมา

แล้วชี้ให้เห็นวิธีแก้ไข

.

.

▶️ 19

ผู้นำที่ใช้ "รูปแบบอาจารย์" นั้นเก่าแล้ว

ให้ฝึกวิธีพูด "รูปแบบมีความรู้สึกร่วม"

.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโซเชียลมีเดียที่ยึดถือ

การมีอารมณ์ร่วมและการกระจายข้อมูล

ในแนวระนาบ

.

จำเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกของคน และมีทักษะ

อยู่เคียงข้าง เปลี่ยนจากรูปแบบอาจารย์

ซึ่งชี้นิ้วสั่งและควบคุมจากเบื้องบนทางเดียว

มาเป็นรูปแบบมีความรู้สึกร่วม

ที่ยืนอยู่ในระดับสายตาเดียวกับพนักงาน

และดึงพลังนั้นออกมา

.

.

▶️ 20

สิ่งจำเป็นในการเป็นผู้นำที่เรียนรู้จักทรัมป์

คือ "วิธีพูดที่ทำให้รู้สึกดี"

.

ตัวของทรัมป์นั้นไม่ใช่คนที่มีนโยบายแน่วแน่

เพียงแต่ไวต่อการรับรู้ถึง

"ความคิดและสิ่งที่ผู้สนับสนุนอยากฟัง"

และเปลี่ยนถ้อยคำได้อย่างเชี่ยวชาญ

.

.

▶️ 21

กฎการพูดแบบคำทำนายและ"นั่น-ไม่-ลำบาก-เข้าใจ"

ช่วยสะกิดต่อมความรู้สึกของผู้ฟังได้

.

ผู้ฟังจะรู้สึกว่ามีคนคอยอยู่เคียงข้าง

มีคนคอยเข้าใจฉัน

.

วิธีพูดเช่นนี้จะช่วยเปลี่ยนจาก "ไม่ใช่อย่างนั้น"

เป็น"นั่นแหละๆ"และเปลี่ยนจาก "ไม่ใช่หรอก"

เป็น "ใช่เลยๆ"ได้อย่างรวดเร็ว

.

.

▶️ 22

ทำสัญญาณเตือนใจให้ดัง เพื่อให้ได้อารมณ์ร่วม

.

เป็นการกระตุ้นความรู้สึกของผู้ฟัง

สร้างอารมณ์ร่วมขึ้นมาระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง

.

.

▶️ 23

แพร่กระจายอารมณ์ด้วย "กฎของ AHA"

.

วิธีตรวจสอบง่ายๆว่าการเล่าของคุณกระตุ้นจิตใจ

ผู้ฟังได้แค่ไหน ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมหรือไม่

คือ กฎ AHA (อ๊ะหา)

.

ให้ลองจินตนาการว่าผู้ฟังอุทานออกมา

เป็น "วรรคอะ" หรือ "วรรคฮะ" ได้แค่ไหน

เช่น อ๊ะ ว้าว เหวอ! เอ๊ะ โอ้! เป็นต้น

.

.

▶️ 24

สะกดใจผู้ฟังด้วยเวทมนต์ของ "เรื่องเล่า"

.

ในการเล่าเรื่องราวส่งผลให้เกิดการแฮ็กกิ้งสมอง

ของผู้ฟัง เพราะฉะนั้นคนระดับหัวกะทิในโลก

จึงใส่ความคลั่งไคล้ในการสร้างเรื่องราว

.

เพราะคนเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารมณ์ร่วม

กับ "เรื่องเล่า"มากกว่า "ตรรกะ"ที่น่าเบื่อ

.

.

▶️ 25

ลองสร้าง "เรื่องราว 30 วินาที" ที่ใส่

"before" "after" และ "ข้อคิด"

.

ลองค้นหาคอนเทนต์ที่ทรงพลังที่เป็น

"เรื่องราวที่เปลี่ยนตัวเองหรือเปลี่ยนชีวิต"

.

.

▶️ 26

ให้คู่สนทนา "เห็นภาพ" ด้วย

"คำพูดที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า"

.

การใส่รายละเอียดอย่างความหายาก

เนื้อสัมผัส กลิ่น หรือรูปลักษณ์ช่วยกระตุ้น

ประสาทสัมผัสทั้งห้า

.

ถ้าอยากกระตุ้นใจของคู่สนทนาให้ใส่ใจ

กับคำพูดที่ "ทำให้เห็น "และ "ทำให้รู้สึก"

.

.

▶️ 27

ผู้นำเก่งๆเป็น "พ่อมดแห่งตัวเลข"

สร้างแรงดึงดูดจาก "ตัวเลขที่ไม่ใช่เลขกลมๆ"

.

