Lemon8 Загрузчик видео

Самый простой способ скачать видео и галерею из приложения Lemon8

เช็คลิสต์! วางแผนการเงินให้ครบทุกมิติ 💰

เช็คลิสต์! วางแผนการเงินให้ครบทุกมิติ 💰

Компьютер: щелкните правой кнопкой мыши и выберите "Сохранить ссылку как..." для загрузки.

PHOTOS
เช็คลิสต์! วางแผนการเงินให้ครบทุกมิติ 💰 JPEG Скачать
เช็คลิสต์! วางแผนการเงินให้ครบทุกมิติ 💰 JPEG Скачать

การวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและยังไม่จำเป็น และยังมีคนเข้าใจผิดอีกว่า การวางแผนการเงินเหมาะสำหรับคนรวยหรือคนที่มีรายได้เยอะๆ

แต่ความจริงแล้ว การวางแผนการเงินเหมาะกับทุกคน ทุกวัย ทั้งคนรวย คนจน คนโสด คนที่มีลูก หรือคนที่มีหนี้สิน

วันนี้เราเลยจะมาสอนทุกคนวางแผนการเงินกันแบบง่ายๆ มือใหม่ก็ทำตามได้ หรือใครที่วางแผนการเงินของตัวเองไว้แล้ว แนะนำให้ทบทวนและติดตามแผนการเงินอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละครั้งนะ

✅ เงินสำรองฉุกเฉิน

สิ่งแรกที่เราควรมี คือ “เงินสำรองฉุกเฉิน” โดยเงินก้อนนี้จะมีไว้เผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ตกงานกะทันหัน เป็นต้น ควรจะมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน สำหรับฟรีแลนซ์หรือเจ้าของธุรกิจแนะนำว่าควรมีอย่างน้อย 6-12 เท่า และควรแยกไว้สำหรับใช้ฉุกเฉิน ไม่เอามารวมกับเงินออม เงินลงทุน หรือเงินส่วนอื่น

➡️ เราควรสำรวจเงินสำรองฉุกเฉินของตัวเองก่อนว่ามีเพียงพอแล้วหรือไม่

✅ สำรวจหนี้สินในปัจจุบัน

ภาระหนี้สินเป็นเรื่องที่เราควรจะจัดการให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะหนี้สินที่ดอกเบี้ยสูง หรือหนี้ที่คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล โดยเราควรมีภาระหนี้ต่อเดือนรวมกันไม่เกิน 35 - 45% ของรายได้รวมต่อเดือน และภาระหนี้สินที่ไม่ใช่การจดจำนอง (หนี้อสังหาฯ) ไม่ควรเกิน 15 - 20% ของรายได้รวมต่อเดือน เพื่อให้เรายังมีเงินไว้เก็บออมและนำไปใช้จ่ายในแต่ละเดือนเพียงพอ

➡️ สำหรับคนที่มีภาวะหนี้สินเยอะอาจจะต้องเริ่มระมัดระวังในการก่อหนี้อื่นๆ เพิ่มในอนาคต หรือหยุดการก่อหนี้ใหม่และพยายามปลดหนี้เก่าให้หมดเร็วที่สุด หรือถ้าอยากก่อหนี้เพิ่มอาจจะลองพิจารณาอีกทีว่าหนี้ก้อนใหม่นั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน

✅ สำรวจความเสี่ยงเพื่ออุดรอยรั่ว และทบทวนแผนประกันที่มีอยู่

การจัดการความเสี่ยง คือ การโอนย้ายและจัดการความเสี่ยง ในส่วนนี้หมายถึง “การทำประกัน” เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ เป็นต้น โดยเราควรจะประเมินความเสี่ยงของตนเอง วางแผนซื้อประกันเพื่อปิดความเสี่ยงเหล่านั้น หากคนที่ทำประกันไว้อยู่แล้ว ควรจะทบทวนเพื่อดูว่าประกันที่มีอยู่ครอบคลุมเพียงพอแล้วหรือยัง ซึ่งเราควรจะมีประกันที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งความเสี่ยงด้านชีวิต ทรัพย์สิน และรายได้ของเราด้วย

✅ วางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเรามีรายได้ สิ่งที่ต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย คือ การยื่นภาษีและเสียภาษี

➡️ สำหรับคนที่มีรายได้สม่ำเสมอทุกเดือน รวมถึงคนที่คาดการณ์รายได้ทั้งปีของตัวเองได้ หากวางแผนภาษีไว้ตั้งแต่ต้นปีจะช่วยให้เราไม่ต้องเร่งหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี และยังช่วยให้การเงินของเราคล่องตัว มีสภาพคล่องเพียงพอตลอดทั้งปี ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถทยอยซื้อลดหย่อนภาษีระหว่างปีได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อกระจุกตอนช่วงสิ้นปี

✅ อัปเดตพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

การอัปเดตพอร์ตการลงทุน เพื่อให้พอร์ตการลงทุนของเรามีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่ตั้งใจไว้ โดยเราควรอัปเดตสถานการณ์การลงทุนสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็ไม่ควรปรับพอร์ตบ่อยจนเกินไป เพราะการปรับพอร์ตส่วนใหญ่มักจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย

สำหรับคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ น่าจะพอเริ่มเข้าใจการวางแผนการเงินมากขึ้นแล้ว ซึ่งหลักสามเหลี่ยมการเงินหรือพีระมิดทางการเงินนั้นไม่ยากอย่างที่คิดไว้ ใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นวางแผนการเงินตามได้ 🥰

❗ และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการเงิน คือ การสร้างรากฐานให้แข็งแรงก่อนแล้วค่อยไปฐานขั้นถัดไป โดยการจัดการด้านความจำเป็นพื้นฐาน มีเงินสำรองฉุกเฉินให้เพียงพอและจัดการความเสี่ยงให้ครอบคลุมก่อน เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้ไม่มากระทบกับเงินที่เราตั้งใจเก็บออมนะ

#วางแผนการเงิน #ออมเงิน #เก็บเงิน #ฉลาดใช้เงิน #บริหารการเงิน #เงินเก็บ #MoneyTips #ยังไงไหนเล่า #แชร์ประสบการณ์ #เก็บเงินมนุษย์เงินเดือน