ถ้าคุณใช้ตัวเลขได้เก่ง ก็จะได้คำพูดที่

"ทำให้เห็น" "ทำให้รู้สึก"ได้

.

ไม่ใช่แค่ให้ "ตัวเลขคร่าวๆ" แต่จงสร้างอิทธิพล

และความรู้สึกด้านขนาดด้วย

"ตัวเลขที่ถูกต้องและไม่เป็นตัวเลขกลมๆ"

.

.

▶️ 28

ตัวเลขช่วยให้เห็น "เชิงสัมพัทธ์" และบอกความหมาย

.

ใช้ตัวเลขที่กระตุ้นจิตใจได้ด้วยสเกลที่ผิดธรรมดา

ความหายาก หรือความเปลี่ยนแปลง

อย่างมากของตัวเลขนั้น

.

แทนการใช้ตัวเลขเฉยๆ ให้ระบุ "เชิงสัมพัทธ์"

และทำให้เห็น "ความหมาย" ของตัวเลขเพิ่มมากขึ้น

.

.

▶️ 29

พูดถึงสิ่งที่แคบลงอีกขั้นหนึ่งด้วยกฏ

"หน้าของคนหนึ่งคนดีกว่าล้านคน"

.

การมองเห็นหรือไม่เห็นหน้าช่วยสร้าง

ความแตกต่างอย่างมากในการดึงพลังจินตนาการ

หรืออารมณ์ร่วมของคนได้

.

ให้คุณลองจำกัดขอบเขตของสิ่งที่พูดถึง

เนื้อหาให้แคบลงอีกขั้นหนึ่ง ก็ยิ่งจินตนาการภาพ

ได้ง่ายและเพิ่มพลังโน้มน้าวได้มากขึ้นเท่านั้น

.

.

▶️ 30

เปรียบเปรยด้วย "คำพูดที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน"

โดยเปรียบเทียบกับคำคนละประเภท

.

เป็นที่รู้กันว่าการเปรียบเทียบ เพียงอย่างเดียว

ที่มีอิทธิพลต่อความคิดคนอย่างมาก

.

ช่วยสร้างความรู้สึกทางกายประดุจคนฟังสัมผัส

กับสิ่งนั้นจริงๆพูดง่ายๆคือ การอุปมา

เป็นอาวุธพิสัยไกลที่ได้ผลที่สุดในการโน้มน้าว

ใจผู้ฟัง ซึ่งกระตุ้นสมองได้ในชั่วพริบตา

.

.

▶️ 31

เปิดสวิตช์ "อันนี้ต้องฟัง"👂ฝึกฝนถ้อยคำแห่งมนตรา"

.

เปลี่ยนคำพูดเพียงนิดเดียวก็ช่วยเพิ่มพลัง

การโน้มน้าวได้ทันที

.

สิ่งสำคัญคือหลังจากพูด "ถ้อยคำแห่งมนตรา"

คือ การเว้นจังหวะเล็กน้อย การเว้นจังหวะนี้สร้าง

"ความกระวนกระวายใจ" ทำให้ตื่นเต้น

และเรียกความสนใจต่อเนื้อหาที่พูดหลังจากนี้

.

.

▶️ 32

ฝึก "แก่นแท้ที่ไม่ตื่นเต้น" ในการนำเสนอ

.

ไม่มีอะไรดูแย่เท่ากับการพยายามวางมาดพูดอีกแล้ว

"ทำตัวบ้าบอซะ" "เลิกวางมาด" นี่แหละเป็นก้าวแรก

ของการพัฒนาการนำเสนอ

.

.

▶️ 33

กระเทาะ "เปลือก" ตัวเองออกด้วย "กฎของยู้ฮู"

.

การฝึกนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพลังงาน

และอารมณ์ ในการพูดจริงให้ส่งเสียงว่า

"ยู้ฮู ยู้ฮ ยู้ฮู" ในใจแทน

.

.

▶️ 34

สร้างความเชื่อมโยงทางใจกับผู้ฟังด้วย

"การจับมือเสมือนจริง"

.

ในการนำเสนอ 30 วินาทีแรก เป็นกุญแจที่สร้าง

"ความเชื่อมโยงทางใจ"กับผู้ฟัง

.

การโต้ตอบว่า "สวัสดีครับ/ค่ะ"

เหมือนเป็นการจับมือเสมือนจริงกับผู้ฟัง

ความรู้สึกจะสื่อออกไปถึงใจผู้ฟังและสมอง

ก็จะคลายความตื่นเต้น

.

.

▶️ 35

"กฏแห่งใช่ไหมนะ" ที่จะเปลี่ยนให้

"นำเสนอได้อย่างมีอารมณ์ร่วม"

.

การสอบถามหรือตั้งคำถามเป็นการดึงผู้ฟัง

เข้ามาร่วมด้วย จึงช่วยเพิ่มความเป็นอันหนึ่ง

อันเดียวกัน และความมีชีวิตชีวามากกว่า

ตั้งท่านำเสนออยู่ฝ่ายเดียว

.

.

▶️ 36

แค่เปลี่ยน "." เป็น "?" ก็ได้ผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่

.

แค่หนึ่งตัวอักษรก็จะเปลี่ยนจาก

"การคุยกับตัวเองทางเดียว"

เป็น "การพูดโต้ตอบกับผู้ฟัง" จนทำให้ผู้ฟัง

รู้สึกดีกับคุณได้

.

.

▶️ 37

ห้ามเริ่มจาก "แนะนำตัว" และ "กล่าวขอบคุณ"

.

เวลาสำคัญตอนขึ้นต้นการนำเสนอนั้น

อย่าเริ่มต้นด้วยขอบคุณหรือการแนะนำตัว

เพราะว่าตอนเปิดการนำเสนอสิ่งสำคัญที่สุด

คือ "แรงดึงดูด" การนำเสนอตัดสินกันด้วย

"ความประทับใจ 30 วินาทีแรกตอนเริ่ม"

.

.

▶️ 38

ตอนเริ่มนำเสนอให้กุมหัวใจผู้ฟังด้วย 5 รูปแบบ

.

📍 อารมณ์ขัน มีมุกเด็ดสักมุก

📍 ความประหลาดใจ ความเกินคาด

ประทับอยู่ในความทรงจำอย่างเด่นชัด

📍เรื่องราว แค่เรื่องราวเบาๆก็ทำให้ใกล้ชิด

กับผู้ฟังมากขึ้น

📍คำถาม วิธีที่พบบ่อยที่สุดในการเปิดเรื่อง

📍การสารภาพ "จริงๆแล้วฉัน..." เพียงเท่านี้

ก็จับกุมใจผู้ฟังได้อย่างน่าสนใจ

.

.

▶️ 39

เพิ่มพลังยิ่งขึ้นด้วย "การกุมหัวใจอีก 5 รูปแบบ"

.

📍 กิจกรรมที่ทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม

📍 ให้ดูคลิปวีดีโอ

📍 เริ่มต้นด้วยบทพูด ข้อความดังหรือคติพจน์

📍ประกาศด้วยความบ้าบิ่น

📍พูดว่า "ลองจินตนาการดูสิครับ"

แล้วบรรยายบรรยากาศ

.

การกลุ้มใจผู้ฟังไม่ใช่เฉพาะตอนต้นเท่านั้น

เพื่อเหนี่ยวรั้งหัวใจคนสมัยนี้ที่เบื่อง่าย

จำเป็นต้องใช้คำที่ ทำให้สนุก ทำให้ประหลาดใจ

ทำให้คลั่งไคล้ ตลอดการนำเสนอด้วย

.

.

▶️ 40

ความประทับใจแรกของคนเราตัดสินด้วยน้ำเสียง

ถึง 40% น้ำเสียงจะต้องมี "จังหวัดจะโคน"

มากกว่า "ความดัง"

.

ความประทับใจแรกของคนเราแบ่งคร่าวๆออกเป็น

ภาพลักษณ์ 50% น้ำเสียง 40% และคำพูด 10%

ซึ่งเป็นกฎของเมห์ราเบียน

.

สิ่งสำคัญของเสียงไม่ใช่ความดัง

ดังนั้นการใช้น้ำเสียงเรียบๆก็เหมือนกับ

การปราศรัยริมถนนของนักการเมือง

.

.

▶️ 41

น้ำเสียงที่ดี ออกเสียงได้ง่ายๆด้วยการเคลื่อนไหว

พื้นฐาน 3 ประการ

.

เสียงคือการหายใจ

📍สูดลมหายใจเข้าทางจมูกเต็มที่

แล้วกักอากาศไว้ใน "ช่องว่างในท้อง"

📍พ่นลมหายใจออกทางปาก แล้วแขม่ว

ช่องท้องราวกับบีบหลอดยาสีฟัน

📍ขณะพ่นลมหายใจก็ให้เปิดปากกว้างๆ

และเป็นเสียงออกมา

.

.

▶️ 42

เคล็ดลับของ "วิธีพูด" ทางออนไลน์ 6 ประการ

ที่เรียนรู้จากยูทูปเบอร์

.

📍การแสดงสีหน้าหลากหลาย

📍การเคลื่อนไหวเยอะเกินจริง

📍ให้เห็นของจริงเพื่อดึงดูดความสนใจ

📍ใช้เสียงเอฟเฟกต์อย่างหนัก

📍ใส่ตัวอักษรบรรยายภาพ

📍ใช้ภาษาพูดแบบพูดคุย

.

.

▶️ 43

กระตุ้นต่อมความรู้สึกของผู้ฟัง "จากตา" "จากหู"

.

การสื่อสารเป็นโลกที่ขับเคลื่อนอารมณ์อย่างยิ่งยวด

ที่อินสตาแกรมหรือสติ๊กเกอร์ ไลน์ได้รับความนิยม

ก็เพราะถ่ายทอดความรู้สึกทางภาพได้

.

ชาวเน็ตที่คุ้นเคยกับเครื่องมือดิจิทัลดังกล่าว

คงไม่ประทับใจการอธิบายอย่าง

ไม่มีจังหวะจะโคน หรือการนำเสนอ

ที่มีแต่ตัวอักษรอัดแน่น

.

ขอให้ระลึกว่าในการนำเสนอต้องกระตุ้น

ต่อมความรู้สึก "จากตา จากหู"

.

.

▶️ 44

ถ้าเปลี่ยนได้เพียงข้อเดียวต้องเป็น "การสบตา"

.

การสบตากันช่วยส่งผ่านความรู้สึก

ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมได้ง่าย แค่คุณสบตากัน

อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนคุยกันอยู่ก็พอ

.

.

▶️ 45

ใช้เวลามากกว่า 70% ของการนำเสนอ

ในการมองผู้ฟังแล้วพูด

.

คนที่รู้สึกตื่นเต้นตอนสบตาคน ให้มองหว่างคิ้ว

ของผู้ฟังก็ได้ เทคนิคที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์

ร่วมกันกับผู้ฟังในชั่วพริบตาได้นั่นก็คือ "การสบตา"

.

.

▶️ 46

ความมั่นใจเริ่มต้นจาก "การแสร้งมีความมั่นใจ"

.

แค่ทำตัวให้มีพลังเต็มเปี่ยม ก็จะมีพลังเต็มเปี่ยมจริงๆ

หากคุณแสร้งทำตัวมั่นใจ ความมั่นใจก็จะตามมาเอง

.

.

▶️ 47

ที่จริงต้องระวัง "ท่ามาตรฐานนั้น" ของคนญี่ปุ่น

.

การยืดอกพูดให้ผึ่งผายที่จริงแล้ว

มีเหตุผลสำคัญมาก ช่วยปกปิดจุดสำคัญ

= ไม่มั่นใจในตัวเองและแอบซ่อนความกังวลไว้

.

ต้องยืดไหล่ผึ่งผาย

ทิ้งแขนสองข้างลงจากไหล่ที่แผ่กว้าง

หรือประสานสองมือไว้เหนือสะดือ

นี่เป็นท่าพื้นฐาน

.

.

▶️ 48

ภาวะผู้นำอยู่ใน "การใช้คำ" แบบไม่อ้อมค้อม

ลองลด "การพูด 2 อย่าง

.

นั่นคือ "คิดว่า..." "กำลังคุ้นคิดว่า..."

ผู้นำที่แท้จริงไม่ใช้คำพูดสิ้นเปลือง

ภาวะผู้นำอยู่ในคำลงท้ายแบบไม่อ้อมค้อม

.

.

▶️ 49

ยิ่งมีเสน่ห์เท่าไหร่ ต้องยิ่งใช้ "ความเงียบชั่วคราว"

.

เรียกว่า Pause (การหยุดชั่วคราว) ในตอนที่จะ

"ต่อจากนี้ฉันจะพูดเรื่องสำคัญละนะ"

ก็ให้เว้นไว้หนึ่งจังหวะซึ่งเรียกว่า Pregnant Pause

(เว้นจังหวะแบบตั้งครรภ์) เป็นการส่งสัญญาณว่า

"ต่อจากนี้สิ่งสำคัญกำลังจะเกิดนะ"

.

.

▶️ 50

ใส่ "อารมณ์" และ "พลัง" ลงในคำพูดจูงใจผู้คนด้วย

" พลังที่มองไม่เห็น

.

ยิ่งเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมเท่าไหร่

ก็ยิ่งควบคุมอารมณ์และความเร่าร้อน

และขยับเขยื้อนผู้คนด้วยพลังงาน

.

ภาษากายไม่ใช่การเคลื่อนไหวตามความตั้งใจ

แต่เป็นพลังงานที่สื่อออกมาจากภายใน

.

.

ถ้าทำตาม 50 กฏนี้ได้ ไม่ว่าใครก็ตาม

จะกลายเป็นแฟนคลับตัวยงของคุณทันที😁

.

.

.

#เล่มนี้เราว่าดี